วันที่นำเข้าข้อมูล 4 พ.ย. 2564
วันที่ปรับปรุงข้อมูล 30 พ.ย. 2565
เมื่อวันที่ ๒๘ ตุลาคม ๒๕๖๔ คณะผู้แทนถาวรไทยประจำอาเซียน ณ กรุงจาการ์ตา นำส่งสัตยาบันสารของไทยสำหรับความตกลง Regional Comprehensive Economic Partnership (RCEP) ให้แก่เลขาธิการอาเซียน เพื่อให้ความตกลงมีผลบังคับใช้ในเดือนมกราคม ๒๕๖๕ ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ ความตกลง RCEP จะช่วยสนับสนุนการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจภายหลัง COVID-19 ของไทยและประเทศสมาชิกอาเซียน และช่วยให้อาเซียนมุ่งไปสู่ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยืดหยุ่น ครอบคลุม และยั่งยืน เพื่อประชาชนในภูมิภาคและประชาคมโลก
หลังจากไทยและเวียดนามยื่นสัตยาบันสารความตกลง เมื่อวันที่ ๒๘ และ ๒๙ ตุลาคม ๒๕๖๔ ตามลำดับ จึงมีประเทศสมาชิกอาเซียนครบ ๖ ประเทศ และต่อมาเมื่อวันที่ ๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๔ ซึ่งเป็นวันสุดท้ายของการยื่นสัตยาบัน หากจะให้มีผลบังคับใช้ตามกำหนด นิวซีแลนด์และออสเตรเลียก็ได้ยื่นสัตยาบันสารของตนต่อสำนักเลขาธิการอาเซียน จึงมีประเทศนอกอาเซียน ๔ ประเทศ (จากที่กำหนดไว้ว่าต้องมี ๓ ประเทศ) ที่ยื่นสัตยาบันสาร นอกจากจีนและญี่ปุ่น อันจะทำให้ความตกลง RCEP มีผลบังคับใช้ในวันที่ ๑ มกราคม ๒๕๖๕
RCEP เป็นความตกลงการเค้าเสรี หรือ FTA ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ประเทศภาคีมีผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ (Gross Demestic Product-GDP) รวมกันราว ๑ ใน ๓ ของ GDP โลก เมื่อ RCEP มีผลบังคับใช้ สินค้าส่งออกของไทยหลายรายการจะได้ประโยชน์จากการลดภาษีนำเข้าเหลือศูนย์ นอกจากนี้ จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของอาเซียน ส่งเสริมระบบการค้าระหว่างประเทศที่เสรี เปิดกว้าง และอยู่บนพื้นฐานของกฎกติกา รวมทั้งขยายห่วงโซ่มูลค่าอย่างมีนัยสำคัญ
วันทำการ : จันทร์ - ศุกร์ เวลา 08.30 - 16.30 น.
(ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์)
งานรับ-ส่งหนังสือ และงานสารบรรณ:
อีเมล [email protected]
เว็บไซต์นี้ได้รับการออกแบบเพื่ออำนวยความสะดวกให้ทุกคนเข้าถึงเว็บไซต์ได้และมีมาตรฐาน WCAG 2.0 ระดับ AA
** เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุดควรใช้ Chrome เวอร์ชั่น 76 ขึ้นไป **