สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเวียนนา จัดพิธีรับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์แก่ ดร. คริสท็อฟ ราโมเซอร์ ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมความเป็นนานาชาติและการส่งเสริมนักวิจัยรุ่นเยาว์ กรมการวิจัยทางวิทยาศาสตร์และวิเทศสัมพันธ์ กระทรวงการศึกษา วิทยาศาสตร์และการวิจัย สาธารณรัฐออสเตรีย

สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเวียนนา จัดพิธีรับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์แก่ ดร. คริสท็อฟ ราโมเซอร์ ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมความเป็นนานาชาติและการส่งเสริมนักวิจัยรุ่นเยาว์ กรมการวิจัยทางวิทยาศาสตร์และวิเทศสัมพันธ์ กระทรวงการศึกษา วิทยาศาสตร์และการวิจัย สาธารณรัฐออสเตรีย

วันที่นำเข้าข้อมูล 23 มี.ค. 2565

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 23 มี.ค. 2565

| 1,731 view

ตามที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นเบญจมาภรณ์มงกุฎไทยแก่ ดร. คริสท็อฟ ราโมเซอร์ ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมความเป็นนานาชาติและการส่งเสริมนักวิจัยรุ่นเยาว์ กรมการวิจัยทางวิทยาศาสตร์และวิเทศสัมพันธ์ กระทรวงการศึกษา วิทยาศาสตร์และการวิจัย สาธารณรัฐออสเตรีย นั้น

เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2565 สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเวียนนา ได้จัดพิธีรับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์  แก่ ดร. คริสท็อฟ ราโมเซอร์ ณ ทำเนียบเอกอัครราชทูต ณ กรุงเวียนนา โดยมีนางสาวมรกต  ศรีสวัสดิ์ เอกอัครราชทูต ณ กรุงเวียนนา เป็นประธานในพิธีฯ โดยมีนางบริกิตตา ราโมเซอร์ ภริยา และครอบครัว นายเอนโน โดรฟีนิก อธิบดีกรมพิธีการทูต กระทรวงการต่างประเทศสาธารณรัฐออสเตรีย ศาสตราจารย์ ดร. แบนด์ มิคาเอล โรเดอ ผู้ก่อตั้งเครือข่ายมหาวิทยาลัยในทวีปยุโรปและมหาวิทยาลัยในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ASEAN European Academic University Network (ASEA-UNINET) ศาสตราจารย์ ดร. เอ มิน เจา อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัย Technical University of Vienna  และ ดร. ฟีลิกซ์ วิลเช็ก เจ้าหน้าที่กระทรวงศึกษาฯ สาธารณรัฐออสเตรีย พร้อมด้วยข้าราชการทีมประเทศไทยของสถานเอกอัครราชทูตฯ  เข้าร่วมในพิธีฯ และแสดงความยินดีด้วย

 
ดร. คริสท็อฟ ราโมเซอร์ มีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมความสัมพันธ์ด้านการศึกษาระหว่างไทยกับออสเตรียมาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการจัดสรรงบประมาณสนับสนุนการดำเนินงานของเครือข่ายมหาวิทยาลัยในทวีปยุโรปและมหาวิทยาลัยในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ASEAN European Academic University Network (ASEA-UNINET) ซึ่งก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2537 ภายใต้ความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยของออสเตรียและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ส่งผลให้นักศึกษาและนักวิจัยชาวไทยจำนวนมากได้รับทุนการศึกษาและวิจัยในสาขาต่าง ๆ มาโดยตลอด และเป็นทรัพยากรบุคคลสำคัญในการพัฒนาประเทศไทย

รูปภาพประกอบ

รูปภาพประกอบ