เอกอัครราชทูต ณ กรุงออสโล เป็นเจ้าภาพเลี้ยงอาหารค่ำเพื่อเป็นเกียรติแก่สมาชิกรัฐสภาและประธานคณะผู้แทนนอร์เวย์ประจำคณะกรรมาธิการรัฐสภาสมาคมการค้าเสรียุโรป (EFTA) สมาชิกรัฐสภาและสมาชิกคณะผู้แทนนอร์เวย์ประจำคณะกรรมาธิการรัฐสภา EFTA สมาชิกรัฐสภาและประธานคณะผู้แทนนอร์เวย์ประจำคณะกรรมาธิการรัฐสภาเอเชีย-ยุโรป (ASEP) และที่ปรึกษาอาวุโส ด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

เอกอัครราชทูต ณ กรุงออสโล เป็นเจ้าภาพเลี้ยงอาหารค่ำเพื่อเป็นเกียรติแก่สมาชิกรัฐสภาและประธานคณะผู้แทนนอร์เวย์ประจำคณะกรรมาธิการรัฐสภาสมาคมการค้าเสรียุโรป (EFTA) สมาชิกรัฐสภาและสมาชิกคณะผู้แทนนอร์เวย์ประจำคณะกรรมาธิการรัฐสภา EFTA สมาชิกรัฐสภาและประธานคณะผู้แทนนอร์เวย์ประจำคณะกรรมาธิการรัฐสภาเอเชีย-ยุโรป (ASEP) และที่ปรึกษาอาวุโส ด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

วันที่นำเข้าข้อมูล 24 ส.ค. 2565

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 24 ส.ค. 2565

| 9,294 view
เมื่อวันที่ ๒๒ สิงหาคม ๒๕๖๕ นางสาววิมลพัชระ รักษาเกียรติ เอกอัครราชทูต ณ กรุงออสโล เป็นเจ้าภาพเลี้ยงอาหารค่ำเพื่อเป็นเกียรติแก่นาง Trine Lise Sundnes สมาชิกรัฐสภาและประธานคณะผู้แทนนอร์เวย์ประจำคณะกรรมาธิการรัฐสภาสมาคมการค้าเสรียุโรป (EFTA) นาง Heidi Nordby Lunde สมาชิกรัฐสภาและสมาชิกคณะผู้แทนนอร์เวย์ประจำคณะกรรมาธิการรัฐสภา EFTA นาง Åslaug Sem-Jacobsen สมาชิกรัฐสภาและประธานคณะผู้แทนนอร์เวย์ประจำคณะกรรมาธิการรัฐสภาเอเชีย-ยุโรป (ASEP) และนาง Margrethe Saxegaard ที่ปรึกษาอาวุโส ด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ในโอกาสที่คณะกรรมาธิการรัฐสภา EFTA จะเยือนประเทศไทยในเดือนกันยายน ๒๕๖๕ เพื่อสานต่อการเตรียมความพร้อมในการจัดทำความตกลงการค้าเสรี (Free Trade Agreement – FTA) ระหว่างประเทศไทยกับกลุ่มประเทศ European Free Trade Association (EFTA) ประกอบด้วยนอร์เวย์ ไอซ์แลนด์ สวิตเซอร์แลนด์ และลิกเตนสไตน์
 
ในโอกาสนี้ เอกอัครราชทูตฯ และคณะได้แลกเปลี่ยนทัศนะเกี่ยวกับความสัมพันธ์ไทย-นอร์เวย์ที่มีประวัติศาสตร์มายาวนานกว่า ๑๑๗ ปี และในปัจจุบันทั้งสองประเทศมีความสัมพันธ์ที่มีพลวัตร โดยเห็นพ้องกันว่า ไทยและนอร์เวย์มีศักยภาพในการส่งเสริมความร่วมมือกันอีกมาก ได้แก่ ความสัมพันธ์ระดับประชาชน การท่องเที่ยว การค้าการลงทุน และนวัตกรรมในสาขาที่นอร์เวย์มีความเชี่ยวชาญ เช่น รถยนต์ไฟฟ้า (Electric Vehicle) และพลังงานสะอาด เป็นต้น
 
การจัดทำ FTA ไทย – EFTA จะเป็นประโยชน์ต่อการสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจ เช่น เกิดการจ้างงานมากขึ้น มีสวัสดิการสังคมเพิ่มขึ้น จากการได้รับสินค้าและบริการในราคาที่ถูกลง นอกจากนี้ ยังส่งเสริมความสามารถในการแข่งขันให้แก่ผู้ประกอบการไทย โดยเฉพาะภาคบริการ ในสาขาบริการทางการแพทย์และการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพที่ไทยมีศักยภาพ ส่วนด้านการลงทุน EFTA ถือเป็นกลุ่มประเทศที่มีกำลังซื้อสูงและมีศักยภาพด้านเทคโนโลยีขั้นสูง จึงเป็นโอกาสที่ไทยจะได้รับถ่ายทอดเทคโนโลยีและดึงดูดการลงทุนสู่ไทยในสาขาอุตสาหกรรมที่ EFTA มีศักยภาพ เช่น การแพทย์ รถยนต์ไฟฟ้า โทรคมนาคม และพลังงานสะอาด

รูปภาพประกอบ

รูปภาพประกอบ