โดยในการหารือ มีผู้เข้าร่วมฝ่ายไทยสำคัญ ประกอบด้วย นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ นายพงษ์ศักดิ์ รักพงศ์ไพศาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน นายเสริมศักดิ์ พงษ์พาณิชย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งเป็นรัฐมนตรีเกียรติยศ และนายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ เลขาธิการนายกรัฐมนตรี
สำหรับผู้เข้าร่วมฝ่ายสาธารณรัฐอิเควทอเรียลกินี อาทิ นายเตโอโดโร โอเบียง อึงเกมา อึมบาโซโก ประธานาธิบดี นายอาเลฮันโร เอวูนา โอโวโน อาซังโกโน รัฐมนตรีแห่งรัฐด้านภารกิจ นายอากาปิโต อึมบา โมคุย และนางวิกตอเรีย อึนชามา อึนซูลู โอโคโม ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและความร่วมมือ
ภายหลังการหารือ นายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ เลขาธิการนายกรัฐมนตรี เปิดเผยผลการหารือ สรุปดังนี้
การเยือนประเทศไทยครั้งนี้ เป็นการเยือนครั้งแรกของประธานาธิบดี และเป็นการเยือนระดับสูงครั้งแรกตั้งแต่มีการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูต (ปี 2534) โดยที่สาธารณรัฐอิเควทอเรียวกินี มีการปกครองแบบสาธารณรัฐ ที่มีประธานาธิบดีเป็นประมุข (วาระ 7 ปี)
นายเตโอโดโร โอเบียง อึงเกมา อึมบาโซโก เป็นประธานาธิบดีคนปัจจุบันและได้รับการเลือกตั้งถึง 4 ครั้งติดต่อกัน ทั้งนี้ อิเควทอเรียลกินี เป็นประเทศที่มีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจสูงที่สุดประเทศหนึ่งในแอฟริกา นับจากมีการค้นพบแหล่งน้ำมันนอกชายฝั่ง มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับประเทศมหาอำนาจ มีบทบาทสำคัญในการกระชับความสัมพันธ์ระหว่างแอฟริกากับภูมิภาคต่างๆ ภายใต้นโยบายที่จะเป็นแนวหน้าในภูมิภาค Sub-Saharan Africa และเป็นศูนย์กลางทางการค้าของภูมิภาคแอฟริกาตะวันตก
ในการหารือ นายกรัฐมนตรีได้กล่าวต้อนรับการเยือนสู่ประเทศไทยครั้งแรก และย้ำถึงความสำคัญที่ไทยมีต่อแอฟริกาในปัจจุบัน ซึ่งทั้งสองฝ่ายเชี่อว่าการ เยือนครั้งนี้ จะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อทั้งสองประเทศ และทำให้ความสัมพันธ์แน่นแฟ้นยิ่งขึ้นและต่างยินดีที่ในวันนี้จะมีการลงนาม บันทึกความเข้าใจว่าด้วยการจัดตั้งการปรึกษาหารือทวิภาคีระหว่างสองประเทศ ทั้งนี้ ไทยและอิเควทอเรียลกินีมีความสัมพันธ์ที่ราบรื่นมาตลอดระยะเวลา 22 ปี นับแต่มีการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูต อย่างไรก็ดี ผู้นำทั้งสองเห็นว่า ยังสามารถเสริมสร้างความสัมพันธ์และความร่วมมือระหว่างกันในด้านต่างๆ ได้อีกมาก
