สาธารณรัฐชาด (Chad)
|
|
• เป็นสมาชิกไม่ถาวรของ UNSC วาระปี 2557 - 2558
• มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 5 ของแอฟริกา พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศเป็นทะเลทราย มีทองคำและยูเรเนียมมาก และเป็นประเทศผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่
• ประชาชนส่วนใหญ่ยากจน ระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานยังล้าหลัง
• หลังได้รับเอกราช เกิดสงครามกลางเมืองบ่อยครั้ง เคยถูกลิเบียรุกราน มีความขัดแย้งระหว่าง ปชช. ในภาคเหนือซึ่งส่วนใหญ่เป็นอาหรับ/มุสลิม และทางใต้ซึ่งเป็นคริสต์หรือนับถือวิญญาณ (animism) นอกจากนี้ยังมีปัญหาความไม่สงบจากกลุ่มกบฏติดอาวุธทางเหนือและจากซูดาน รวมถึงปัญหากลุ่มก่อการร้าย Boko Haram บริเวณ Lake Chad
• สถานการณ์ทางการเมืองของชาดยังคงมีเสถียรภาพ โดยประธานาธิบดี ไอดริสส์ เดบี มีเสียงข้างมากในสมัชชาแห่งชาติ (ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี 2533 จากการทำรัฐประหาร) ท่ามกลางกระแสคัดค้านของพวกกบฏที่ยังคงพยายามใช้ความรุนแรงโค่นล้มรัฐบาล (ซึ่งเป็นคนกลุ่มน้อยของ ปท.)
• ชาดต้องรับภาระผู้ลี้ภัยจากการสู้รบในซูดานและสาธารณรัฐแอฟริกากลาง โดย UN ได้มอบหมายให้กองกำลัง MINURCAT ปฏิบัติหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อยในชาด
ซึ่งหมดวาระแล้วในวันที่ 31 ธันวาคม 2553
• ความสัมพันธ์ระหว่างชาดและซูดานพัฒนาไปในทางที่ดีขึ้น โดย ปธน. ของทั้งสองประเทศได้เห็นพ้องที่จะยุติความขัดแย้งกัน และส่งเสริมให้ คสพ. ของทั้งสองประเทศเข้าสู่สภาพปกตินอกจากนี้ยังได้ประกาศแผนที่จะสร้างถนนเชื่อมระหว่างซูดานและชาดด้วยเช่นกัน
• IMF มีบทบาทในการประเมินเศรษฐกิจมหภาคและความสำเร็จทางด้านนโยบายของชาด
• ชาดจัดการเลือกตั้ง ปธน. ครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 10 เมษายน 2559 ผลปรากฏว่า นาย Idriss Déby ได้รับเลือกตั้งเป็นสมัยที่ 5 ทั้งนี้ เมื่อเดือนมกราคม 2559
นาย Idriss Déby ได้รับเลือกตั้งให้ดำรงตำแหน่งประธานสหภาพแอฟริกาต่อจากนาย Robert Mugabe ประธานาธิบดีซิมบับเว ด้วยเช่นกัน
|
ข้อมูลทั่วไป
|
พื้นที่
|
1,284,000 ตร.กม. (ไทย 513,120 ตร.กม.)
|
ประธานาธิบดี
|
นายไอดริสส์ เดบี (Mr. Idriss Déby)
|
เมืองหลวง
|
Ville de N'Djamena
|
นายกรัฐมนตรี
|
นายอัลแบร์ พาฮีมี ปาดักเก (Mr. Albert Pahimi Padacké)
|
ประชากร
|
15 ล้านคน (ไทย 69 ล้านคน)
(ข้อมูลจาก World Bank ปี 2560)
|
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
|
มาฮามัด เซเน เชริฟ (Mahamat Zene Cherif)
|
ภาษาราชการ
|
ฝรั่งเศส อาหรับ
|
วันชาติ
|
1 ธันวาคม
|
ศาสนา
|
คริสต์ ร้อยละ 20.1 (นิกายโรมันคาทอลิก) คริสต์ ร้อยละ 14.2 (นิกายโปรเตสแตนท์) อิสลาม ร้อยละ 53.1 อื่น ๆ ร้อยละ 12.6
|
วันสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับไทย
|
28 กันยายน 2533 (ค.ศ. 1990)
|
ข้อมูลเศรษฐกิจ
|
GDP
|
9.98 ล้าน USD (ไทย 455.22 ล้าน USD)
(ข้อมูลจาก World Bank ปี 2560)
|
สกุลเงิน
|
1 CFA franc = 0.056 บาท
|
GDP per Capita
|
669.9 USD (ไทย 6,593.8 USD)
(ข้อมูลจาก World Bank ปี 2560)
|
อัตราเงินเฟ้อ
|
ร้อยละ (ไทย ร้อยละ 0.7)
(ข้อมูลจาก World Bank ปี 2560)
|
GDP Growth
|
ร้อยละ -3.0 (ไทย ร้อยละ 3.9)
(ข้อมูลจาก World Bank ปี 2560)
|
|
|
ทรัพยากรสำคัญ
|
ปิโตรเลียม ยูเรเนียม แร่เกลือ ดินขาว ปลาน้ำจืด ทอง หินปูน ทรายและกรวด เกลือ
|
อุตสาหกรรมหลัก
|
น้ำมัน การทอฝ้าย การบรรจุเนื้อ กลั่นเบียร์ แร่เกลือ สบู่ บุหรี่ วัสดุก่อสร้าง
|
สินค้าส่งออกที่สำคัญ
|
ปิโตรเลียมดิบ ทอง ฝ้ายดิบ ยางเรซิน พืชน้ำมัน
|
ตลาดส่งออกที่สำคัญ
|
สหรัฐอเมริกา สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ อินเดีย จีน ฝรั่งเศส
|
สินค้านำเข้าที่สำคัญ
|
ยา รถยนต์ แป้งสาลี ผลิตภัณฑ์จากสังกะสี ผลิตภัณฑ์จากพลาสติก
|
ตลาดนำเข้าที่สำคัญ
|
ฝรั่งเศส จีน สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ อินเดีย เบลเยียม ลักเซมเบิร์ก
|
สถิติที่สำคัญไทย-สาธารณรัฐชาด
|
มูลค่าการค้า
|
6.11 ล้าน USD ไทยส่งออก 6.09 ล้าน USD นำเข้า .02 ล้าน USD จึงได้เปรียบดุลการค้า 6.07 ล้าน USD
(ข้อมูลจากกระทรวงพาณิชย์ ปี 2561)
|
สินค้าส่งออก
|
ข้าว รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ยานพาหนะอื่น ๆ และส่วนประกอบ กระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ ผลิตภัณฑ์ยาง
|
สินค้านำเข้า
|
น้ำมันดิบ ด้ายและเส้นใย เครื่องใช้เบ็ดเตล็ด สินค้าอุปโภคบริโภคอื่น ๆ สบู่ ผงซักฟอกและเครื่องสำอาง
|
การลงทุน
|
ไม่มีข้อมูล
|
การท่องเที่ยว
|
ปี 2560 มีนักท่องเที่ยวจากสาธารณรัฐชาดเดินทางมาประเทศไทยจำนวน 220 คน
|
คนไทยในสาธารณรัฐชาด
|
อยู่ระหว่างปรับปรุงข้อมูล
|
หน่วยงานไทยในสาธารณรัฐชาด
|
ไม่มี (สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงอาบูจา มีเขตอาณาครอบคลุมสาธารณรัฐชาด)
|
หน่วยงานของสาธารณรัฐชาดในไทย
|
อยู่ระหว่างปรับปรุงข้อมูล
|