วันที่นำเข้าข้อมูล 11 ต.ค. 2567
วันที่ปรับปรุงข้อมูล 11 ต.ค. 2567
กรอบความร่วมมือเอเชีย (Asia Cooperation Dialogue: ACD) ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี ๒๕๔๕ โดยการริเริ่มของไทย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ (๑) เป็นเวทีหารือระดับนโยบายและความร่วมมือระหว่างประเทศในทวีปเอเชีย (๒) ส่งเสริมความเข้าใจ ความไว้เนื้อเชื่อใจ ตลอดจนส่งเสริมผลประโยชน์ร่วมกัน (๓) เป็นเวทีเอเชียที่เชื่อมโยงประเทศในทวีปเอเชีย (Pan-Asian Forum) และกรอบความร่วมมือในอนุภูมิภาคต่าง ๆ และ (๔) เป็นเวทีหารือระดับนโยบายของเอเชียที่ประเทศสมาชิกสามารถแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น และหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาความท้าทายต่าง ๆ ของโลก
ประเทศสมาชิก ปัจจุบัน ACD มีสมาชิกทั้งหมด ๓๕ ประเทศ ครอบคลุมประเทศในทวีปเอเชีย ตั้งแต่เอเชียตะวันออกถึงตะวันตก และเป็นเวทีแรกที่มีเป้าหมายจะรวมประเทศเอเชียในทุกอนุภูมิภาค
ประเทศสมาชิก ACD ได้แก่
บาห์เรน
บังกลาเทศ
บรูไนดารุสซาลาม
กัมพูชา
จีน
อินเดีย
อินโดนีเซีย
ญี่ปุ่น
สาธารณรัฐเกาหลี
สปป. ลาว
มาเลเซีย
เมียนมา
ปากีสถาน
ฟิลิปปินส์
กาตาร์
สิงคโปร์
ไทย
เวียดนาม
คาซัคสถาน
ภูฏาน
รัสเซีย
คูเวต
อิหร่าน
ซาอุดีอาระเบีย
โอมาน
มองโกเลีย
ศรีลังกา
สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
อัฟกานิสถาน
คีร์กิซสถาน
เนปาล
ทาจิกิสถาน
ตุรกี
อุซเบกิสถาน
รัฐปาเลสไตน์
ความร่วมมือในกรอบ ACD ประกอบด้วย ๖ เสาความร่วมมือ ได้แก่ (๑) ความเชื่อมโยง (๒) วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม (๓) การศึกษาและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (๔) ความเชื่อมโยงระหว่างความมั่นคงทางอาหาร พลังงาน และน้ำ (๕) วัฒนธรรมและการท่องเที่ยว (๖) การส่งเสริมแนวทางไปสู่การพัฒนาอย่างทั่วถึงและยั่งยืน (ไทยเป็นประเทศผู้ขับเคลื่อน)
กลไกของ ACD
การประชุมระดับผู้นำ (ACD Summit) การประชุมผู้นำ ACD จัดตามความสมัครใจของประเทศสมาชิก
ครั้งที่ ๑ คูเวตเป็นเจ้าภาพจัดขึ้นเมื่อเดือนตุลาคม ๒๕๕๕ ณ รัฐคูเวต
(น.ส. ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทย)
ครั้งที่ ๒ ไทยเป็นเจ้าภาพจัดขึ้นเมื่อวันที่ ๘ - ๑๐ ตุลาคม ๒๕๕๙ ณ กรุงเทพฯ
ภายใต้หัวข้อ “One Asia, Diverse Strength” (พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน)
โดยมีเอกสารผลลัพธ์ ๓ ฉบับ ได้แก่ ๑) วิสัยทัศน์ความร่วมมือเอเชีย ๒) ปฏิญญากรุงเทพฯ
ครั้งที่ ๓ กาตาร์เป็นเจ้าภาพจัดขึ้นเมื่อเดือนตุลาคม ๒๕๖๗ ณ รัฐคูกาตาร์
(น.ส. แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทย)
การประชุมระดับรัฐมนตรี (Ministerial Meeting) ในหลักการ ประธาน ACD จะจัดการประชุมระดับรัฐมนตรีปีละครั้ง นอกจากนี้ ประธาน ACD ยังสามารถพิจารณาจัดการประชุมระดับรัฐมนตรี ACD สมัยวิสามัญ หรือการประชุมระดับรัฐมนตรีคู่ขนานไปกับการประชุมสมัชชาสหประชาชาติ (UNGA)
ล่าสุด เมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๖๗ อิหร่านได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระดับรัฐมนตรี ACD ครั้งที่ ๑๙ ณ กรุงเตหะราน
การเป็นประธาน ACD ประเทศไทยมีบทบาทนาในกรอบ ACD ในฐานะผู้ริเริ่มจัดตั้งกรอบ ACD และเป็น ประเทศ ผู้ประสานงาน ทั้งนี้ ประเทศไทยเคยดารงตำแหน่งประธาน ACD ๒ ครั้ง ครั้งแรก คือ วาระปี ๒๕๔๕-๒๕๔๖ โดยได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระดับรัฐมนตรีอย่างไม่เป็นทางการ ครั้งที่ ๑ ระหว่างวันที่ ๑๘-๑๙ มิถุนายน ๒๕๔๕ ที่จังหวัดเพชรบุรี และการประชุมระดับรัฐมนตรีอย่างไม่เป็นทางการ ครั้งที่ ๒ ระหว่างวันที่ ๒๑-๒๒ มิถุนายน ๒๕๔๖ ที่จังหวัดเชียงใหม่ ครั้งที่สอง คือ วาระปี ๒๕๕๘-๒๕๕๙ โดยประเทศไทยได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระดับรัฐมนตรี ครั้งที่ ๑๔ ระหว่างวันที่ ๙-๑๑ มีนาคม ๒๕๕๙ ที่กรุงเทพฯ และเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระดับผู้นำ ครั้งที่ ๒ ระหว่างวันที่ ๘ ๑๐ ตุลาคม ๒๕๕๙ ที่กรุงเทพฯ โดยในปี ๒๕๖๘ ไทยจะเป็นประธาน ACD อีกครั้ง
กรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
ตุลาคม ๒๕๖๗
วันทำการ : จันทร์ - ศุกร์ เวลา 08.30 - 16.30 น.
(ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์)
งานรับ-ส่งหนังสือ และงานสารบรรณ:
อีเมล [email protected]
เว็บไซต์นี้ได้รับการออกแบบเพื่ออำนวยความสะดวกให้ทุกคนเข้าถึงเว็บไซต์ได้และมีมาตรฐาน WCAG 2.0 ระดับ AA
** เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุดควรใช้ Chrome เวอร์ชั่น 76 ขึ้นไป **