รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้พบหารือกับ นาย Ross Deval, Chief Research Officer แห่งสถาบัน Milken Institute ซึ่งเป็น Think Tank ชั้นนำของสหรัฐฯ

รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้พบหารือกับ นาย Ross Deval, Chief Research Officer แห่งสถาบัน Milken Institute ซึ่งเป็น Think Tank ชั้นนำของสหรัฐฯ

วันที่นำเข้าข้อมูล 7 พ.ย. 2559

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 21 ก.ย. 2565

| 805 view
        เมื่อวันที่ ๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๙ นายสุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้พบหารือกับ นาย Ross Deval, Chief Research Officer แห่งสถาบัน Milken Institute ซึ่งเป็น Think Tank ชั้นนำของสหรัฐฯ และคณะผู้บริหารของสถาบันฯ โดยมีนายพิศาล มาณวพัฒน์ เอกอัครราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน นายธานี แสงรัตน์ กงสุลใหญ่ ณ นครลอสแอนเจลิส และผู้แทนจากภาคเอกชนของสหรัฐฯ ประกอบด้วย World Trade Center Los Angeles, NASA – Jet Propulsion Laboratory, Zodiac Aerospace, Oracle และ AT&T 
        รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ได้เสนอนโยบาย “ประเทศไทย ๔.๐” ซึ่งให้ความสำคัญกับการพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมเบาไปสู่สังคมเทคโนโลยีชั้นสูง โดยจะเน้นดึงดูดการลงทุนของชาวต่างชาติ และการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีของสหรัฐฯ กับเทคโนโลยีในด้านต่าง ๆ ของประเทศไทย ประกอบด้วยภาคเศรษฐกิจ ๕ ด้าน คือ (๑) เทคโนโลยีชีวภาพ – อุตสาหกรรมอาหารและการเกษตร  (Bio – Tech) (๒) เทคโนโลยีทางการแพทย์ – การบริการสุขภาพ การอยู่ดีกินดีและการแพทย์ชีวภาพ (Bio – Med) (๓) เครื่องกลที่ใช้ระบบเทคโนโลยีควบคุม (Mechatronics) – เครื่องมืออัจฉริยะ (Smart Devices) และหุ่นยนต์ (๔) เทคโนโลยีสมองกลฝังตัว (Embedded Technology) - กลุ่มดิจิตอล เทคโนโลยีที่เชื่อมต่อและบังคับอุปกรณ์ต่างๆ (Artificial Intelligence) และ (๕) เทคโนโลยีการบริการออกแบบ (Service Design) หรือ การบริการด้วยเทคโนโลยี (Technology Services) –  บริการที่มีมูลค่าสูง (High Value Services)
          สถาบัน Milken Institute และผู้เข้าร่วมหารือภาคเอกชนได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางความร่วมมือโดยมีประเด็นสำคัญ คือ (๑) ประเทศไทยสามารถใช้จุดเด่นและจุดแข็งของประเทศดึงให้นักลงทุนชาวต่างชาติ เข้ามาลงทุนเพื่อก่อให้เกิดธุรกิจเงินร่วมลงทุน (Venture Capital) (๒) การเรียนรู้รูปแบบของ Silicon Valley เพื่อพัฒนาธุรกิจ start up ของไทยตามนโยบายประเทศไทย ๔.๐ (๓) การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้านการวิจัยโดยเชิญชวนบุคลากรผู้เชี่ยวชาญจากสถาบัน Milken Institute ที่มีชื่อเสียงมาจัดการสัมมนาวิชาการระดับนานาชาติเพื่อสร้างแรงบันดาลใจและโอกาสในการพัฒนาให้กับ young entrepreneur ของไทย (๔) การดึงบุคลากรที่จบการศึกษาจากสถาบันของสหรัฐฯ และทำงานในหน่วยงานระดับประเทศของสหรัฐฯ ให้กลับมาทำงานที่ประเทศไทย เช่นเดียว กับนโยบายของรัฐบาลญี่ปุ่น และ (๕) เอกอัครราชทูตฯ ได้เสนอให้สถานกงสุลใหญ่ และสถาบัน Milken Institute หารือเกี่ยวกับการเตรียมการนำเสนอแนวทางการดำเนินนโยบายประเทศไทย ๔.๐ เพื่อนำไปเสนอต่อรัฐบาลในโอกาสแรก   
 

รูปภาพประกอบ

รูปภาพประกอบ