วันที่นำเข้าข้อมูล 26 ก.พ. 2556
วันที่ปรับปรุงข้อมูล 30 พ.ย. 2565
เมื่อวันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีและคณะ ซึ่งประกอบด้วยบุคคลสำคัญ อาทิ นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ปลัดกระทรวงการคลัง และเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ร่วมรับประทานอาหารเช้ากับผู้บริหารชั้นนำระดับสูงด้านการธนาคารและการลงทุนของฮ่องกงและต่างชาติ อาทิ Mr.Soo Thiam Tan จาก AIA Mr.Mark McCombe จาก Blackrock Dr.Fan Gongsheng จาก China Investment International(Hong Kong) Mr.Edmund Ng จาก Hong Kong Monetary Authority Mr.Christopher Chan จาก JPMorgan Mr.Angus Hui จาก Shroders ซึ่งฮ่องกงถือเป็นตลาดการเงินที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียและได้รับการจัดอันดับจาก World Economic Forum ให้เป็นเมืองศูนย์กลางการเงินและการธนาคารอันดับหนึ่งของโลก
ในการพบปะครั้งนี้ นายกรัฐมนตรีได้ให้ความเชื่อมั่นแก่นักลงทุนเกี่ยวกับสถานการณ์เศรษฐกิจไทยที่มีเสถียรภาพมากขึ้น ภายหลังการประสบอุทกภัย ที่ผ่านมาเศรษฐกิจไทยได้เจริญเติบโตมาอย่างเข้มแข็ง แม้ว่าจะมีการชะลอตัวกับบางประเทศคู่ค้า โดยในปี ค.ศ. ๒๐๑๒ เศรษฐกิจไทยเติบโต ๖.๔ % เพิ่มขึ้นจากปีก่อน ๐.๑ % และในปี ค.ศ. ๒๐๑๓ เศรษฐกิจตั้งเป้าหมายว่าจะสามารถเติบโตเพิ่มขึ้น ๕.๐ - ๖.๐ % (ธปท. – ๔.๙ %, FPO – ๕.๐ % (๔.๕ - ๕.๕%), NESDB – ๔.๕ - ๕.๕ %) สำหรับปัจจัยสำคัญที่จะผลักดันการเติบโตในปีนี้คือ อุปสงค์ทั้งภายในและภายนอกประเทศ นอกจากนี้ เสถียรภาพภายในประเทศเอื้ออำนวยต่อการเติบโต เช่น o อัตราการว่างงานต่ำ ๐.๔ % ของแรงงานทั้งหมด (สถานะ พฤศจิกายน ค.ศ. ๒๐๑๒) ภาวะเงินเฟ้อที่ควบคุมได้ ๓.๐ % ในปี ค.ศ. ๒๐๑๒ สำหรับเสถียรภาพภายนอก ได้แก่ ดุลบัญชีเดินสะพัด ๑.๕ พันล้านเหรียญสหรัฐ (๑๑ เดือนของปี ค.ศ. ๒๐๑๒) เงินสำรองระหว่างประเทศ ๑๘๑.๖ พันล้านเหรียญสหรัฐ เทียบเท่ากับ ๓ เท่าของหนี้ต่างประเทศระยะสั้น หรือการส่งออก ๑๐ เดือนในปี ค.ศ. ๒๐๑๒ ส่วนภาคภาคการธนาคาร มีหนี้เสีย (NPLs) เพียง ๑.๒ % (สถานะ กันยายน ค.ศ. ๒๐๑๒) และมีเงินกองทุนตอสินทรัพยเสี่ยง (BIS raito) สูงถึง ๑๖.๒ % ซึ่งสูงกว่ามาตรฐานที่ ธปท.กำหนดไว้ที่ ๘.๕ % (สถานะ พฤศจิกายน ค.ศ. ๒๐๑๒) มาตรการการรักษาระดับหนี้สาธารณะ โดยหนี้สาธารณะล่าสุดต่อ ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) (สถานะ พฤศจิกายน ค.ศ. ๒๐๑๒) คือ ๔๓.๕ % ต่ำกว่าเพดานกรอบการรักษาระดับหนี้สาธารณะ และรัฐบาลไทยวางแผนการจัดทำงบประมาณสมดุล (Balanced Budget) ภายในปี ค.ศ. ๒๐๑๗ ที่สำคัญ รัฐบาลไทยจัดทำแผนงบประมาณ ๒ ล้านล้านบาท (๗ หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งเท่ากับ ๑๗ % ของ GDP) ในแผนการลงทุนสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน (โดยคาดว่าหนี้สาธารณะจะเพิ่มขึ้นไม่เกิน ๕๐ % ของ GDP)