ด้านการค้าการลงทุนในปีที่ผ่านมา มูลค่าการค้ารวมระหว่างสองประเทศเพิ่มขึ้นถึง 8 เท่า (ในปี 2011 มูลค่าการค้าร่วมระหว่างกันอยู่ที่ 188 ล้านบาท และปี 2012 มูลค่าการค้ารวมเพิ่มขึ้นเป็น 1,561 ล้านบาท) ซึ่งนายกรัฐมนตรีเห็นว่าจะเป็นโอกาสดีที่จะส่งเสริมการค้าระหว่างกันเพิ่ม ขึ้นและอิเควทอเรียลกินีเป็นประเทศที่ภาคเอกชนน่าจะพิจารณาเข้าไปลงทุน โดยที่นักธุรกิจไทยเองมีความเชี่ยวชาญในหลายสาขา ไม่ว่าจะเป็นการแปรรูปผลิตผลทางการเกษตร การก่อสร้างและพลังงาน ซึ่งสอดคล้องกับภาคอุตสาหกรรมของอิเควทอเรียลกินีกำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว ในขณะเดียวกัน ประธานาธิบดีมีแผนที่จะสร้างเมืองหลวงแห่งใหม่ ซึ่งทางอิเควทอเรียลกินีพร้อมให้การสนับสนุนและมีนโยบายเปิดรับการลงทุนจาก ต่างชาติ
ด้านความมั่นคงทางพลังงานทั้งสองฝ่ายได้แลกเปลี่ยนความ คิดเห็นเกี่ยวกับนโยบายด้านความมั่นคงทางพลังงานซึ่งอิเควทอเรียลมีศักยภาพ และด้านเกษตร อาหาร และการประมงที่ไทยมีศักยภาพ ที่จะแลกเปลี่ยนความรู้ความเชี่ยวชาญระหว่างกัน และต่างประสงค์ที่จะมีความร่วมมือเพิ่มเติมในเรื่องนี้ โดยอิเควทอเรียลกินีแสดงความประสงค์ซื้อข้าวจากไทยในระยะยาว สำหรับประเด็นด้านพลังงานเป็นประเด็นที่ไทยให้ความสำคัญระดับชาติ และปัจจุบันไทยมีการลงทุนในการสำรวจแหล่งน้ำมันและก๊าซธรรมชาติทั้งในประเทศ และต่างประเทศ และมีความพยายามหาแหล่ง LNG จากต่างประเทศด้วยซึ่งจะได้แลกเปลี่ยนความร่วมมือในสาขาดังกล่าว
ด้านการเมืองและความมั่นคง รัฐบาลไทยเห็นว่าความร่วมมือใต้-ใต้ มีส่วนสำคัญในการส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างประเทศกำลังพัฒนา และชื่นชมบทบาทของอิเควทอเรียลกินีในการส่งเสริมความร่วมมือนี้ ซึ่งอิเควทอเรียลกินีประสบความสำเร็จในการจัดประชุมระหว่างผู้นำประเทศใน แอฟริกา แคริบเบียนและแปซิฟิกครั้งที่ 7และการประชุมระหว่างผู้นำประเทศในแอฟริกาและอเมริกาใต้ครั้งที่ 3 ไทยจึงประสงค์จะให้มีการแลกเปลี่ยนในลักษณะเดียวกันระหว่างไทย-แอฟริกา ซึ่งจะนำไปสู่กรอบการเจรจาและสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างเอเชียและ แอฟริกาต่อไป นอกจากนั้นไทยยังขอรับการสนับสนุนการสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกไม่ถาวรของ คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ โดยไทยหวังว่าจะได้รับการสนับสนุนจากอิเควทอเรียลกินีในเรื่องดังกล่าว
ในตอนท้าย ผู้นำทั้งสองต่างแสดงความเชื่อมั่นว่าการหารือในวันนี้จะก่อให้เกิดประโยชน์ ร่วมกันของทั้งสองฝ่าย และเป็นการเสริมสร้างรากฐานที่เข้มแข็งสำหรับการพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่าง สองประเทศในอนาคต
โดยภายหลังการหารือเต็มคณะ นายกรัฐมนตรีและประธานาธิบดีสาธารณรัฐอิเควทอเรียลกินี ได้ร่วมเป็นสักขีพยานการลงนามบันทึกความเข้าใจว่า ด้วยการจัดตั้งการปรึกษาหารือทวิภาคีระหว่างกระทรวงการต่างประเทศแห่งราช อาณาจักรไทยและกระทรวงการต่างประเทศและความร่วมมือสาธารณรัฐอิเควทอเรียล กีนี