วันที่นำเข้าข้อมูล 28 มิ.ย. 2555
วันที่ปรับปรุงข้อมูล 29 พ.ย. 2565
Asia-Middle East Dialogue (AMED)
ข้อมูลภูมิหลัง | สรุปผลการประชุม AMED
เยี่ยมชมเว็บไซต์ AMED สิงคโปร์
ข้อมูลภูมิหลัง
1. หลักการ
- AMED มีจุดกำเนิดจากการเดินทางเยือนตะวันออกกลางของนายโก๊ะ จ๊ก ตง ขณะยังดำรงตำแหน่ง นรม. สิงคโปร์ ราวเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2547 โดยเห็นว่า การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองและสภาพเศรษฐภูมิศาสตร์ของโลก ทำให้ทั้งเอเชียและตะวันออกกลางต่างต้องการแสวงหาพันธมิตรทางการเมืองและ หุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์เศรษฐกิจใหม่ๆ ที่จะเสริมสร้างความเข้มแข็งของภูมิภาค
- ทั้งสองภูมิภาคเห็น ความสำคัญอย่างยิ่งของการเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโลกมุสลิมกับประชาชน ศาสนาอื่น โดยเฉพาะในมิติด้านการเมือง ในสถานการณ์ปัจจุบันที่ความขัดแย้งด้านศาสนากำลังทวีความรุนแรงและลุกลามไป ในหลายภูมิภาค
- การเสริมสร้างความสัมพันธ์ดังกล่าวจะต้องมีราก ฐานมาจากการเพิ่มปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันในหลายๆ มิติ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม และมีความร่วมมือในหลายระดับ ทั้งระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม เพื่อให้ความเข้าใจระหว่างภูมิภาคในมิติต่างๆ ส่งเสริมซึ่งกันและกัน และเป็นปัจจัยส่งเสริมความสัมพันธ์ในมิติด้านการเมืองต่อไป
- ดัง นั้น การหารือในเวที AMED จึงเน้นให้เป็น Track 1.5 คือ ภาครัฐ (Track I) เป็นผู้ริเริ่มนโยบาย ในขณะเดียวกันก็ส่งเสริมการเข้าร่วมแสดงความคิดเห็น และการมีกิจกรรมร่วมกันภาคเอกชนและ stakeholders ต่างๆ เช่น นักวิชาการ นักคิด และนักธุรกิจ (Track II)
2. ความเป็นมาและกระบวนการ
- การริเริ่มของนายโก๊ะ จ๊ก ตง นำไปสู่การประชุมคณะกรรมการกำหนดนโยบาย (Steering Committee – SC) ของ AMED 2 ครั้ง ในเดือนตุลาคม 2547 (สิงคโปร์เป็นเจ้าภาพ) และกุมภาพันธ์ 2548 (จอร์แดนเป็นเจ้าภาพ) เพื่อหารือแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นในระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส รวมทั้งเสนอแนะแนวนโยบายและหัวข้อการหารือในการประชุมระดับรัฐมนตรี
- SC ประกอบด้วยเจ้าหน้าที่ระดับอาวุโสจาก 10 ประเทศ ได้แก่ 5 ประเทศจากเอเชีย (มาเลเซีย ไทย บังกลาเทศ สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย) และ 4 ประเทศจากตะวันออกกลาง (อียิปต์ จอร์แดน บาห์เรน ซาอุดิอาระเบีย และคูเวต)
- สิงคโปร์ เป็นเจ้าภาพการประชุมระดับรัฐมนตรีครั้งแรก ระหว่างวันที่ 21-22 มิถุนายน 2548 โดยมีประเทศจากทั้งสองภูมิภาคเข้าร่วม 39 ประเทศรวมปาเลสไตน์ เป็นประเทศจากเอเชีย 22 ประเทศ และจากตะวันออกกลาง 17 ประเทศ (แนบรายชื่อ - ผลการประชุมที่สำคัญจะกล่าวต่อไป) และการประชุมระดับรัฐมนตรีครั้งที่ 2 จะมีขึ้นที่กรุงไคโร ในปี 2550 และไทยรับเป็นเจ้าภาพการประชุมครั้งที่ 3 ในปี 2552