ทั้งนี้ การลงทุนในสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน มีแผนสำคัญได้แก่ • แผนการลงทุนสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานตั้งเป้าเพื่อเป็นการส่งเสริมความสามารถในการแข่งขัน • งบประมาณ ๒ ล้านล้านบาท (๗ หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งเท่ากับ ๑๗ % ของ GDP) จะใช้ในการดำเนินงานโครงการให้แล้วเสร็จภายใน ๗ ปี (ค.ศ. ๒๐๑๓ - ๒๐๑๙) เพื่อยกระดับสาธารณูปโภคด้านการคมนาคมของประเทศ • แผนการลงทุนจะเน้นด้านการคมนาคมและเครือข่ายโลจิสติกส์ ประกอบด้วย เส้นทางรถไฟ ๘๒.๖ % ถนน ๑๒.๒ % เส้นทางเดินเรือ ๑.๕ % และสาธารณูปโภคตามแนวชายแดน ๐.๖ สำหรับโครงการระบบบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ได้ตั้งงบประมาณ ๓๕๐ ล้านบาท (๑.๑ หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งเท่ากับ ๓% ของ GDP) โดยจะดำเนินการในช่วงระยะเวลา ๖ ปี (ค.ศ. ๒๐๑๒ - ๒๐๑๗) เพื่อป้องกันอุทกภัยและสนับสนุนระบบชลประทานทั่วประเทศ นอกจากนี้ รัฐบาลมีความคิดริเริ่มและแรงจูงใจในการลงทุน โดยได้กำหนดมาตรการสำคัญ อาทิ • ภาษีเงินได้นิติบุคคล รัฐบาลดำเนินการลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็น ๒๐ % ในปีนี้ โดยลดต่อเนื่องจาก ๓๐% ในปี ค.ศ. ๒๐๑๑ และ ๒๓ % ในปี ค.ศ. ๒๐๑๒ ซึ่งจะทำให้อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลของไทยต่ำกว่าหลายประเทศในภูมิภาค อาทิ มาเลเซีย ๒๕% เวียดนาม ๒๕% อินโดนีเซีย ๒๐% และฟิลิปปินส์ ๓๐% • สํานักงานปฏิบัติการภูมิภาค (Regional Operating Headquarters: ROH) นโยบายของ ROH คือ แรงจูงใจทางภาษี เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมให้บรรษัทข้ามชาติตั้งสำนักงานภูมิภาคของตนและดำเนินธุรกิจในประเทศไทย • แรงจูงใจ: - การยกเว้นภาษี หรือลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล (Corporate Income Tax: CIT)
สำหรับการดำเนินงานของสํานักงานปฏิบัติการภูมิภาค เช่น เกี่ยวกับการบริหาร การฝึกอบรม และการวิจัยค้นคว้าและวิจัย (R&D) - ลดภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (Personal Income Tax: PIT) สำหรับชาวต่างชาติที่มีวีซ่าและใบอนุญาตทำงาน - สิทธิประโยชน์ทางภาษีเกี่ยวกับการบริหารจัดการทางการเงิน - ไม่มีมาตรการการควบคุมเงินทุน (capital control) สำหรับ ภาคการส่งออก แม้จะมีการชะลอตัวทางเศรษฐกิจที่สำคัญในประเทศคู่ค้าหลัก การส่งออกไทยยังคงเติบโตที่ ๓.๑ % ในปี ค.ศ. ๒๐๑๒ ลดลงจาก ๑๕.๑ % ในปี ค.ศ. ๒๐๑๑ โดยรัฐบาลมีนโยบายความหลากหลายของตลาด โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่ออาเซียน และภูมิภาคอื่นที่มีอัตราการเติบโตสูง เสริมสร้างความเข้มแข็งของอุปสงค์ในประเทศ ผ่านมาตรการต่างๆของรัฐบาล การจัดตั้งคณะกรรมการเพื่ออำนวยความสะดวกในด้านการค้าระหว่างประเทศ (เช่น การขยายเวลาทำการด่านศุลกากร) o สนับสนุนส่งเสริมการค้าให้กว้างขึ้น นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรียังได้ย้ำถึงโอกาสการลงทุนของไทยภายใต้แผนยุทธศาสตร์ (Country Strategy) ที่จะส่งเสริมการขยายตัวทางเศรษฐกิจและการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน โดยจะเน้นการลงทุนใน Infrastructure การจัดทำโซนนิ่งเกษตร และการส่งเสริม SMEs และ OTOP
