ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ กิตติชัยเสรี ผู้สมัครของประเทศไทย ได้รับเลือกตั้งเป็นผู้พิพากษาศาลกฎหมายทะเลระหว่างประเทศ

ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ กิตติชัยเสรี ผู้สมัครของประเทศไทย ได้รับเลือกตั้งเป็นผู้พิพากษาศาลกฎหมายทะเลระหว่างประเทศ

วันที่นำเข้าข้อมูล 15 มิ.ย. 2560

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 30 พ.ย. 2565

| 7,327 view

          เมื่อวันที่ ๑๔ มิถุนายน ๒๕๖๐ ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ กิตติชัยเสรี เอกอัครราชทูตไทยประจำาสหพันธรัฐรัสเซีย ในฐานะผู้สมัครของประเทศไทย ได้รับเลือกตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาศาลกฎหมายทะเลระหว่างประเทศ (International Tribunal for the Law of the Sea: ITLOS) วาระระหว่าง ๑ ตุลาคม ๒๕๖๐- ๓๐ กันยายน ๒๕๖๙ (ค.ศ. ๒๐๑๗-๒๐๒๖) จากรัฐภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. ๑๙๘๒ (United Nations Convention on the Law of the Sea – UNCLOS 1982) ในการประชุมสมัยที่ ๒๗ ณ สานักงานใหญ่สหประชาชาติ นครนิวยอร์ก

          ศาลกฎหมายทะเลระหว่างประเทศเป็นกลไกตุลาการอิสระของสหประชาชาติ มีอานาจตัดสินข้อพิพาทที่เกี่ยวข้องกับอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. ๑๙๘๒ ประกอบด้วยผู้พิพากษาจากประเทศต่าง ๆ ทั้งหมด ๒๑ คน การเลือกตั้งตำแหน่งผู้พิพากษาศาลกฎหมายทะเลระหว่างประเทศ วาระปี ๒๕๖๑-๒๕๖๙ มีตำแหน่งว่างทั้งหมด ๗ ตำแหน่ง เป็นตำแหน่งของกลุ่มประเทศเอเชีย-แปซิฟิก ๒ ตำแหน่ง และมีผู้สมัครของกลุ่มนี้จาก ๔ ประเทศ ได้แก่ ไทย อินโดนีเซีย อินเดีย และเลบานอน โดยอินเดียได้รับการเลือกตั้งในรอบแรกด้วยคะแนนเสียง ๑๒๐ คะแนน และ ไทยได้รับเลือกตั้งในรอบที่สองด้วยคะแนนเสียง ๑๑๐ คะแนน ผู้สมัครจากภูมิภาคต่าง ๆ ที่ได้รับเลือกตั้ง ๗ ตำแหน่ง (๑) ภูมิภาคแอฟริกา (๒ ตาแหน่ง) ได้แก่ แอลจีเรีย และการ์บูเวร์ดี (๒) ภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (๒ ตาแหน่ง) ได้แก่ ไทยและอินเดีย (๓) ภูมิภาคยุโรปตะวันออก (๑ ตำแหน่ง) ได้แก่ รัสเซีย (๔) ภูมิภาคลาตินอเมริกา (๑ ตำแหน่ง) ได้แก่ ปารากวัย (๕) ภูมิภาคยุโรปตะวันตกและอื่น ๆ (๑ ตำแหน่ง) ได้แก่ เนเธอร์แลนด์

          การเข้ารับตำแหน่งผู้พิพากษาศาลกฎหมายทะเลระหว่างประเทศของ ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ฯ เป็นก้าวสาคัญของการยกระดับบทบาทไทยในเวทีระหว่างประเทศ ตามยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี (๒๕๖๐ –๒๕๗๙) โดยเฉพาะในด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน และด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพของบุคลากร โดยเป็นครั้งแรกที่ไทยมีผู้ดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาในกลไกตุลาการของสหประชาชาติ และเป็นคนแรกจากภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และโอเชียเนียที่ได้ดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาศาลกฎหมายทะเลระหว่างประเทศ การมีคนไทยดำรงตำแหน่งสาคัญในกลไกตุลาการระดับโลก แสดงให้เห็นว่า ไทยให้ความสาคัญเรื่องการส่งเสริมหลักนิติธรรมด้านกฎหมายทะเลระหว่างประเทศ และสอดคล้องกับแนวโน้มของประชาคมระหว่างประเทศที่ให้ความสาคัญกับประเด็นทางทะเลมากขึ้น อาทิ การกำหนดอาณาเขตทางทะเล การทำประมงอย่างยั่งยืน สิ่งแวดล้อมทางทะเล พาณิชย์นาวี การอนุรักษ์และการใช้ความหลากหลายทางชีวภาพทางทะเลนอกเขตพื้นที่ที่รัฐมีอานาจอย่างยั่งยืน การทำเหมืองแร่ในทะเลลึก และมรดกร่วมกันของมนุษยชาติ รวมทั้งการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรทางทะเล อย่างยั่งยืนตามเป้าหมายที่ ๑๔ ของเป้าหมายแห่งการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ (Sustainable Development Goals: SDGs) นอกจากนี้ การมีคนไทยดำรงตาแหน่งในกลไกระหว่างประเทศจะเป็นประโยชน์ในการสั่งสมและถ่ายทอด องค์ความรู้ ประสบการณ์เพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากรไทยในเวทีระหว่างประเทศต่อไปด้วย

          ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ฯ ปัจจุบัน ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตไทยประจาสหพันธรัฐรัสเซีย รวมทั้ง อาร์เมเนีย เบลารุส มอลโดวา และอุซเบกิสถาน เคยดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตไทยประจำเครือรัฐออสเตรเลีย อธิบดีกรมองค์การระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ และเคยเป็นสมาชิกคณะกรรมาธิการกฎหมายระหว่างประเทศของสหประชาชาติ (International Law Commission : ILC) ระหว่าง ปี ๒๕๕๕-๒๕๕๙ (ค.ศ. ๒๐๑๒-๒๐๑๖) ด้วย

รูปภาพประกอบ

รูปภาพประกอบ