รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศกรอบความร่วมมือแม่โขง ล้านช้าง ครั้งที่ ๘ ที่กรุงปักกิ่ง

รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศกรอบความร่วมมือแม่โขง ล้านช้าง ครั้งที่ ๘ ที่กรุงปักกิ่ง

วันที่นำเข้าข้อมูล 7 ธ.ค. 2566

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 7 ธ.ค. 2566

| 5,476 view

เมื่อวันที่ ๗ ธันวาคม ๒๕๖๖ นายปานปรีย์ พหิทธานุกร รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้เข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศกรอบความร่วมมือแม่โขง-ล้านช้าง ครั้งที่ ๘ ณ เรือนรับรองรัฐบาลเตี้ยวหยูไถ กรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน โดยมีนายหวัง อี้ สมาชิกกรมการเมือง ผู้อานวยการสานักงานคณะกรรมการกลางด้านกิจการต่างประเทศของพรรคคอมมิวนิสต์จีน และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจีน และนายตาน ส่วย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเมียนมาเป็นประธานร่วม และมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศกัมพูชา และเวียดนาม และผู้แทนของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ สปป.ลาว เข้าร่วมการประชุมฯ

ที่ประชุมได้ทบทวนความคืบหน้าของกรอบความร่วมมือแม่โขง-ล้านช้าง และแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับทิศทางความร่วมมือของกรอบความร่วมมือฯ ในอนาคต รวมทั้งเตรียมการสาหรับการจัดการประชุมผู้นำกรอบความร่วมมือแม่โขง-ล้านช้าง ครั้งที่ ๔ ซึ่งจีนเสนอให้จัดในเดือนธันวาคม ปี ๒๕๖๖ โดยในโอกาสดังกล่าว ไทยจะรับเป็นประธานร่วมของกรอบความร่วมมือฯ กับจีน ต่อจากเมียนมาด้วย

ในการนี้ ที่ประชุมเห็นพ้องเร่งรัดการส่งเสริมความเชื่อมโยงทางด้านโครงสร้างพื้นฐาน ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ การพัฒนาดิจิทัล การท่องเที่ยว วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การรับมือกับความท้าทายรูปแบบใหม่ ซึ่งเป็นข้อห่วงกังวลร่วมกันของประเทศสมาชิก โดยเฉพาะการปราบปรามกระบวนการหลอกลวงทางโทรศัพท์และอินเทอร์เน็ต การค้ามนุษย์ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ความมั่นคงทางอาหารและพลังงาน รวมถึงการบริหารจัดการน้ำ

รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้เสนอแนวคิด ๓ อนาคต (3 futures) ได้แก่

(๑) การผลักดันอนาคตแห่งความเชื่อมโยง (advance the “future” of connectivity) ผ่านการลงทุนในโครงการโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ โดยเฉพาะโครงการสะพานเศรษฐกิจเชื่อมอ่าวไทยกับมหาสมุทรอินเดีย (Landbridge) และการเชื่อมโยงเส้นทางรถไฟไทย จีนกับเส้นทาง รถไฟลาว จีน ตลอดจนการส่งเสริมความเชื่อมโยงทางดิจิทัลและการค้าและการลงทุน

(๒) การสร้างอนาคตที่ดีผ่านการรับมือกับความท้าทายใหม่ (build a better “future” by addressing new and emerging challenges) โดยเฉพาะความมั่นคงรูปแบบใหม่ และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และ

(๓) การเสริมสร้างกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจแห่งอนาคต (drive “future” growth engines) ผ่านความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ภายใต้ข้อริเริ่มการพัฒนาระเบียงนวัตกรรม ภายกรอบความร่วมมือแม่โขง ล้านช้าง ตามข้อเสนอของประเทศไทย การพัฒนาเศรษฐกิจสีเขียว และการส่งเสริมการท่องเที่ยว

นอกจากนี้ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศยังได้เสนอการสอดประสานระหว่างกรอบความร่วมมือแม่โขง-ล้านช้าง กับยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิรวดี เจ้าพระยา แม่โขง (Ayeyawady-Chao Phraya-Mekong Economic Cooperation Strategy: ACMECS) ซึ่งไทยเป็นผู้ริเริ่ม และจีนเป็นหนึ่งในหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนาของยุทธศาสตร์ฯ

ทั้งนี้ ที่ประชุมได้เห็นพ้องให้เสนอร่างเอกสาร ๓ ฉบับให้การประชุมผู้นาฯ พิจารณารับรอง ได้แก่ ร่างปฏิญญาเนปยีดอ (๒) ร่างแผนดาเนินการ ๕ ปีของกรอบความร่วมมือแม่โขง ล้านช้าง (ค.ศ. ๒๐๒๓ ๒๐๒๗) และ (๓) ร่างข้อริเริ่มร่วมเรื่องการพัฒนาระเบียงนวัตกรรมภายใต้กรอบความร่วมมือแม่โขง ล้านช้าง

รูปภาพประกอบ

รูปภาพประกอบ