- ประเทศจากทั้งสองภูมิภาคผลัดกันเป็นเจ้าภาพการ ประชุมในทุกระดับ หัวข้อการหารือครอบคลุมหลายมิติ เป็นเวทีที่เปิดกว้างสำหรับประเทศที่ไม่นิยมความรุนแรงจากภูมิภาคเอเชีย ตะวันออก เอเชียใต้ ตะวันออกกลาง และแอฟริกาเหนือ โดยให้กระทรวงการต่างประเทศของแต่ละประเทศเป็นหน่วยประสานงานหลัก และเชิญผู้เข้าร่วมการประชุมตามที่แต่ละประเทศเห็นเหมาะสม (comfort level)
3. ผลการประชุมรัฐมนตรี AMED ครั้งที่ 1 : 20-21 มิ.ย. 2548
- ที่ประชุมหารือในประเด็นต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างกัน รวมทั้งปัญหาท้าทายต่าง ๆ ที่มีร่วมกัน เช่น ปัญหาการก่อการร้าย การส่งเสริมบทบาทของแนวทางสายกลาง ปัญหาน้ำมันและพลังงาน
- ที่ประชุมเห็นชอบให้จัดตั้งคณะทำงาน (Working Group) ใน 3 สาขา โดยแต่ละสาขามีประธานร่วมจากสองภูมิภาค คือ
1. สาขาการเมืองและความมั่นคง ประธานร่วมได้แก่ มาเลเซียและซาอุดิอาระเบีย
2. สาขาสังคมและวัฒนธรรม ประธานร่วมได้แก่ สิงคโปร์และจอร์แดน
3. สาขาเศรษฐกิจ ประธานร่วมได้แก่ ไทยและอียิปต์
- คณะทำงานทุกคณะจะรายงานผลการหารือต่อ SC ซึ่งจะพิจารณาเพื่อนำเสนอที่ประชุมระดับรัฐมนตรีต่อไป
- สาระสำคัญของการประชุมด้านเศรษฐกิจ คือการรื้อฟื้นการเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจระหว่างเอเชียและตะวันออกกลาง โดยที่ประชุมเสนอให้จัดตั้งคณะทำงานหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระหว่างกัน (Closer Economic Partnership) และจัดการประชุม Business Forum ก่อนการประชุมระดับรัฐมนตรี ครั้งที่ 2 ที่กรุงไคโรในปี 2550 รวมทั้งเห็นความจำเป็นของการขยายความร่วมมือในการจัดตั้งเขตการค้าเสรี ระหว่างกันด้วย
4. วิสัยทัศน์ของไทยในการเข้าร่วมคณะทำงานด้านเศรษฐกิจของ AMED
- เอเชียและตะวันออกกลางมีศักยภาพทางเศรษฐกิจที่เกื้อหนุนกัน (complementary economic potential) โดยเอเชียมีโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่พัฒนามากกว่าตะวันออกกลาง (อาทิ ระบบตลาด กฎหมายและระเบียบ รวมทั้งสถาบันที่เกี่ยวข้อง) ในขณะที่ตะวันออกกลางเป็นแหล่งพลังงานสำคัญ และสามารถเป็นแหล่งเงินทุนที่มีศักยภาพของเอเชีย
- การฟื้นฟูและเพิ่มระดับความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจโดยอาศัยจุดแข็งของกันและ กันเพื่อเสริมสร้างรากฐานในด้านที่แต่ละฝ่ายยังขาดอยู่ จึงเป็นยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศที่สำคัญยิ่ง
- จุดมุ่งหมายสุดท้ายคือ ใช้การเพิ่มปฏิสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองภูมิภาคในด้านต่างๆเสริมสร้างการเพิ่ม ความสัมพันธ์ทางการเมือง ซึ่งเป็นวัตถุประสงค์หลักของความร่วมมือในกรอบ AMED
