ปลัดกระทรวงการต่างประเทศนำเสนอผลจากเวทีหารือด้านการพัฒนาที่ยั่งยืน แห่งเอเชีย-แปซิฟิกต่อที่ประชุมเตรียมการระดับภูมิภาคที่เกี่ยวข้องแก่การประชุมประจำปีระดับรัฐมนตรี ณ สำนักงานใหญ่สหประชาชาติ นครนิวยอร์ก

ปลัดกระทรวงการต่างประเทศนำเสนอผลจากเวทีหารือด้านการพัฒนาที่ยั่งยืน แห่งเอเชีย-แปซิฟิกต่อที่ประชุมเตรียมการระดับภูมิภาคที่เกี่ยวข้องแก่การประชุมประจำปีระดับรัฐมนตรี ณ สำนักงานใหญ่สหประชาชาติ นครนิวยอร์ก

วันที่นำเข้าข้อมูล 9 ก.ค. 2557

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 30 พ.ย. 2565

| 2,298 view

ปลัดกระทรวงการต่างประเทศนำเสนอผลจากเวทีหารือด้านการพัฒนาที่ยั่งยืนแห่งเอเชีย-แปซิฟิกต่อที่ประชุมเตรียมการระดับภูมิภาคที่เกี่ยวข้องแก่การประชุมประจำปีระดับรัฐมนตรี ณ สำนักงานใหญ่สหประชาชาติ นครนิวยอร์ก

นายสีหศักดิ์ พวงเกตุแก้ว ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ปฏิบัติราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้เป็นผู้เสนอผลของการประชุมเวทีหารือด้านการพัฒนาที่ยั่งยืนแห่งเอเชีย-แปซิฟิก (Asia-Pacific Forum on Sustainable Development- APFSD) โดยถือเป็นการนำเสนอผลการประชุมเตรียมการระดับภูมิภาคที่เกี่ยวข้องแก่การประชุมประจำปีระดับรัฐมนตรี (Annual Ministerial Review- AMR) ซึ่งจะทบทวนประเด็นด้านการพัฒนาซึ่งเกิดขึ้นในช่วงการประชุมระดับสูงของคณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติ ปี ๒๕๕๗ ที่สำนักงานใหญ่สหประชาชาติ ณ นครนิวยอร์ก เมื่อวันที่ ๘ กรกฎาคม ๒๕๕๗

ปลัดกระทรวงการต่างประเทศได้กล่าวว่าการประชุม APFSD ซึ่งประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมเมื่อวันที่ ๑๙-๒๑ พฤษภาคม ๒๕๕๗ เป็นเวทีสำหรับประเทศในภูมิภาคเอเชีย – แปซิฟิกเพื่อหารือและกำหนดประเด็นสำคัญด้านการพัฒนาที่ยั่งยืน เวทีหารือดังกล่าวเน้นให้ความสำคัญกับสาขาการพัฒนาที่มีความจำเป็นเร่งด่วนของภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ได้แก่ การขจัดความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำ การส่งเสริมความเท่าเทียมกันทางเพศและการส่งเสริมบทบาทสตรี การจัดการด้านพลวัตรประชากรและการพัฒนาสู่สังคมเมือง การใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพและการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

นอกจากนี้ ปลัดกระทรวงการต่างประเทศได้นำเสนอผลการหารือของการประชุมเตรียมการภูมิภาค เพื่อเป็นข้อเสนอแนะในสำหรับการประชุมประจำปีระดับรัฐมนตรีปี ๒๐๑๔  ดังนี้

๑. ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกมีความคืบหน้าอย่างมากในการดำเนินการเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ (MDGs) โดยเฉพาะในเรื่องการลดสัดส่วนของจำนวนคนยากจน อย่างไรก็ดี ความคืบหน้าการบรรลุเป้าหมายของแต่ละประเทศและระหว่างประชาชนภายในประเทศยังมีความเหลื่อมล้ำ

๒. การแก้ไขปัญหาความไม่เท่าเทียมกันในภูมิภาคไม่สามารถแก้ไขได้โดยกลไกการตลาดแต่เพียงลำพัง  แต่ต้องอาศัยกลไกการส่งเสริมสิทธิมนุษยชน การส่งเสริมหลักนิติธรรม การพัฒนาสถาบันให้มีความรับผิดชอบและเข้าถึงได้ และการคุ้มครองทางสังคม ด้วยการบริหารจัดการระดับรัฐบาล

๓. การเข้าถึงบริการสาธารณสุขและการศึกษาที่มีคุณภาพมีความสำคัญสำหรับภูมิภาคนี้

๔. การลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติเป็นสิ่งท้าทายร่วมกันที่สำคัญอย่างยิ่งของภูมิภาค และควรได้รับบรรจุอยู่ในวาระการพัฒนาภายหลังปี ค.ศ. ๒๐๑๕

๕. ประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกกำลังประสบประเด็นท้ายต่างๆ อาทิ การว่างงานของคนรุ่นใหม่ การพัฒนาสู่สังคมเมืองอย่างรวดเร็ว และการเข้าถึงแหล่งน้ำสะอาดและสุขอนามัยพื้นฐาน

๖. การขับเคลื่อนเพื่อการบรรลุ MDGs ต้องอาศัยปัจจัยสำคัญต่างๆ  ได้แก่ ความชัดเจนด้านนโยบาย การบริหารจัดการประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ การเสริมสร้างความเข้มแข็งของประชาชน เสถียรภาพทางการเมืองและการลดความขัดแย้ง รวมทั้งนโยบายที่บูรณาการ

๗. ความร่วมมือทางการพัฒนาเป็นสิ่งสำคัญ และควรข้ามก้าวผ่านความช่วยเหลือด้านการพัฒนาอย่างเป็นทางการ (Official Development Assisstant)

๘. ความร่วมมือและการรวมตัวกันทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเป็นสิ่งสำคัญ โดยต้องให้ความสำคัญกับประเทศที่พัฒนาน้อยที่สุด และประเทศกำลังพัฒนาที่ไม่มีทางออกทะเล ซึ่งถือเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของความร่วมมือระหว่างประเทศกำลังพัฒนาเพื่อนำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน การมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันของภาคเอกชนเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนมีความจำเป็น และรูปแบบของการบริโภคและโครงสร้างการผลิตในสังคมที่เปลี่ยนแปลงเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาที่ยั่งยืน

 

รูปภาพประกอบ

รูปภาพประกอบ