วันที่นำเข้าข้อมูล 7 ธ.ค. 2560
วันที่ปรับปรุงข้อมูล 30 พ.ย. 2565
เมื่อวันที่ ๕ – ๖ ธันวาคม ๒๕๖๐ คณะผู้แทนจากกรมความร่วมมือระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร องค์กรมหาชน (สสนก.) มูลนิธิอุทกพัฒน์ มูลนิธิโคคา โคล่า The United States Agency for International Development (USAID) และสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกา ประจำสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ได้ร่วมหารือกับหน่วยงานของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ที่นครหลวงเวียงจันทน์ เกี่ยวกับการดำเนินโครงการจัดการทรัพยากรน้ำ ตามแนวพระราชดำริแก้มลิง ณ เมืองสังทอง นครหลวงเวียงจันทน์
โครงการดังกล่าวเป็นโครงการไตรภาคีในรูปแบบ Multi-stakeholder Public – Private Partnership โครงการแรกของกรมความร่วมมือฯ ประกอบด้วยกิจกรรมหลัก ๓ ด้าน ได้แก่ (๑) การจัดสร้างระบบจัดการน้ำตามแนวพระราชดำริแก้มลิง (๒) การติดตั้งระบบตรวจวัดปริมาณน้ำ และ (๓) การส่งเสริมการเข้าถึงน้ำสะอาดสำหรับการบริโภค (แก้มลิง-plus)
โครงการจัดการทรัพยากรน้ำตามแนวพระราชดำริแก้มลิง เป็นที่รู้จักแพร่หลายและยอมรับอย่างกว้างขวางใน "Coca-Cola System" ว่า เป็นแบบอย่างที่ดีในการบริหารจัดการน้ำ ด้วยเหตุนี้ มูลนิธิโคคา โคล่า ได้ให้การสนับสนุนโครงการแก้มลิงหลายโครงการในประเทศไทย มีความประสงค์ที่จะนำโครงการดังกล่าวไปเผยแพร่ในต่างประเทศ โดยเมื่อเดือนมิถุนายน ๒๕๖๐ ประธานมูลนิธิโคคา โคล่า ได้เดินทางมาเยี่ยมชมโครงการแก้มลิงและชุนชุนเศรษฐกิจพอเพียงบึงชำอ้อ จังหวัดปทุมธานี และได้แสดงความชื่มชมโครงการจัดการน้ำตามแนวพระราชดำริแก้มลิงอย่างมาก รวมทั้งวิถีชุมชนแบบเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งตั้งอยู่โดยรอบโครงการ
ในการหารือครั้งนี้ ฝ่ายลาวได้แสดงความชื่นชมและซาบซึ้งต่อแนวพระราชดำริฯ และขอบคุณประเทศไทยที่ยินดีแบ่งปันประสบการณ์ในการบริหารจัดการน้ำของไทย ด้านมูลนิธิโคคา โคล่าได้ย้ำว่า การบริหารจัดการน้ำตามระบบแก้มลิงเป็นแบบอย่างที่ดีที่โคคา โคล่าต้องการนำไปส่งเสริมและเผยแพร่ในต่างประเทศ โดยฝ่ายสหรัฐฯ ยินดีร่วมให้การสนับสนุนโครงการดังกล่าว ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของ USAID ในการส่งเสริมการเข้าถึงน้ำสะอาดและสุขอนามัย
รูปภาพประกอบ
วันทำการ : จันทร์ - ศุกร์ เวลา 08.30 - 16.30 น.
(ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์)
งานรับ-ส่งหนังสือ และงานสารบรรณ:
อีเมล [email protected]
เว็บไซต์นี้ได้รับการออกแบบเพื่ออำนวยความสะดวกให้ทุกคนเข้าถึงเว็บไซต์ได้และมีมาตรฐาน WCAG 2.0 ระดับ AA
** เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุดควรใช้ Chrome เวอร์ชั่น 76 ขึ้นไป **