วันที่นำเข้าข้อมูล 3 มี.ค. 2568
วันที่ปรับปรุงข้อมูล 3 มี.ค. 2568
เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๘ นายณัฐพงศ์ ลัทธพิพัฒน์ กงสุลใหญ่ ณ นครแฟรงก์
เฟิร์ต นายคำรบ ปาลวัฒน์วิไชย รองกงสุลใหญ่ ณ นครมิวนิก และนายฤทธิชัย ทับสุวรรณ กงสุล ณ นครแฟรงก์เฟิร์ต
ได้เข้าร่วมงานเลี้ยงรับรองในโอกาสปีใหม่ ณ ห้องประชุมของพิพิธภัณฑ์ชาติพันธุ์วิทยา เมืองไฮเดลแบร์ก (อดีต Palais Weimar) โดยมีผู้เข้าร่วมประมาณ 100 คน จากหลากหลายสาขาอาชีพ
ในโอกาสดังกล่าว ศาสตราจารย์ ดร. Volker Reichert นักประวัติศาสตร์ชาวเยอรมันได้บรรยายเหตุการณ์การเสด็จพระราชดำเนินเยือนเมืองไฮเดลแบร์กของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในเดือนมิถุนายน ค.ศ. ๑๙๐๗ รวมถึงสถานที่สำคัญต่างๆ ที่ได้เสด็จฯ เยือนและความตื่นเต้นยินดีของประชาชนชาวเยอรมันที่ได้มีโอกาสรับเสด็จในคราวนั้น ตลอดจนเกร็ดการเยือนและมุมมองที่น่าสนใจของชาวเยอรมันที่มีต่อพระมหากษัตริย์แห่งสยาม
กงสุลใหญ่ฯ ณัฐพงศ์ฯ ได้กล่าวถึงเมือง Heidelberg ว่าเป็นเมืองที่มีความเชื่อมโยงอย่างมีนัยยะสำคัญต่อความสัมพันธ์ไทย-เยอรมนี พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระวิสัยทัศน์ในการปฏิรูปการปกครองและปรับปรุงสยามให้มีความทันสมัยตามแบบอย่างของอารยประเทศ และได้โปรดเกล้าฯ
ให้พระโอรสหลายพระองค์เสด็จไปทรงศึกษาในเยอรมนีและประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคยุโรป เพื่อนำความรู้ด้านต่าง ๆ กลับไปพัฒนาประเทศ
ส่วนรองกงสุลใหญ่ฯ คำรบฯ ได้กล่าวถึงบทบาทและความร่วมมือระหว่างสถานกงสุลใหญ่ ณ นครมิวนิกกับเมืองไฮเดลแบร์ก ซึ่งเป็นเมืองที่อยู่ในเขตกงสุลและมหาวิทยาลัยไฮเดลแบร์ก รวมถึงได้ให้ข้อมูลว่าเมืองไฮเดลแบร์กเป็นเมืองที่มีความเกี่ยวพันและสายสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดเป็นพิเศษกับสถาบันพระมหากษัตริย์ของไทยและราชอาณาจักรสยามจวบจนถึงประเทศไทยในยุคปัจจุบันก็ยังมีความสัมพันธ์อันใกล้ชิดกับเมืองนี้
ในช่วงท้าย กงสุลฤทธิชัยฯ ให้ความเห็นว่าพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเป็นที่รักและเป็นศูนย์รวมจิตใจของพสกนิกรชาวไทย โดยชาวไทยมักประดับพระบรมฉายาลักษณ์ของพระองค์ตามบ้านเรือนเพื่อเคารพบูชาและเพื่อความเป็นสิริมงคล ส่วนพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ ซึ่งในอดีต คือ Palais Weimar นับว่ามีความสำคัญยิ่งเพราะเป็นสถานที่ที่พระองค์เคยเสด็จฯ เยือนในครั้งนั้น
รูปภาพประกอบ
วันทำการ : จันทร์ - ศุกร์ เวลา 08.30 - 16.30 น.
(ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์)
งานรับ-ส่งหนังสือ และงานสารบรรณ:
อีเมล [email protected]
เว็บไซต์นี้ได้รับการออกแบบเพื่ออำนวยความสะดวกให้ทุกคนเข้าถึงเว็บไซต์ได้และมีมาตรฐาน WCAG 2.0 ระดับ AA
** เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุดควรใช้ Chrome เวอร์ชั่น 76 ขึ้นไป **