วันที่นำเข้าข้อมูล 9 ก.ค. 2567
วันที่ปรับปรุงข้อมูล 9 ก.ค. 2567
เมื่อวันที่ ๑๒-๑๔ มิถุนายน ๒๕๖๗ นางสุพรรณวษา โชติกญาณ ถัง อธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยเข้าร่วมการประชุม Congress of the Members of the Court ครั้งที่ ๓ เนื่องในโอกาสเฉลิมฉลองครบรอบ ๑๒๕ ปีการก่อตั้งศาลประจำอนุญาโตตุลาการ (Permanent Court of Arbitration: PCA) ณ Peace Palace กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ โดยระหว่างการประชุมฯ อธิบดีได้พบหารือบุคคลสำคัญ ดังนี้
ในการพบหารือกับนาย Marcin Czepelak เลขาธิการ PCA อธิบดีกรมสนธิสัญญาฯ ได้ย้ำความมุ่งมั่นของไทยในการสบับสนุนการดำเนินงานของ PCA ในการระงับข้อพิพาทระหว่างประเทศโดยสันติวิธี
ในการพบหารือกับนาย Philippe Gautier นายทะเบียนศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (International Court of Justice: ICJ) อธิบดีกรมสนธิสัญญาฯ ได้ย้ำความความมุ่งมั่นของไทยในการปฏิบัติตามกฎหมายระหว่างประเทศ และบทบาทสร้างสรรค์ของประเทศไทยในเวทีกฎหมายระหว่างประเทศ รวมถึงการยื่นถ้อยแถลงเป็นลายลักษณ์อักษรในกระบวนการขอความเห็นเชิงแนะนำจากศาลฯ เรื่อง Obligations of States in respect of Climate Change
ในการพบหารือกับนาย Christophe Bernasconi เลขาธิการการประชุมแห่งกรุงเฮกว่าด้วยกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล (Hague Conference on Private International Law: HCCH) ทั้งสองฝ่ายได้หารือเกี่ยวกับการดำเนินการของประเทศไทยในการเข้าเป็นภาคีอนุสัญญากรุงเฮกว่าด้วยการยกเลิกข้อกำหนดของการนิติกรณ์สำหรับเอกสารมหาชนจากต่างประเทศ (Hague Convention Abolishing the Requirement for Legalization for Foreign Public Documents: Apostille Convention)
ในการพบหารือกับนาย Jean-Marc Thouvenin เลขาธิการสถาบันกฎหมายระหว่างประเทศ ณ กรุงเฮก (Hague Academy of International Law) ทั้งสองฝ่ายหารือเกี่ยวกับความร่วมมือระหว่างไทยกับ Hague Academy ได้แก่ หลักสูตรกฎหมายภาคฤดูร้อนและฤดูหนาวที่สอนกฎหมายระหว่างประเทศ ทั้งแผนกคดีบุคคล (Private International Law) และแผนกคดีเมือง (Public International Law) และโครงการ Programme on Demand
นอกจากนี้ อธิบดีกรมสนธิสัญญาฯ เข้าร่วมเป็นผู้อภิปรายในงานเสวนาหัวข้อ “Women’s Equal and Inclusive Representation in the Members of the PCA and the International Court of Justice” จัดโดย GQUAL Campaign โดยอธิบดีกรมสนธิสัญญาฯ ได้แลกเปลี่ยนความเห็นเกี่ยวกับความสำคัญของการมีส่วนร่วมของสตรีในองค์การระหว่างประเทศ อีกทั้งการสร้างบุคลากรในองค์การระหว่างประเทศที่มีศักยภาพและครอบคลุมถึงสตรี รวมถึงความสำคัญของการคำนึงถึงอัตลักษณ์ทับซ้อน (intersectionality) ของสตรี
รูปภาพประกอบ
วันทำการ : จันทร์ - ศุกร์ เวลา 08.30 - 16.30 น.
(ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์)
งานรับ-ส่งหนังสือ และงานสารบรรณ:
อีเมล [email protected]
เว็บไซต์นี้ได้รับการออกแบบเพื่ออำนวยความสะดวกให้ทุกคนเข้าถึงเว็บไซต์ได้และมีมาตรฐาน WCAG 2.0 ระดับ AA
** เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุดควรใช้ Chrome เวอร์ชั่น 76 ขึ้นไป **