ปลัดกระทรวงการต่างประเทศเป็นประธานการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสเอเปคอย่างไม่เป็นทางการ

ปลัดกระทรวงการต่างประเทศเป็นประธานการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสเอเปคอย่างไม่เป็นทางการ

วันที่นำเข้าข้อมูล 3 ธ.ค. 2564

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 30 พ.ย. 2565

| 3,777 view
ไทยจัดการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสเอเปคอย่างไม่เป็นทางการ เพื่อนําเสนอประเด็นสําคัญและผลลัพธ์ที่ไทยจะผลักดันในเอเปค ๒๕๖๕ ตามแนวคิดหลัก “เปิดกว้างสร้างสัมพันธ์ เชื่อมโยงกัน สู่สมดุล” โดยมีโมเดลเศรษฐกิจ BCG เป็นแนวคิดเบื้องหลัง โดยถือเป็นการประชุมแรกของเอเปคที่เจ้าหน้าที่อาวุโสเอเปคจะร่วมกัน วางแผนงานตลอดทั้งปี
 
เมื่อวันที่ ๒-๓ ธันวาคม ๒๕๖๔ ไทยจัดการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสเอเปคอย่างไม่เป็นทางการที่โรงแรม ดุสิต ธานี ลากูน่า และโรงแรมอมันปุรี จ.ภูเก็ต โดยมีเจ้าหน้าที่อาวุโสเอเปคและผู้แทนจาก ๒๑ เขตเศรษฐกิจ สมาชิกเอเปคและสํานักเลขาธิการเอเปคเข้าร่วม และมีนายธานี ทองภักดี ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ทําหน้าที่ประธานการประชุมในฐานะประธานเจ้าหน้าที่อาวุโสเอเปคปี ๒๕๖๕ (APEC SOM Chair 2022)
 
ที่ประชุมสนับสนุนและให้ความสําคัญกับประเด็นสําคัญของการเป็นเจ้าภาพเอเปคของไทย และเห็นพ้องว่า การฟื้นฟูเศรษฐกิจยุคหลังโควิด-๑๙ ต้องสร้างความเจริญเติบโตอย่างครอบคลุม สมดุล และยั่งยืน เน้นเปิดเสรีค้าการลงทุนและการกระชับความร่วมมือในการรวมกลุ่มเศรษฐกิจ ให้ความสําคัญกับการเร่งฟื้นฟูความเชื่อมโยงในภูมิภาคอย่างปลอดภัย ส่งเสริมการดําเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบโดยคํานึงถึงสิ่งแวดล้อม และนําเทคโนโลยีดิจิทัลและนวัตกรรมมาขับเคลื่อนการทํางานในทุกมิติ ซึ่งสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ปุตราจายา ค.ศ. ๒๐๔๐ และแผนปฏิบัติการ Aotearoa ทั้งนี้ ที่ประชุมได้หารือกับนายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาที่ปรึกษาทางธุรกิจเอเปค เพื่อรับฟังแผนงานและบูรณาการการทํางานร่วมกันระหว่างเอเปคและภาคเอกชนด้วย
 
ไทยในฐานะเจ้าภาพได้นําเสนอประเด็นสําคัญและผลลัพธ์ที่จะผลักดันในเอเปค ๒๕๖๕ เพื่อให้ เจ้าหน้าที่อาวุโสเอเปคได้พิจารณาจัดทําแผนงานร่วมกัน ประกอบด้วย (๑) การเปิดโอกาสด้านการค้าการลงทุนในทุกมิติเพื่อสร้างประโยชน์ให้แก่ทุกภาคส่วนในสังคม ผลลัพธ์ที่คาดหวัง คือการนําบทเรียนจากโควิด-๑๙ มาอยู่ในบทสนทนาเพื่อขับเคลื่อนการค้าการลงทุนที่ครอบคลุมและยั่งยืนในภูมิภาค (๒) การฟื้นฟูความเชื่อมโยง ในภูมิภาค ทั้งการเดินทางอย่างไร้รอยต่อและปลอดภัย และการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อเพิ่มความเชื่อมโยงในทุกมิติ ผลลัพธ์ที่คาดหวัง คือ การส่งเสริมให้เอเปคมีมาตรฐานการเดินทางที่ปลอดภัยและสอดคล้องกัน และอํานวยความสะดวกการเดินทางให้กับบุคคลในสาขาอาชีพต่าง ๆ ให้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น เพื่อให้การทําธุรกิจและกิจกรรมทางเศรษฐกิจต่าง ๆ ง่ายยิ่งขึ้น (๓) ปรับสู่สมดุล เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังโควิด-๑๙ ให้เติบโตอย่างแข็งแกร่ง ครอบคลุม ยั่งยืน และคํานึงถึงการรักษาสิ่งแวดล้อม โดยนําโมเดลการพัฒนาต่าง ๆ รวมถึง BCG มาปรับใช้ ผลลัพธ์ที่คาดหวัง คือการออกเอกสารระดับผู้นําที่ประกาศเจตนารมณ์หรือเป้าหมายร่วมกันของเอเปคในการขับเคลื่อนการทําธุรกิจอย่างรับผิดชอบและส่งเสริมความยั่งยืน
 
การประชุมครั้งนี้เป็นครั้งแรกในรอบ ๒ ปีที่เจ้าหน้าที่อาวุโสเอเปคได้ประชุมแบบพบหน้ากัน สะท้อน ความสามารถของไทยในการปรับตัวและอยู่ร่วมกับโควิด-๑๙ และความมุ่งมั่นของเอเปคในการเดินหน้าทํางาน ปรับตัวกลับสู่ภาวะปกติแบบใหม่ และร่วมกันผลักดันเอเปค ๒๕๖๕ ให้ประสบความสําเร็จเพื่ออนาคตที่ครอบคลุม สมดุล และยั่งยืนของภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก

รูปภาพประกอบ

รูปภาพประกอบ