การเตรียมพร้อมรับมือเหตุภัยพิบัติและสถานการณ์ฉุกเฉิน

การเตรียมพร้อมรับมือเหตุภัยพิบัติและสถานการณ์ฉุกเฉิน

วันที่นำเข้าข้อมูล 8 ก.พ. 2562

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 29 พ.ย. 2565

| 2,609 view

มลรัฐแคลิฟอร์เนียมีภูมิประเทศที่สวยงาม อากาศดี เป็นจุดหมายปลายทางของนักท่องเที่ยวจำนวนมาก แต่ภูมิภาคนี้ก็มีความเสี่ยงต่อภัยธรรมชาติหลายรูปแบบ อาทิ พายุ ไฟป่า โคลนถล่ม โดยเฉพาะแผ่นดินไหวโดยหากเหตุการณ์เหล่านี้เกิดขึ้นก็จะนำมาซึ่งสภาวะฉุกเฉิน บ้านเรือน และทรัพย์สินเสียหาย โครงสร้างพื้นฐาน ระบบคมนาคมขนส่ง ระบบไฟฟ้า แก๊ส น้ำประปา โทรศัพท์ อินเตอร์เน็ต ได้รับผลกระทบหรืออาจใช้การไม่ได้ การที่ทุกคนควรต้องเตรียมพร้อมรับมือเหตุภัยพิบัติและสถานการณ์ฉุกเฉินด้วยตัวเองขณะที่รอความช่วยเหลือจากผู้อื่น ซึ่งมีความสำคัญมากค่ะ จดหมายฉบับนี้จึงมีเกร็ด 4 ข้อในการเตรียมตัวให้พร้อมมาฝากกันค่ะ

  1. จัดเตรียมชุดอุปกรณ์ฉุนเฉิน (emergency kit)

น้ำดื่ม เสื้อผ้า รองเท้า วิทยุ เงินสด ถุงมือแบบหนา อุปกรณ์ชาร์ตโทรศัพท์มือถือ อุปกรณ์ช่าง เทปพัน      สายไฟ ยา อาหารว่าง อุปกรณ์เพื่อสุขอนามัย เอกสารสำคัญ ของเล่น (สำหรับเด็ก) อาหารสุนัข-แมว         โดยสภากาชาดให้คำแนะนำว่า ควรเตรียมอุปกรณ์ต่างๆ สำหรับทุกคนในครอบครัว ให้เพียงพอสำหรับ         เผชิญสถานการณ์ได้ 3-14 วัน รวมถึงควรจัดเตรียมอุปกรณ์ที่จำเป็นใกล้เตียงนอน สำหรับกรณีเกิดเหตุ           ฉุกเฉินในเวลากลางคืน อาทิ รองเท้า เสื้อหนาว ไฟฉาย นกหวีด ฯลฯ ทั้งนี้ หากกลัวลืม ลองพิมพ์คำว่า     Disaster Emergency Checklist ใน Google แล้วให้เตรียมของตามรายการนั้นๆ ก็ได้ค่ะ

  1. วางแผนสำหรับสถานการณ์ฉุกเฉิน (make a plan)
  • หารือกับครอบครัว เพื่อนบ้าน เพื่อนร่วมงาน เกี่ยวกับความเสี่ยงต่าง ๆ อาทิ ลักษณะของที่พักอาศัย/ สถานที่ทำงานอยู่ในอาคารสูงหรือไม่ มีคนชราพักอาศัยด้วยหรือไม่ พร้อมทั้งมอบหมายหน้าที่ให้บุคคลในครอบครัว/ในที่ทำงานในกรณีที่เกิดเหตุการณ์ฉุกเฉิน
  • วางแผนการติดต่อสื่อสารกับญาติ/ เพื่อนนอกมลรัฐที่เกิดเหตุ อย่างน้อยควรแยกเขียนเบอร์โทรศัพท์เก็บไว้กับอุปกรณ์ในข้อ 1 เนื่องจากระบบการสื่อสารภายในพื้นที่เกิดภัยพิบัติอาจขัดข้อง รวมถึงศึกษาเส้นทางอพยพหนีภัย และจุดนัดหมายของสมาชิกในครอบครัว
  •  ฝึกซ้อมขั้นตอนปฏิบัติของแผนฉุกเฉินปีละ ๒ ครั้ง และตรวจสอบชุดอุปกรณ์ฉุกเฉินให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานอยู่เสมอ
  1. ศึกษาช่องทางการรับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับภัยพิบัติต่าง ๆ และเการเตรียมพร้อม อาทิ

Los Angeles

https://www.lacounty.gov/emergency/alert-la/

https://emergency.lacity.org/notifyla

https://safeandwell.communityos.org/cms/index.php (Red Cross)

http://readyla.org/

https://emergency.lacity.org/

San Francisco

https://sfdem.org/

https://www.sf72.org/home

ucsfhealth.org

https://sfdhr.org/get-ready-download-materials

https://readysf.com/

https://bomasf.org/committee/emergency-preparedness-committee/emerg

San Diego

https://www.sandiego.gov/ohs/emergencypreparedness

http://www.readysandiego.org/

https://www.sandiegocounty.gov/content/sdc/deh/disaster/

  1. ศึกษาขั้นตอนการเปิด/ ปิดระบบน้ำ ไฟฟ้า และแก๊สของบ้านพักอาศัยและอาคารสำนักงานในกรณีเกิดเกิดภัยพิบัติและฝึกซ้อม/ ทบทวนขั้นตอนการปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ

รูปภาพประกอบ

รูปภาพประกอบ