การเยือนไทยอย่างเป็นทางการของคณะทํางานด้านสิทธิมนุษยชนกับบรรษัทข้ามชาติและองค์กรธุรกิจอื่น ๆ (UN Working Group on the Issues of Human Rights and Transnational Corporations and Other Business Enterprises – WG on BHR) ระหว่างวันที่ ๒๖ มี.ค. - ๔ เม.ย. ๒๕๖๑

การเยือนไทยอย่างเป็นทางการของคณะทํางานด้านสิทธิมนุษยชนกับบรรษัทข้ามชาติและองค์กรธุรกิจอื่น ๆ (UN Working Group on the Issues of Human Rights and Transnational Corporations and Other Business Enterprises – WG on BHR) ระหว่างวันที่ ๒๖ มี.ค. - ๔ เม.ย. ๒๕๖๑

วันที่นำเข้าข้อมูล 25 มี.ค. 2561

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 28 พ.ย. 2565

| 3,263 view
คณะทํางานด้านสิทธิมนุษยชนกับบรรษัทข้ามชาติและองค์กรธุรกิจอื่น ๆ ของสหประชาชาติ (United Nations Working Group on the Issues of Human Rights and Transnational Corporations and Other Business Enterprises) มีกําหนดการเยือนไทยอย่างเป็นทางการตามคําเชิญของรัฐบาลไทย ระหว่างวันที่ ๒๖ มีนาคม – ๔ เมษายน ๒๕๖๑ โดยคณะทํางานฯ จะมีโอกาสพบกับหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม ที่กรุงเทพฯ และต่างจังหวัด เพื่อรับข้อมูลและแลกเปลี่ยนมุมมองเกี่ยวกับประเด็นธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน รวมถึงการขับเคลื่อนหลักการชี้แนะว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ (UN Guiding Principles on Business and Human Rights - UNGP) ในไทยในภาพรวม 
 
การเชิญคณะทํางานฯ เยือนไทยแสดงถึงความจริงใจและความพร้อมของภาคส่วนต่าง ๆ ของไทยที่จะนําเสนอพัฒนาการ รับฟังความเห็นและข้อชี้แนะเพื่อประโยชน์ในการใช้ปรับปรุงการดําเนินงานด้านธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน โดยการเยือนครั้งนี้ถือเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันของทั้งสองฝ่าย ซึ่งไทยสามารถรับทราบข้อมูลและข้อคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ของคณะทำงานฯ ในขณะเดียวกัน ไทยก็สามารถเป็นตัวอย่างที่ดีให้แก่ประเทศอื่น ๆ ได้ ทั้งนี้ กระทรวงยุติธรรมอยู่ระหว่างการจัดทําแผนปฏิบัติการระดับชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน (National Action Plan on Business and Human Rights - NAP) ซึ่งไทยถือเป็นประเทศแรก ๆ ในเอเชีย และรัฐบาลได้ประกาศให้สิทธิมนุษยชนเป็นวาระแห่งชาติ โดยมีธุรกิจและสิทธิมนุษยชนเป็นประเด็นสําคัญประเด็นหนึ่งในวาระแห่งชาติ 
 
คณะทํางานฯ เป็นหนึ่งในกลไกภายใต้คณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (Human Rights Council - HRC) จัดตั้งขึ้นเมื่อเดือนมิถุนายน ๒๕๕๔ มีอาณัติหลักในการส่งเสริมการอนุวัติการตามหลักการชี้แนะเรื่องธุรกิจกับสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ (UN Guiding Principles on Business and Human Rights - UNGP) ผ่านการเผยแพร่แนวปฏิบัติที่ดี การส่งเสริมการหารือเพื่อพลักดันความร่วมมือระหว่างภาครัฐ เอกชน และประชาสังคม และการเดินทางเยือนประเทศสมาชิกสหประชาชาติอย่างเป็นทางการเมื่อได้รับคําเชิญ 
 

รูปภาพประกอบ

รูปภาพประกอบ