วันที่นำเข้าข้อมูล 18 ก.พ. 2556
วันที่ปรับปรุงข้อมูล 30 พ.ย. 2565
เมื่อวันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖ กรมองค์การระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ จัดการเสวนา Green Diplomacy Lecture Series ภายใต้หัวข้อ “กระแสโลก(ร้อน)...เรื่อง HOT HOT ที่คนไทยต้องรู้” โดยมีผู้เข้าร่วมฟังการเสวนากว่า ๑๐๐ คนจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคประชาสังคม ภาคการศึกษาและบุคคลทั่วไป
ในการเสวนาครั้งนี้ แบ่งออกเป็น ๒ ช่วงช่วงแรกเป็นการบรรยายและการแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นจากวิทยากรด้านสิ่งแวดล้อมในสาขาอาชีพที่แตกต่างกัน ประกอบด้วย รศ.ดร. ทวิดา กมลเวชช อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และนักจัดการภัยพิบัติ นายชัยรัตน์ ถมยา บรรณาธิการข่าวต่างประเทศและผู้ดำเนินรายการ”ทันโลกกับชัยรัตน์” ถมยา และ ดร.บัณฑูร เศรษฐศิโรตม์ ผู้อำนวยการสถาบันธรรมรัฐเพื่อการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม ผู้ร่วมเสวนาได้แลกเปลี่ยนทัศนคติและมุมมองเกี่ยวกับปัญหาสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะประเด็นการรับรู้ของคนไทยเราเกี่ยวกับปัญหาโลกร้อน อุปสรรคทั้งในระดับนโยบายและระดับบุคคลในการแก้ไขร้อน ตลอดจนความคืบหน้าในการดำเนินงานเพื่อแก้ปัญหาโลกร้อนตามกรอบความร่วมมือระหว่างประเทศ
ช่วงที่สองของการเสวนาเป็นการจัดฉายภาพยนตร์สารคดีเรื่อง Six Degrees Could Change the World ซึ่งผลิตโดย National Geographic Society นำเสนอการคาดการณ์ผลกระทบต่อโลกและประชากรของโลกในกรณีที่อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกเพิ่มขึ้นในทุก ๑ องศาเซลเซียส โดยสารคดีเรื่องนี้คาดว่าหากมนุษย์ยังไม่เปลี่ยนพฤติกรรมการดำเนินชีวิตซึ่งทำลายสิ่งแวดล้อม ในศตวรรษที่ ๒๒ อุณหภูมิพื้นผิวโลกจะเพิ่มสูงขึ้นกว่า ๖ องศาเซลเซียส ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์อย่างยิ่ง เช่น น้ำท่วมโลก และการขาดแคลนทรัพยากร
การเสวนาครั้งนี้ เป็นหนึ่งในภารกิจการทูตสิ่งแวดล้อมซึ่งกระทรวงการต่างประเทศ เริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี ๒๕๕๓ เพื่อช่วยส่งเสริมให้ผู้ที่เกี่ยวข้องและผู้ที่สนใจสามารถติดตามพัฒนาการความก้าวหน้าของประเด็นสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศที่มีผลกระทบต่อไทย รวมทั้งสร้างความตระหนัก ความเข้าใจ และความรู้เท่าทันแนวโน้มต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมที่จะเกิดขึ้น
รูปภาพประกอบ
วันทำการ : จันทร์ - ศุกร์ เวลา 08.30 - 16.30 น.
(ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์)
งานรับ-ส่งหนังสือ และงานสารบรรณ:
อีเมล [email protected]
เว็บไซต์นี้ได้รับการออกแบบเพื่ออำนวยความสะดวกให้ทุกคนเข้าถึงเว็บไซต์ได้และมีมาตรฐาน WCAG 2.0 ระดับ AA
** เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุดควรใช้ Chrome เวอร์ชั่น 76 ขึ้นไป **