กงสุลใหญ่ ณ นครกว่างโจวเดินทางสำรวจศักยภาพทางเศรษฐกิจกับท่าเรือจูไห่ มณฑลกวางตุ้ง

กงสุลใหญ่ ณ นครกว่างโจวเดินทางสำรวจศักยภาพทางเศรษฐกิจกับท่าเรือจูไห่ มณฑลกวางตุ้ง

วันที่นำเข้าข้อมูล 16 มี.ค. 2559

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 5 พ.ย. 2562

| 594 view
            เมื่อวันที่ ๔ มีนาคม ๒๕๕๙ นายวศิน เรืองประทีปแสง กงสุลใหญ่ ณ นครกว่างโจว พร้อมด้วยข้าราชการและเจ้าหน้าที่ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในจีน ประจำนครกว่างโจว ได้เดินทางไปสำรวจศักยภาพทางเศรษฐกิจและส่งเสริมความร่วมมือกับท่าเรือจูไห่ มณฑลกวางตุ้ง กงสุลใหญ่ฯ ได้ไปเยี่ยมชมและพบหารือกับนายโอว ฮุยเซิง ประธานกรรมการของกลุ่มท่าเรือจูไห่ และคณะ โดยทั้งสองฝ่ายได้หารือเกี่ยวกับโอกาสการขยายความร่วมมือด้านเศรษฐกิจและการค้าระหว่างไทยกับมณฑลกวางตุ้งตามแนวความคิด One Belt, One Road ช่วงบ่ายได้เข้าเยี่ยมชมการดำเนินงานของท่าเรือเกาหลาน ในการนี้นายโอวฯ ได้เป็นเจ้าภาพเลี้ยงอาหารกลางวันเพื่อเป็นเกียรติแก่คณะ โดยกงสุลใหญ่ฯ ได้มอบของที่ระลึกแก่นายโอวฯ ในโอกาสดังกล่าวด้วย 
 
            ท่าเรือปิโตรเคมีจูไห่เป็นท่าเรือน้ำลึกในเขตปากแม่น้ำไข่มุกตะวันออก ใช้ขนส่งน้ำมัน ปิโตรเคมี ปิโตรเลียมเหลว ก๊าซธรรมชาติ ถ่านหินและเครื่องใช้ไฟฟ้า บริหารจัดการโดยบริษัท Zhuhai Port Holdings Group Co.,Ltd (ZPH) มีท่าเทียบเรือทั้งหมด ๗ ท่า ประกอบด้วย  ท่าเรือเกาหลาน (Gaolan Port) ท่าเรือว่านซาน (Wanshan Port) ท่าเรือเซียงโจว (Xiangzhou Port) ท่าเรือจิ่งอั้น (Jingan Port) ท่าเรือหงวาน (Hongwan Port) ท่าเรือถังเจีย(Tangjia Port) และท่าเรือจิ่วโจว (Jiuzhou Port) ท่าเรือจูไห่มีความได้เปรียบทางด้านทำเลที่ตั้ง โดยเชื่อมต่อกับโครงข่ายเชื่อมโยงฝั่งทะเลตะวันออกกับตะวันตก (East-West Coastal Land Bridge) กับแนวคิดรูปแบบการขนส่งที่เรียกว่า Sea to Land มีเส้นทางคมนาคมขนส่งภายในประเทศที่หลากหลาย อาทิ เส้นทางขนส่งสินค้าทางน้ำผ่านแม่น้ำซีเจียงเส้นทางรถไฟ ทางถนน และสะพานฮ่องกง-จูไห่-มาเก๊า (Hong Kong-Zhuhai-Macao Bridge) ที่จะเริ่มเปิดใช้ในปี ๒๕๖๐ทั้งนี้ท่าเรือจูไห่ยังมีอุตสาหกรรมต่อเรือขนส่งสินค้า ปัจจุบันเสร็จสิ้นไปแล้ว จำนวน ๒ ลำ และอยู่ในระหว่างดำเนินการอีก ๘ ลำ ท่าเรือเกาหลานเป็นท่าเรือขนส่งปิโตรเคมีที่ใหญ่ที่สุดในกลุ่มท่าเรือจูไห่ ความยาวหน้าท่า ๖๙.๙กม. พื้นที่ใช้สอย ๓๘๐ ตร.กม. เป็นท่าเรือที่ใช้ขนส่งระหว่างประเทศผ่านทางทะเล และขนส่งภายในประเทศผ่านแม่น้ำซีเจียง ซึ่งเป็นสาขาของแม่น้ำจูเจียงที่เชื่อมต่อระหว่างมณฑลกวางตุ้งกับเขตปกครองตนเองกวางสีจ้วง สินค้าส่วนใหญ่นำเข้าจากประเทศอินโดนีเซีย ออสเตรเลีย เวียดนาม และโคลัมเบีย ในปี ๒๕๕๘ 
 
            ท่าเรือเกาหลานมีปริมาณจำนวนการขนส่ง ๑.๑๒ ล้านตัน ภายใต้แนวความคิด One Belt, One Road และความได้เปรียบทางภูมิศาสตร์ของไทยในการเป็น Gateway ระหว่างอาเซียนกับจีนผู้บริหารระดับสูงของท่าเรือจูไห่ นำโดยนาย โอว ฮุยเซิง ประธานกรรมการของกลุ่มท่าเรือจูไห่มีแผนที่จะเดินทางไปเยี่ยมชมการดำเนินงานของท่าเรือแหลมฉบัง
จ.ชลบุรี ระหว่างวันที่ ๑๖-๑๘ มีนาคม ๒๕๕๙ 

รูปภาพประกอบ

รูปภาพประกอบ