พิธีส่งกองกําลังทหารช่างของไทย เข้าร่วมภารกิจรักษาสันติภาพ ณ สาธารณรัฐเซาท์ซูดาน

พิธีส่งกองกําลังทหารช่างของไทย เข้าร่วมภารกิจรักษาสันติภาพ ณ สาธารณรัฐเซาท์ซูดาน

วันที่นำเข้าข้อมูล 2 ม.ค. 2562

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 30 พ.ย. 2565

| 1,038 view

             เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2561 นางสาวมรกต ศรีสวัสดิ์ รองอธิบดีกรมองค์การระหว่างประเทศ  เป็นผู้แทนปลัดกระทรวงการต่างประเทศเข้าร่วมพิธีส่งกองกําลังทหารช่างของไทย จํานวน 261 ราย  ที่กําลังจะเดินทางไปปฏิบัติภารกิจรักษาสันติภาพ ณ สาธารณรัฐเซาท์ซูดาน (United Nations Mission in  South Sudan - UNMISS) ณ กองบัญชาการกองทัพไทย โดยมีพลเอก พรพิพัฒน์ เบญญศรี ผู้บัญชาการ ทหารสูงสุด เป็นประธาน และมีผู้แทนของผู้บัญชาการทุกเหล่าทัพเข้าร่วมพิธีด้วย 

             การส่งกองกําลังทหารช่างเข้าร่วมภารกิจดังกล่าว เป็นการดําเนินการตามคํามั่นที่พลเอกประยุทธ์  จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้ให้ไว้ในการประชุม Leaders’ Summit on Peacekeeping ที่นครนิวยอร์ก  เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2558 ว่าไทยพร้อมสนับสนุนทหารฝ่ายเสนาธิการ โรงพยาบาลสนามระดับ 2 และ กองกําลังทหารช่างในปฏิบัติการรักษาสันติภาพ และพลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้เน้นย้ําในการประชุม 2016 United Nations Peacekeeping  Defence Ministers (UNPKDM) เมื่อปี 2559 ที่กรุงลอนดอน 

             สหประชาชาติได้ทาบทามให้ไทยพิจารณาส่งกองกําลังทหารช่างเข้าร่วมในหน่วย Horizontal  Military Engineering Company (HMEC) ของภารกิจ UNMISS และเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2560  คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบการส่งกองกําลังทหารช่าง จํานวน 273 ราย เข้าร่วมในภารกิจดังกล่าว

             เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2561 กําลังพลส่วนล่วงหน้าจํานวน 12 ราย ได้เดินทางไปยังกรุงจูบา  สาธารณรัฐเซาท์ซูดาน และกําลังพลอีกจํานวน 261 ราย ได้เดินทางภายหลังเข้าร่วมพิธีดังกล่าวไปถึงกรุงจูบา ในวันที่ 23 ธันวาคม 2561 โดยมีภารกิจหลัก คือ การซ่อมแซมปรับปรุงถนนในสาธารณรัฐเซาท์ซูดาน  ที่ส่วนใหญ่เป็นถนนลูกรัง และการสร้างสิ่งสาธารณูปโภคในค่ายทหารของสหประชาชาติ

             นอกเหนือจากการดําเนินกภารกิจข้างต้น การส่งกองกําลังทหารช่างเข้าร่วมภารกิจ UNMISS  จะเป็นส่วนสําคัญในการส่งเสริมสันติภาพที่ยั่งยืนในสาธารณรัฐเซาท์ซูดาน โดยใช้การพัฒนาและยึดหลัก เศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เพื่อแก้ไขความขัดแย้งที่รากเหง้า และป้องกันไม่ให้ความขัดแย้งเกิดขึ้นซ้ํา ซึ่งตรงกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development  Goals) เป้าหมายที่ 16 (Peace, justice and strong institutions) 

รูปภาพประกอบ

รูปภาพประกอบ