ประเทศไทยยื่นถ้อยแถลงเป็นลายลักษณ์อักษรในกระบวนการขอความเห็นเชิงแนะนำจาก ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศในประเด็นพันธกรณีของรัฐตามกฎหมายระหว่างประเทศ ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ประเทศไทยยื่นถ้อยแถลงเป็นลายลักษณ์อักษรในกระบวนการขอความเห็นเชิงแนะนำจาก ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศในประเด็นพันธกรณีของรัฐตามกฎหมายระหว่างประเทศ ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

วันที่นำเข้าข้อมูล 5 มิ.ย. 2567

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 5 มิ.ย. 2567

| 1,747 view

เมื่อวันที่ ๒๙ มีนาคม ๒๕๖๖ ที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติได้รับรองข้อมติ ที่ A/RES/77/276 เพื่อขอให้ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (International Court of Justice - ICJ)  ให้ความเห็นเชิงแนะนำเกี่ยวกับพันธกรณีของรัฐตามกฎหมายระหว่างประเทศด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทั้งนี้ ICJ ได้เปิดให้รัฐและองค์การระหว่างประเทศยื่นถ้อยแถลงเป็นลายลักษณ์อักษรประกอบการพิจารณา โดยที่ ICJ เป็นองค์กรหลักด้านตุลาการของสหประชาชาติ ความเห็นเชิงแนะนำของ ICJ มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อกฎหมายระหว่างประเทศ เนื่องจากช่วยทำให้เนื้อหาของกฎหมายระหว่างประเทศมีความชัดเจนยิ่งขึ้น อย่างไรก็ดี ความเห็นเชิงแนะนำของ ICJ ไม่มีผลผูกพันทางกฎหมายทั้งนี้ ความเห็นเชิงแนะนำของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศดังกล่าวจะมีส่วนช่วยส่งเสริมพัฒนาการของกฎหมายระหว่างประเทศเพื่อรับมือกับปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้ดียิ่งขึ้นต่อไป

ในการนี้ เมื่อวันที่ ๒๒ มีนาคม ๒๕๖๗ ประเทศไทยได้ยื่นถ้อยแถลงเป็นลายลักษณ์อักษรต่อนายทะเบียน ICJ ในกระบวนการขอความเห็นเชิงแนะนำดังกล่าว เพื่อเน้นย้ำว่าประเทศไทยให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสนับสนุนการแก้ไขข้อพิพาทที่อาจเกิดขึ้นอย่างสันติวิธีบนพื้นฐานของกฎหมายระหว่างประเทศ โดยไทยเป็นหนึ่งใน ๗๕ ประเทศ ที่ยื่นถ้อยแถลงดังกล่าว

รูปภาพประกอบ

รูปภาพประกอบ