วันที่นำเข้าข้อมูล 28 มิ.ย. 2555
วันที่ปรับปรุงข้อมูล 30 พ.ย. 2565
ภูมิหลัง
ประเทศสมาชิก
ปัจจุบันประเทศสมาชิก OSCE มี 56 ประเทศ ได้แก่ แอลเบเนีย อันดอร์รา อาร์เมเนีย ออสเตรีย อาเซอร์ไบจาน เบลารุส เบลเยียม บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา บัลแกเรีย แคนาดา โครเอเชีย ไซปรัส สาธารณรัฐเช็ก เดนมาร์ก เอสโตเนีย ฟินแลนด์ ฝรั่งเศส จอร์เจีย เยอรมนี กรีซ นครรัฐวาติกัน ฮังการี ไอซ์แลนด์ ไอร์แลนด์ อิตาลี คาซัคสถาน คีร์กิซสถาน ลัตเวีย ลิคเตนสไตน์ ลิทัวเนีย ลักเซมเบิร์ก มาเซโดเนีย มอลตา มอลโดวา โมนาโก มอนเตเนโกร เนเธอร์แลนด์ นอร์เวย์ โปแลนด์ โปรตุเกส รัสเซีย โรมาเนีย ซานมารีโน เซอร์เบีย สโลวาเกีย สโลวีเนีย สเปน สวีเดน สวิตเซอร์แลนด์ ทาจิกิสถาน ตุรกี เติร์กเมนิสถาน ยูเครน สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา และอุซเบกิสถาน
วัตถุประสงค์
OSCE จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้
1.) เพื่อเสริมสร้างมาตรการความไว้เนื้อเชื่อใจ (confidence building measures) ทางด้านความมั่นคง 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการเมืองและการทหาร ด้านเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม และด้านความมั่นคงในมิติมนุษย์
2.) เพื่อเป็นเวทีปรึกษาหารือ หาข้อยุติ และระงับข้อพิพาทและข้อขัดแย้งในยุโรป ควบคุมดูแลความมั่นคงโดยรวมของภูมิภาค เพื่อมิให้เกิดวิกฤตการณ์ที่ร้ายแรง และปฎิบัติการทางทหาร เพื่อรักษาสันติภาพในบริเวณที่ปฏิบัติเท่านั้น
การดำเนินงาน
OSCE ให้ความสำคัญกับการดำเนินงาน ดังนี้
1.) ส่งเสริมค่านิยมร่วมของประเทศสมาชิก ตลอดจนส่งเสริมประชาธิปไตยและประชาสังคม บนพื้นฐานของหลักเกณฑ์ทางกฎหมาย
2.) ป้องกันการเกิดความขัดแย้งในระดับท้องถิ่นและเสริมสร้างเสถียรภาพในพื้นที่ที่ประสบวิกฤตการณ์
3.) ส่งเสริมระบบความมั่นคงร่วมกัน
ขอบเขต
ถึงแม้ความสำคัญและขอบเขตในการดำเนินงานของ OSCE ในยุคหลังสงครามเย็นจะปรับเปลี่ยนไปจากช่วงสงครามเย็น แต่การดำเนินงานภายใต้วัตถุประสงค์ขององค์การเพื่อเสริมสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างกันทางด้านความมั่นคง 3 ด้าน (Three Baskets) ดังกล่าวยังคงมีอยู่ ดังนี้
1.) ความมั่นคงด้านการเมือง และการทหาร OSCE ประสงค์ที่จะเสริมสร้างความมั่นคงด้านการทหารโดยส่งเสริมความเปิดกว้าง ความโปร่งใส และความร่วมมือระหว่างรัฐสมาชิกกับรัฐภายนอกที่มีความสัมพันธ์กับ OSCE โดยการสร้างเวทีหารือเพื่อความร่วมมือด้านความมั่นคง (The Forum for Security Cooperation) และการใช้มาตรการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ (Confidence and Security Building Measures: CSBMs) เป็นต้น