นอกจากนี้ จะให้ความสำคัญกับการลดความเหลื่อมล้ำผ่านการพัฒนาระบบการศึกษาและสาธารณสุขให้ทั่วถึง โดยการสร้างความเจริญเติบโตนี้ จะต้องยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สำหรับการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน นายกรัฐมนตรีกล่าวถึง การลงทุนด้านการบริหารจัดการน้ำ ภายใต้วงเงิน ๓๕๐,๐๐๐ ล้านบาท เพื่อปกป้องเขตเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมจากอุทกภัย รวมถึง โครงสร้างลงทุนพื้นฐานขนาดใหญ่ (Megaprojects) มูลค่า ๒ ล้านล้านบาท ที่จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันจากต้นทุนที่ลดลง การกระจายความเจริญ การส่งเสริมความเชื่อมโยง (Connectivity) กับประเทศเพื่อนบ้านและภูมิภาค ซึ่งจะสามารถเป็นจุดเชื่อมต่อกับฮ่องกง ซึ่งมีท่าอากาศยานและท่าเรือน้ำลึกขนาดใหญ่ และเป็นจุดขนส่งสินค้าที่สำคัญที่มีปริมาณการขนส่งสินค้าเป็นอันดับต้นของโลก ได้อีกด้วย
ในโอกาสนี้ นายกรัฐมนตรียังได้เปิดโอกาสให้รัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกล่าวเสริมในประเด็นที่นักลงทุนให้ความสนใจและซักถามด้วย โดยภายหลังการหารือในช่วงเช้า กระทรวงการคลังและสำนักงานคณะกรรรมการส่งเสริมการลงทุน ได้จัดกิจกรรมคู่ขนานเพื่อสร้างความเชื่อมั่นแก่ประเทศไทย ภายใต้ชื่อ “Hong Kong Roadshow “Thailand’s Strategies: A Road Map for Real Opportunities” ดังนี้
-เวลา ๐๙.๓๐ น. การกล่าวสุนทรพจน์ถึงโอกาสของไทยภายใต้แผนยุทธศาสตร์ประเทศ โดยนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
-เวลา ๑๑.๒๐ – ๑๔.๓๐ น. การจัดสัมมนาเพื่อส่งเสริมการลงทุน ตลอดจน การพบปะระหว่างผู้บริหารระดับสูงด้านการเงินการคลังของไทยกับนักลงทุนต่างชาติที่สำคัญในฮ่องกง (One-on-Ten meeting Session) แบบกลุ่มย่อย ทั้งนี้ ปัจจุบันฮ่องกงเป็นคู่ค้าอันดับ ๙ ของไทย โดยการค้าระหว่างไทย-ฮ่องกงในปี ๒๕๕๕ มีมูลค่าถึง ๑๔,๐๐๐ ล้านดอลล่าร์สหรัฐ และฮ่องกงยังมีปริมาณเงินลงทุนในโครงการที่ยื่นขอส่งเสริมการลงทุนในไทยมากเป็นอันดับ ๒ รองจากญี่ปุ่น
วันทำการ : จันทร์ - ศุกร์ เวลา 08.30 - 16.30 น.
(ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์)
งานรับ-ส่งหนังสือ และงานสารบรรณ:
อีเมล [email protected]
เว็บไซต์นี้ได้รับการออกแบบเพื่ออำนวยความสะดวกให้ทุกคนเข้าถึงเว็บไซต์ได้และมีมาตรฐาน WCAG 2.0 ระดับ AA
** เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุดควรใช้ Chrome เวอร์ชั่น 76 ขึ้นไป **