ผู้นำประเทศภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ยืนยันความร่วมมือและความรับผิดชอบร่วมกันของทุกภาคส่วนเพื่อการบริหารจัดการน้ำอย่างเป็นระบบและบูรณาการ

ผู้นำประเทศภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ยืนยันความร่วมมือและความรับผิดชอบร่วมกันของทุกภาคส่วนเพื่อการบริหารจัดการน้ำอย่างเป็นระบบและบูรณาการ

วันที่นำเข้าข้อมูล 20 พ.ค. 2556

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 26 พ.ย. 2565

| 3,444 view

ผู้นำประเทศภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก เข้าร่วมการประชุม Asia – Pacific Water Summit ครั้งที่ ๒ แสดงวิสัยทัศน์และประสบการณ์การบริหารจัดการน้ำที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อความมั่นคงและการดำรงอยู่ของมนุษย์ทุกชาติและทุกเผ่าพันธ์ โดยผู้นำที่เข้าร่วมประชุมฯ ต่างเห็นพ้องกับนายกรัฐมนตรีถึงความสำคัญของน้ำที่เปรียบเหมือนชีวิต และทุกประเทศ ทุกภาคส่วน ต้องร่วมรับผิดชอบและร่วมมือกันอย่างแข็งขัน เพื่อการบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นระบบ มีการลงทุนเพื่อการบริหารจัดการน้ำ และการพัฒนาเทคโนโลยีให้สอดคล้องต่อความจำเป็นและความสำคัญเร่งด่วน เพื่อป้องกันและเตรียมพร้อมรับมือกับภัยภิบัติที่อาจเกิดขึ้น จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยผู้นำต่างแสดงความมุ่งมั่นและความร่วมมือในการบริหารจัดการน้ำร่วมกัน สรุปดังนี้

สมเด็จพระราชาธิบดีแห่งบรูไน ย้ำถึงปัญหาสิ่งท้าทายต่างๆของโลก ปัญหาจำนวนประชากรที่เพิ่มสูงขึ้น แต่ขาดการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ เช่น น้ำ ให้เกิดประสิทธิภาพและสอดคล้องกับปริมาณการอุปโภคและบริโภคของประชากร ดังนั้น ทุกภาคส่วนต้องให้ความสำคัญ และร่วมมือกันทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลก รวมถึงการสร้างหลักประกันในการเข้าถึงทรัพยากรน้ำอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมเพื่อความมั่นคงอย่างยั่งยืน ความพยายามร่วมกันทั้งจากภาครัฐบาล ประชาชน ความร่วมมือระดับภูมิภาค และโลกจะต้องบูรณาการให้เกิดแนวทางร่วมกัน เพื่อเตรียมพร้อมและแก้ปัญหาภัยพิบัติต่างๆ รวมทั้ง การบริหารจัดการเพื่อประโยชน์ทั้งในมิติ น้ำเพื่อสาธารณสุข สุขาภิบาล เกษตรกรรม เป็นต้น ทั้งในมิติระยะสั้นและระยะยาว นอกจากนี้ จะต้องมีการจัดลำดับความสำคัญ และเร่งรัดการดำเนินการเพื่อให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม รวมทั้ง สร้างความตระหนักรู้ และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ส่งผลร้ายต่อการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของประชากร และความรับผิดชอบร่วมกัน

ประธานาธิบดีฟิจิ ให้ความสำคัญว่า น้ำเป็นปัจจัยพื้นฐาน โดยเฉพาะประเทศที่เป็นเกาะ และประสบปัญหาน้ำแล้งทุกปี จากสภาพการเปลี่ยนอากาศ ประชากรเพียงร้อยละ ๖๐ ที่สามารถเข้าถึงน้ำสะอาด น้ำเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญต่อภาคเกษครและอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอุตสาหกรรมน้ำตาล ซึ่งเป็นสินค้าส่งออกและแหล่งรายได้ที่สำคัญของประเทศ รัฐบาลได้มีการออก พ.ร.บ.บริหารจัดการน้ำ เพื่อคุ้มครองการใช้น้ำ รัฐบาลมีเป้าหมายสำคัญที่จะให้ประชากร สามารถเข้าถึงน้ำที่มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น รวมทั้ง การศึกษาพืชสลายความเค็ม

นายกรัฐมนตรีบังคลาเทศ กล่าวย้ำถึงความมั่นคงของมนุษย์ทั้งด้านอาหาร พลังงาน รวมทั้งความมั่นคงทางการเมือง ที่เชื่อมโยงกับน้ำโดยตรง ปัญหาการเข้าถึงน้ำอย่างไม่ทั่วถึงและเท่าเทียม เป็นปัญหาที่ต้องเร่งแก้ไขและรับผิดชอบ รวมทั้งปัญหาการขยายตัวของเมืองใหญ่และจำนวนประชากรที่ขาดการวางแผนและดูแลเพื่อบริหารจัดการและมีน้ำใช้อย่างทั่วถึง นำมาซึ่งปัญหาต่างๆมากมาย โดยปัญหาการบริหารจัดการน้ำมีประเด็นสำคัญ เช่น  ต้องมีการวางแผนในระดับชาติ การให้ความสำคัญกับสิทธิบัตร เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับน้ำ การบริหารจัดการเชิงวัฒนธรรมเพื่อการใช้น้ำอย่างเหมาะสม การสร้างความตระหนักถึงคุณค่าของน้ำ เพื่อความมั่นคงในทุกมิติ  และปัญหาของประชากรที่อาศัยอยู่ตามลุ่มน้ำ ที่ต้องเผชิญกับปัญหาที่เกี่ยวกับน้ำ ต้องมีการติดตามและวางแผนดูแล ทั้งนี้ ทั้งหมดทั้งปวง การบริหารจัดการน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ ต้องมีการแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ และมีเครือข่ายการทำงานร่วมกันในระดับต่างๆ จนถึงในมิติของสหประชาชาติ เพราะน้ำคือชีวิตและมีค่าสำหรับมนุษย์ทุกหมู่เหล่า

