อธิบดีกรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยเข้าร่วมการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสกรอบความร่วมมือเอเชียอย่างไม่เป็นทางการ (ACD Informal SOM) นำเสนอการพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว เพื่อการฟื้นฟูหลังโควิด-๑๙

อธิบดีกรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยเข้าร่วมการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสกรอบความร่วมมือเอเชียอย่างไม่เป็นทางการ (ACD Informal SOM) นำเสนอการพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว เพื่อการฟื้นฟูหลังโควิด-๑๙

วันที่นำเข้าข้อมูล 5 เม.ย. 2564

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 30 พ.ย. 2565

| 8,217 view

อธิบดีกรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยร่วมการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสกรอบความร่วมมือเอเชียอย่างไม่เป็นทางการ เน้นส่งเสริมการเชื่อมโยงกับการพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (BCG Economy) เพื่อมุ่งไปสู่การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจจากวิกฤตโควิด-๑๙ และการเจริญเติบโตอย่างยั่งยืนร่วมกัน

เมื่อวันที่ ๓๐ มีนาคม ๒๕๖๔ นายเชิดชาย ใช้ไววิทย์ อธิบดีกรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยเข้าร่วมการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสกรอบความร่วมมือเอเชียอย่างไม่เป็นทางการ ผ่านระบบการประชุมทางไกล โดยมีตุรกีเป็นเจ้าภาพ

ที่ประชุมรับทราบความคืบหน้าของการขับเคลื่อนกิจกรรมและโครงการภายใต้กรอบ Asia Cooperation Dialogue (ACD) ในช่วงไตรมาสแรกของปี ๒๕๖๔ และได้หารือร่างเอกสารสำคัญ ได้แก่ (๑) ACD Blueprint 2021-2030 และ (๒) Guiding Principles for the Functioning of the Secretariat ซึ่งจะเป็นเอกสารสำคัญในการกำหนดแนวทางความร่วมมือภายใต้ ๖ สาขา และการทำงานของสำนักเลขาธิการ ACD ในอนาคต

ไทยในฐานะผู้ขับเคลื่อนหลักในสาขาการส่งเสริมแนวทางการพัฒนาที่ทั่วถึงและยั่งยืน ได้นำเสนอแนวคิดการจัดกิจกรรมด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืนในช่วงปลายปี ๒๕๖๔ โดยเน้นการเชื่อมโยงกับการพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (BCG Economy) เพื่อมุ่งไปสู่การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจจากวิกฤตโควิด-๑๙ และการเจริญเติบโตอย่างยั่งยืนร่วมกัน

ACD ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี ๒๕๔๕ โดยการริเริ่มของไทย เพื่อเป็นเวทีหารือระดับนโยบายและความร่วมมืออย่างสมัครใจระหว่างประเทศในภูมิภาคเอเชีย และช่วยส่งเสริมความเข้าใจ ความไว้เนื้อเชื่อใจ และความเชื่อมโยงเชิงยุทธศาสตร์ของทั้งทวีปเอเชีย บนพื้นฐานของผลประโยชน์ร่วมกันและศักยภาพที่หลากหลายของประเทศสมาชิก