รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศกล่าวถ้อยแถลงในระหว่างการประชุม คณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ สมัยที่ ๓๔

รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศกล่าวถ้อยแถลงในระหว่างการประชุม คณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ สมัยที่ ๓๔

วันที่นำเข้าข้อมูล 2 มี.ค. 2560

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 29 พ.ย. 2565

| 2,431 view

เมื่อวันที่  กุมภาพันธ์  นายวีระศักดิ์ ฟูตระกูล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้กล่าวถ้อยแถลงในช่วงการประชุมระดับสูงของการประชุมคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ สมัยที่ ๓๔ ณ สำนักงานสหประชาชาติ นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส ร่วมกับผู้นำและรัฐมนตรีของประเทศต่าง ๆ

รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้กล่าวถึงแนวโน้มและสิ่งท้าทายของโลกในการรักษาและเคารพสิทธิมนุษยชน โดยเฉพาะการจัดการกับวิกฤตการโยกย้ายถิ่นฐานแบบไม่ปกติ ในโอกาสนี้ ได้นำเสนอแนวคิดในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนผ่านการหารืออย่างสร้างสรรค์เพื่อแสวงหาความร่วมมือการเสริมสร้างทัศนคติที่ดีในการเคารพสิทธิมนุษยชนโดยเฉพาะในเยาวชน การใช้ประโยชน์จากสื่อสังคมออนไลน์เพื่อให้สร้างความกลมเกลียวแทนความแตกแยกและเพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ด้านสิทธิมนุษยชน การสนับสนุนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน โดยเฉพาะภาคธุรกิจและภาคประชาสังคม เพื่อร่วมกันส่งเสริมการเคารพสิทธิมนุษยชน ส่งเสริมให้เกิดการมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย การแบ่งปันประสบการณ์ และเสริมสร้างขีดความสามารถในการปฏิบัติตามพันธกรณีระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชน

ในโอกาสเดียวกัน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้แจ้งที่ประชุมถึงพัฒนาการต่าง ๆ ของไทย ซึ่งรวมถึงการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ผลักดันการพัฒนาโดยมีประชาชนเป็นศูนย์กลาง การลดความเหลื่อมล้ำในสังคม และการส่งเสริมการเข้าถึงโอกาสทางสังคมและกระบวนการยุติธรรม โดยหลังจากไทยได้ผ่านกระบวนการทบทวนสถานการณ์สิทธิมนุษยชน (ยูพีอาร์) รอบที่  คณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบแผนปฏิบัติการเพื่อผลักดันการปฏิบัติตามข้อเสนอแนะที่ไทยได้ตอบรับพร้อมคำมั่นโดยสมัครใจต่อไป

รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้กล่าวถึงพัฒนาการอย่างต่อเนื่องในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิของไทย อาทิ () การถอนข้อสงวนข้อ  ของอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบ () การดำเนินโครงการประกันสุขภาพถ้วนหน้าและโครงการการศึกษาภาคบังคับฟรีถ้วนหน้าอย่างต่อเนื่อง ซึ่งได้พยายามขยายโอกาสให้ครอบคลุมไปถึงผู้โยกย้ายถิ่นฐานด้วย () มติคณะรัฐมนตรี เกี่ยวกับแนวทางและมาตรการแก้ไขปัญหาสถานะบุคคลและคนไร้สัญชาติในประเทศไทยเมื่อเดือนธันวาคม ๙  ซึ่งทำให้เด็กไร้สัญชาติกว่า , คน สามารถยื่นขอสัญชาติไทยได้ตามกฎหมาย และ () คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติหลักการแก้ไขพระราชบัญญัติว่าด้วยคนเข้าเมืองและการจัดตั้งระบบคัดกรองเพื่อให้สามารถแยกกลุ่มและให้การดูแลผู้ที่จำเป็นต้องได้รับความคุ้มครองอย่างแท้จริงได้ดียิ่งขึ้น นอกจากนี้ ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ซึ่งได้รับการรับรองโดยการลงประชามติของประชาชน ยังเน้นย้ำหลักการของสิทธิมนุษยชนด้านต่าง ๆ ที่รวมถึงความเท่าเทียมและการได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย การไม่เลือกปฏิบัติ การห้ามการทรมาน และเสรีภาพในการนับถือศาสนา

 

รูปภาพประกอบ

รูปภาพประกอบ