สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (Germany)
|
|
มีบทบาทหลักในด้านเศรษฐกิจและการเมืองทั้งในสหภาพยุโรปและในเวทีโลก
• เป็นหนึ่งในฐานด้านอุตสาหกรรมที่สำคัญ (ยานยนต์ เครื่องจักร และเคมีภัณฑ์)
• เป็นประเทศผู้ส่งออกอันดับที่ 3 ของโลก (รองจากจีนและสหรัฐอเมริกา) เป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีพลังงานทดแทน
ชั้นแนวหน้า (แสงอาทิตย์ ลม และชีวมวล) และมีแผนการทยอยปิดโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ที่เหลืออีก 9 แห่ง ให้หมดภายในปี 2565 (ค.ศ. 2022)
• ให้ความสำคัญเรื่องความมั่นคงของยุโรป โดยเฉพาะมาตรการต่อผู้อพยพ มีนโยบายผ่อนปรนการเข้าเมืองของผู้อพยพด้วยเหตุผลด้านมนุษยธรรม อย่างไรก็ตาม ภายหลังมีผู้อพยพเข้ามาจำนวนมากและจากเหตุการณ์ก่อการร้ายหลายครั้ง เยอรมนีได้ทบทวนนโยบายเปิดรับผู้ลี้ภัยให้เข้มงวดขึ้น
• มีความเชี่ยวชาญด้านอาชีวศึกษา พลังงานทดแทน เศรษฐกิจสีเขียว
• พยายามมีบทบาทสร้างสรรค์ในการแก้ปัญหาซีเรียและอิหร่าน ให้ความสำคัญกับประเด็นความมั่นคงในอัฟกานิสถานตะวันออกกลาง รวมถึงการส่งเสริมการแก้ไขปัญหาระหว่างประเทศด้วยสันติวิธีและการให้และความช่วยเหลือทางมนุษยธรรม
• มีกำหนดเลือกตั้งประธานาธิบดีในวันที่ 12 ก.พ. 2560 และการเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 24 ก.ย. 2560
• ออท. ณ กรุงเบอร์ลิน คือ นายธีรวัฒน์ ภูมิจิตร และ ออท. สหพันธ์ฯ/ ปทท. คือ นายเพเทอร์ พรือเกล
|
ข้อมูลทั่วไป
|
พื้นที่
|
357,021 ตร.กม. (ไทย 513,120 ตร.กม.)
|
ประธานาธิบดี
|
นายฟรังค์-วัลเทอร์ ชไตน์ไมเออร์ (Mr. Frank-Walter Steinmeier)
|
เมืองหลวง
|
Berlin
|
นายกรัฐมนตรี
|
นางเกลา แมร์เคล
|
ประชากร
|
83 ล้านคน (ไทย 69 ล้านคน)
(ข้อมูลจาก World Bank ปี 2560)
|
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
|
ไฮโค มาส (Heiko Maas)
|
ภาษาราชการ
|
เยอรมัน
|
วันชาติ
|
3 ตุลาคม
|
ศาสนา
|
คริสต์ ร้อยละ 31 (โปรเตสแตนท์) คริสต์ ร้อยละ 31 (โรมันคาทอลิก) ไม่ระบุ ร้อยละ 34 (ไม่มีศาสนา) อิสลาม ร้อยละ 4
|
วันสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับไทย
|
7 กุมภาพันธ์ 2405 (ค.ศ. 1862)
|
ข้อมูลเศรษฐกิจ
|
GDP
|
3,677.44 ล้าน USD (ไทย 455.22 ล้าน USD)
(ข้อมูลจาก World Bank ปี 2560)
|
สกุลเงิน
|
1 EUR = 38.88 บาท
|
GDP per Capita
|
44,469.9 USD (ไทย 6,593.8 USD)
(ข้อมูลจาก World Bank ปี 2560)
|
อัตราเงินเฟ้อ
|
ร้อยละ 1.7 (ไทย ร้อยละ 0.7)
(ข้อมูลจาก World Bank ปี 2560)
|
GDP Growth
|
ร้อยละ 2.2 (ไทย ร้อยละ 3.9)
(ข้อมูลจาก World Bank ปี 2560)
|
|
|
ทรัพยากรสำคัญ
|
ถ่านหิน ถ่านหินลิกไนต์ ก๊าซธรรมชาติ แร่เหล็กและแร่โลหะต่าง ๆ
|
อุตสาหกรรมหลัก
|