2.) ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม OSCE ให้ความสำคัญกับ การส่งเสริมความร่วมมือด้านเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม เนื่องจากความร่วมมือในประเด็นดังกล่าวช่วยเสริมสร้างบรรยากาศที่เกื้อกูลต่อสันติภาพ ความมั่งคั่ง และเสถียรภาพ ในภูมิภาคยุโรปโดยรวม ทั้งนี้ ขอบเขตของความร่วมมือด้านนี้ของ OSCE ได้แก่ การติดตาม (monitor) พัฒนาการด้านเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมในประเทศสมาชิกเพื่อเตือนภัยหากมีเหตุการณ์ที่มีแนวโน้มที่จะนำไปสู่ความขัดแย้ง และอำนวยความสะดวกแก่รัฐสมาชิกในการจัดทำนโยบายเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม
3.) ความร่วมมือทางด้านมนุษย์ ความร่วมมือด้านมนุษย์ของ OSCE ครอบคลุมประเด็นเรื่องการปกป้องสิทธิมนุษยชน และเสรีภาพขั้นพื้นฐาน การส่งเสริมหลักเกณฑ์ทางกฎหมาย การเสริมสร้าง และการพัฒนาสถาบันประชาธิปไตย โดย OSCE ได้จัดตั้งกลไกเพื่อส่งเสริมพันธกรณีของประเทศสมาชิกในการดำเนินการ ตามหลักการดังกล่าว อาทิ สำนักงานสถาบันประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชน (Office for Democratic Institutions and Human Rights) และข้าหลวงใหญ่ด้านชนกลุ่มน้อยแห่งชาติ (High Commissioner on National Minorities) เป็นต้น
ความร่วมมือกับประเทศนอกกลุ่ม
ประเทศหุ้นส่วนเพื่อความร่วมมือฝ่ายเมดิเตอร์เรเนียน (Mediterranean Partners for Co-operation)
ประเทศหุ้นส่วนเพื่อความร่วมมือฝ่ายเอเชีย (Asian Partners for Co-operation)
1.) เพื่อเรียนรู้ประสบการณ์ของ OSCE ด้านการเมืองและความมั่นคงของยุโรป เช่น มาตรการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจและความมั่นคง (Confidence and Security Building Measures – CSBMs) การทูตเชิงป้องกัน (Preventive Diplomacy) การป้องกันความขัดแย้ง และการจัดการวิกฤตการณ์ (Crisis Management) เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ส่งเสริมความร่วมมือด้านความมั่นคงในกรอบ ASEAN และ ASEAN Regional Forum (ARF)
2.) เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูล ประสบการณ์ และข้อคิดเห็นเกี่ยวกับพัฒนาการและความร่วมมือด้านความมั่นคงกับประเทศในยุโรป ซึ่งทำให้ทราบความเคลื่อนไหวที่สำคัญในยุโรป
3.) เพื่อชี้แจงและทำให้ประเทศในยุโรปทราบและมีความเข้าใจเกี่ยวกับพัฒนาการที่สำคัญในเอเชีย โดยเฉพาะนโยบายและบทบาทของไทยด้านความมั่นคงในภูมิภาค
4.) เพื่อแสวงหาความร่วมมือด้านความมั่นคงที่ทั้งสองฝ่ายมีความสนใจร่วมกัน เช่น มิติด้านมนุษย์ของความมั่นคง
การมีส่วนร่วมของไทยในระหว่างปี 2552-2553
วันทำการ : จันทร์ - ศุกร์ เวลา 08.30 - 16.30 น.
(ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์)
งานรับ-ส่งหนังสือ และงานสารบรรณ:
อีเมล [email protected]
เว็บไซต์นี้ได้รับการออกแบบเพื่ออำนวยความสะดวกให้ทุกคนเข้าถึงเว็บไซต์ได้และมีมาตรฐาน WCAG 2.0 ระดับ AA
** เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุดควรใช้ Chrome เวอร์ชั่น 76 ขึ้นไป **