5. คณะทำงานด้านเศรษฐกิจภายใต้กรอบ AMED
วัตถุประสงค์ของคณะทำงานด้านเศรษฐกิจ
- เพื่อทบทวนการใช้กรอบความร่วมมือด้านเศรษฐกิจที่มีอยู่แล้วระหว่างเอเชียกับตะวันออกกลางให้มีประสิทธิผล
- เพื่อศึกษาความพร้อมและแนวทางการส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจและ การอำนวยความสะดวกทางการค้าและการลงทุนระหว่างสองภูมิภาค โดยเน้นการใช้ AMED เป็นเวทีเพื่อการพบหารือระหว่างภาคเอกชนและภาคประชาสังคมของสองภูมิภาค
แนวทางและขอบเขตการดำเนินการ
- กระทรวงการต่างประเทศ โดยกรมสารนิเทศ เป็นหน่วยงานหลักของการดำเนินการภายใต้กรอบ AMED ของไทย มีกรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศรับผิดชอบการดำเนินการภายใต้กรอบคณะทำงานด้าน เศรษฐกิจ
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------
สรุปผลการประชุม Asia-Middle East Dialogue (AMED) ครั้งที่ 1
ระหว่างวันที่ 21-22 มิถุนายน 2548 ณ สิงคโปร์
สาระสำคัญของการประชุม
1. ด้านการเมืองและความมั่นคง
ที่ ประชุมหารือเรื่องปัญหาการก่อการร้าย และเห็นว่าทั้งสองภูมิภาคจะต้องมีความร่วมมือในด้านการต่อต้านการก่อการร้าย มากขึ้น โดยควรจัดตั้งคณะทำงานต่อต้านการก่อการร้ายภายใต้คณะทำงานด้านการเมืองและ ความมั่นคงของ AMED รวมทั้งได้มีการพิจารณาแลกเปลี่ยนประสบการณ์แนวปฏิบัติที่ดีระหว่างประเทศ สมาชิกและระหว่างกรอบความร่วมมือต่าง ๆ ซึ่งรวมถึงความมั่นคงด้านพลังงานและอุปทานน้ำมันด้วย
2. ด้านเศรษฐกิจ
ที่ ประชุมเห็นว่า ควรรือฟื้นการเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจระหว่างเอเชียและตะวันออกกลาง โดยเสนอให้จัดตั้งคณะทำงานหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระหว่างกัน (Closer Economic Partnership) และจัดการประชุม Business Forum ก่อนการประชุม AMED ครั้งที่ 2 ณ กรุงไคโรในปี 2550 รวมทั้งเห็นความจำเป็นของการขยายความร่วมมือในการจัดตั้งเขตการค้าเสรี ระหว่างกันด้วย
3. ด้านสังคม
ที่ประชุม เห็นว่า ทั้งสองภูมิภาคควรเพิ่มการติดต่อระหว่างกัน โดยเฉพาะระหว่างนักวิชาการ นักศึกษาและสถาบันทางการศึกษา ควรจัดตั้งเครือข่ายมหาวิทยาลัย และจัดทำเว็บไซต์ของเอเชียและตะวันออกกลาง เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารและได้ย้ำถึงความสำคัญของ การส่งเสริมความเข้มแข็งของกลุ่มมุสลิมสายกลาง
4. กลไกและการประชุม AMED ในอนาคต
ที่ ประชุมเห็นชอบให้จัดตั้งกลไกคณะทำงานใน 3 สาขา โดยจะมีประธานร่วมมาจากแต่ละภูมิภาค ได้แก่ 1) สาขาการเมืองและความมั่นคง (มาเลเซีย-ซาอุดิอาระเบีย) 2) สาขาเศรษฐกิจ (ไทย-อียิปต์) 3) สาขาสังคมและวัฒนธรรม (สิงคโปร์-จอร์แดน) โดยมีประเทศต่าง ๆ แสดงความจำนงเป็นเจ้าภาพการประชุมระดับรัฐมนตรีในอนาคต ได้แก่ อียิปต์ในปี 2550 ไทยในปี 2552 ซาอุดิอาระเบียในปี 2554 และบาห์เรนในอนาคต
5. การกล่าวสุนทรพจน์ของ รมว.กต.