นายกรัฐมนตรีสาธารณรัฐเกาหลีี ย้ำถึงความท้าทายต่างๆของโลกในปัจจุบันที่เผชิญร่วมกันอยู่ในขณะนี้ ซึ่งน้ำคือปัจจัยและตัวแปรสำคัญ อีกทั้ง ต้องยอมรับว่าการบริหารจัดการน้ำมีความสลับซับซ้อนและยุ่งยากยิ่งขึ้น เพราะประชากรและเมืองมีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว  ดังน้ำ ปัญหาเรืองน้ำ ทั่วโลกทุกประเทศต้องร่วมมือกัน เพื่อสร้างหลักประกันว่า ทุกประเทศ ทุกภาคส่วนเห็นพ้องและตระหนักว่าน้ำคือเรื่องที่สำคัญที่สุด  การเตรียมพร้อมและรับมือกับภัยพิบัติอย่างเป็นบูรณาการ  การสร้างความเท่าเทียมและการใช้ประโยชน์จากน้ำอย่างเท่าเทียมและทั่วถึง  รวมทั้งมีการจัดสรรงบประมาณอย่างเพียงพอเพื่อการบริหารจัดการน้ำ ทั้งนี้ การเปลี่ยนแปลงต่างๆนั้น อยู่ในมือและความรับผิดชอบของทุกประเทศและทุกภาคส่วน  จึงต้องมาร่วมบูรณาการความมุ่งมั่น ระดมสรรพกำลัง การแลกเปลี่ยนความรู้ เทคโนโลยี ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์เพื่อความมั่นคงด้านน้ำร่วมกัน

นายกรัฐมนตรีสปป.ลาว ให้ความสำคัญกับประสบการณ์ภัยพิบัติที่เกิดขึ้น ซึ่งนำมาซึ่งการตระหนักว่า ต้องร่วมมืออย่างใกล้ชิดและสนับสนุนกันเพื่อแก้ปัญหาและรับมือกับภัยพิบัติต่างๆ ทั้งน้ำท่วม น้ำแล้ง หรือพายุต่างๆ ซึ่งสร้างความเสียต่อประชาชน ประเทศ การพัฒนา ความร่วมมือจากองค์กรและประเทศต่างๆ ถือเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อคงไว้ซึ่งการเติบโตร่วมกัน และการพัฒนาอย่างยั่งยืน

นายกรัฐมนตรีนีอูเอ กล่าวว่าการบริหารจัดการน้ำ ภาวะโลกร้อน การพัฒนาอย่างยั่งยืนล้วนแต่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกัน ขอชื่นชมประเทศไทยหลังปัญหาอุทกภัยครั้งร้ายแรงได้มีการดำเนินการอย่างแข็งขันในการวางแผนและพัฒนาระบบการบริหารจัดการน้ำ เพื่อไม่ให้เกิดประสบปัญาอุทกภัยเหมือนที่ผ่านมา และพร้อมที่จะขอเรียนรู้ประสบการณ์จากประเทศไทย  ปัจจุบันปัญหาน้ำ มีความหลากหลายมิติ ทั้งน้ำทะลสูงขึ้น น้ำเป็นแหล่งอาหารที่สำคัญของโลก รัฐบาลได้ให้ความสำคัญ ๒ แนวทาง คือ การกำหนดยุทธศาสตร์ และแผนการบริหารจัดการน้ำ ครอบคลุมทั้งงบประมาณ และนโยบาย และการสร้างการบรูณาการของหน่วยานที่เกี่ยวข้อง

นายกรัฐมนตรีสาธารณรัฐวานูอาตู กล่าวถึงความสำคัญของน้ำต่อมนุษยชาติทั้งในระบบนิเวศน์และการพัฒนาเศรษฐกิจ ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือทั้งในระดับภูมิภาคและในเวทีระหว่างประเทศในแนวทางการจัดสรรน้ำที่สะอาดและเพียงพอให้แก่ประชากรทั้งโลก และในส่วนของวานูอาตู ประเทศในหมู่เกาะแปซิฟิกต้องเผชิญกับความท้าทายจากภัยพิบัติต่างๆ ทั้ง พายุ น้ำท่วม และภูเขาไฟระเบิดที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อการขาดแคลนน้ำอยู่เสมอ จึงมีความเชื่อว่าทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ ประชาชนและภาคเอกชนต้องร่วมมือกันและเรียนรู้แลกเปลี่ยนประสบการณ์จากประเทศต่างๆ เพื่อบรรลุแนวทางการจัดการน้ำอย่างยั่งยืนร่วมกัน

นาย Vuk Jeremic ประธานสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ สมัยที่ ๖๗ กล่าวถึงการให้ความสำคัญกับความมั่นคงทางน้ำของโลก โดยชื่นชมพระอัจฉริยภาพและความอุตสาหะของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในการพัฒนาระบบชลประทานและการจัดการอย่างมีประสิทธิภาพให้แก่ประชาชนชาวไทย และได้เน้นย้ำให้ทุกประเทศผลักดันนโยบายของตนมุ่งสู่เป้าหมายของสหประชาชาติ ในการบรรลุการพัฒนาสหัสวรรษ หรือ Millennium Development Goal ทั้งนี้ ยังได้ชื่นชมการจัดการน้ำของรัฐบาลไทย เมื่อเหตุการณ์อุทกภัยใหญ่ปี ๒๕๕๔ ที่ผ่านมาด้วย

รูปภาพประกอบ

รูปภาพประกอบ