เหล็ก เหล็กกล้า ถ่านหิน ซีเมนต์ เคมีภัณฑ์ เครื่องจักร ยานยนต์ และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
|
สินค้าส่งออกที่สำคัญ
|
ยานพาหนะและส่วนประกอบ เครื่องจักรกล เคมีภัณฑ์ อุปกรณ์ประมวลผลข้อมูล เครื่องไฟฟ้า
|
ตลาดส่งออกที่สำคัญ
|
จีน สหราชอาณาจักร เนเธอร์แลนด์ สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส
|
สินค้านำเข้าที่สำคัญ
|
อุปกรณ์ประมวลผลข้อมูล ยานพาหนะและส่วนประกอบ ปิโตรเลียมและก๊าซธรรมชาติ เคมีภัณฑ์ เครื่องจักรกล
|
ตลาดนำเข้าที่สำคัญ
|
สหรัฐอเมริกา อิตาลี ฝรั่งเศส จีน เนเธอร์แลนด์
|
สถิติที่สำคัญไทย-สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี
|
มูลค่าการค้า
|
11,115.81 ล้าน USD ไทยส่งออก 5,043.07 ล้าน USD นำเข้า 6,072.74 ล้าน USD จึงขาดดุลการค้า -1,029.67 ล้าน USD
(ข้อมูลจากกระทรวงพาณิชย์ ปี 2560)
|
สินค้าส่งออก
|
อัญมณีและเครื่องประดับ แผงวงจรไฟฟ้า เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์ยาง เครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่องจักรกล รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ก๊อก วาล์วและส่วนประกอบ เครื่องนุ่งห่ม เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้าสำหรับให้สัญญาณเสียง
|
สินค้านำเข้า
|
เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ เคมีภัณฑ์ เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ ส่วนประกอบและอุปกรณ์ยานยนต์
เครื่องมือเครื่องใช้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์การแพทย์ รถยนต์นั่ง ผลิตภัณฑ์เวชกรรมและเภสัชกรรม สินแร่โลหะ เศษโลหะและผลิตภัณฑ์ เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน และแผงวงจรไฟฟ้า
|
การลงทุน
|
ข้อมูลเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ 403.06 ล้าน USD
ข้อมูลเงินลงทุนโดยตรงของไทยในต่างประเทศ 189.11 ล้าน USD
|
การท่องเที่ยว
|
ปี 2560 มีนักท่องเที่ยวจากสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีเดินทางมาประเทศไทยจำนวน 849,283 คน (เพิ่มขึ้นร้อยละ 65 จากปี 2559) และนักท่องเที่ยวไทยเดินทางไปสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีประมาณ 60,000 คน (ข้อมูลปี 2560) (เพิ่มขึ้นร้อยละ 65 จากปี 2559)
|
คนไทยในสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี
|
อยู่ระหว่างปรับปรุงข้อมูล
|
หน่วยงานไทยในสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี
|
สถานเอกอัครราชทูต (Berlin) สถานกงสุลใหญ่ (Frankfurt) สถานกงสุลกิตติมศักดิ์ (Stuttgart) สถานกงสุลกิตติมศักดิ์ (Munich) สถานกงสุลกิตติมศักดิ์ (Hamburg) สถานกงสุลกิตติมศักดิ์ (Dusseldorf)
|
หน่วยงานของสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีในไทย
|
อยู่ระหว่างปรับปรุงข้อมูล
|