รัฐมนตรี ว่าการกระทรวงการต่างประเทศกล่าวสุนทรพจน์ในหัวข้อบทบาทของวัฒนธรรมและศาสนา ในการพัฒนาประเทศ โดยย้ำว่ากระแสโลกาภิวัฒน์สร้างคุณประโยชน์หลายประการ ขณะเดียวกันก็ก่อให้เกิดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งก่อให้เกิดทัศนะและความเข้าใจที่บิดเบือน นำไปสู่แนวความคิดหัวรุนแรง ซึ่งต่อมาบางกลุ่มได้ใช้ประเด็นทางศาสนาเป็นข้ออ้างในการก่อความไม่สงบ จึงควรส่งเสริมการสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องโดยไม่ควรมีการโยงศาสนากับการ ก่อการร้าย ไทยส่งเสริมการยอมรับและการสร้างความหลากหลายให้เป็นจุดแข็ง ซึ่งจะเป็นการสร้างวัฒนธรรมที่เกื้อกูลต่อการเสริมสร้างสันติภาพและความอด กลั้น เพื่อความก้าวหน้าของประชาคมโลกโดยรวม และได้ย้ำว่า ไทยส่งเสริมแนวทางและการสร้างความเข้มแข็งให้กับเสียงกลุ่มมุสลิมสายกลาง นอกจากนี้ ได้ใช้โอกาสดังกล่าว ทำความเข้าใจเกี่ยวกับนโยบายรัฐบาลในการแก้ปัญหาสถานการณ์ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทยด้วย
6. ข้อสังเกต
6.1 ในภาพรวม การประชุม AMED ในครั้งแรก ถือว่าประสบความสำเร็จในการกระชับความสัมพันธ์และเสริมสร้างความเข้าใจ ระหว่างภูมิภาคเอเชียและตะวันออกกลางได้มากขึ้น โดยประเทศต่างๆ ได้หารือกันอย่างเปิดกว้างในประเด็นที่เกี่ยวกับการพัฒนาความสัมพันธ์และ ความร่วมมือระหว่างกัน รวมทั้งได้หารือเรื่องปัญหาท้าทายต่างๆ ที่มีร่วมกัน เช่น ปัญหาการก่อการร้าย การส่งเสริมบทบาทของแนวทางสายกลาง ปัญหาน้ำมันและพลังงาน
6.2 การที่กลุ่มประเทศตะวันออกกลางแสดงท่าที กระตือรือร้นที่จะสร้างมิตรและกระชับ ความสัมพันธ์กับประเทศในเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ให้แน่น แฟ้นยิ่งขึ้น น่าจะเกิดจากหลายปัจจัย ได้แก่ ประเทศตะวันออกกลางตระหนักถึงศักยภาพทางเศรษฐกิจของภูมิภาคเอเชีย เหตุการณ์การก่อการร้ายซึ่งได้ส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศตะวัน ตกกับหลายประเทศในตะวันออกกลาง และการเชื่อมโยงศาสนาอิสลามกับการก่อการร้ายในทัศนะของหลายฝ่ายในตะวันตก
6.3 การประชุม AMED ครั้งนี้มีการกำหนดทิศทางในการพัฒนากระบวนการความร่วมมืออย่างชัดเจน โดยได้จัดตั้งกลไกคณะทำงานใน 3 สาขาเพื่อหารือแนวทางความร่วมมือในอนาคต และมีหลายประเทศแสดงความสนใจเป็นเจ้าภาพในการจัดการประชุม
ครั้งต่อ ๆ ไป
6.4 การเข้าร่วมประชุมครั้งนี้เป็นการส่งสัญญาณของไทยที่ให้ความสำคัญกับการประ ชุม AMED รวมทั้งเป็นการสนับสนุนสิงคโปร์ในฐานะประเทศเจ้าภาพ โดยไทยได้มีโอกาสกระชับความสัมพันธ์และรับทราบพัฒนาการด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมของประเทศมุสลิมในตะวันออกกลาง รวมทั้งได้ประโยชน์จากความร่วมมือด้านการเมืองและเศรษฐกิจที่จะมีเพิ่มขึ้น ในอนาคต ขณะเดียวกันไทยได้ใช้โอกาสดังกล่าวสร้างความเข้าใจกับประเทศในตะวันออกกลาง เกี่ยวกับสถานการณ์ภาคใต้ของไทย โดยย้ำนโยบายของไทยในการเคารพความแตกต่างทางศาสนา ส่งเสริมแนวทางสายกลาง และการอยู่ร่วมกันโดยสันติ
6.5 ไทยมีบทบาทสำคัญใน Steering Committee ของการประชุม AMED และในฐานะที่ไทยเป็นประธานร่วมกับอียิปต์ในคณะทำงานด้านเศรษฐกิจ ทำให้ไทยมีบทบาทในการดูแลโครงการส่งเสริมความร่วมมือด้านเศรษฐกิจระหว่าง ประเทศสมาชิก
วันทำการ : จันทร์ - ศุกร์ เวลา 08.30 - 16.30 น.
(ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์)
งานรับ-ส่งหนังสือ และงานสารบรรณ:
อีเมล [email protected]
เว็บไซต์นี้ได้รับการออกแบบเพื่ออำนวยความสะดวกให้ทุกคนเข้าถึงเว็บไซต์ได้และมีมาตรฐาน WCAG 2.0 ระดับ AA
** เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุดควรใช้ Chrome เวอร์ชั่น 76 ขึ้นไป **