ถ้อยแถลงนายกรัฐมนตรีในนามของประเทศอาเซียนในการประชุม SDG Summit วันอังคารที่ ๒๔ กันยายน ๒๕๖๒ สำนักงานใหญ่สหประชาชาติ นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา

ถ้อยแถลงนายกรัฐมนตรีในนามของประเทศอาเซียนในการประชุม SDG Summit วันอังคารที่ ๒๔ กันยายน ๒๕๖๒ สำนักงานใหญ่สหประชาชาติ นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา

วันที่นำเข้าข้อมูล 25 ก.ย. 2562

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 29 พ.ย. 2565

| 1,690 view

As delivered

ถ้อยแถลงนายกรัฐมนตรี
ในนามของประเทศอาเซียน
ในการประชุม SDG Summit
วันอังคารที่ ๒๔ กันยายน ๒๕๖๒
สำนักงานใหญ่สหประชาชาติ นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา

 

ท่านประธานสมัชชาสหประชาชาติ
ท่านเลขาธิการสหประชาชาติ
ท่านประธานคณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคม
ท่านผู้มีเกียรติที่เคารพทุกท่าน

ผมยินดีที่ได้มากล่าวถ้อยแถลงในนามอาเซียน ๑๐ ประเทศ ได้แก่ บรูไน กัมพูชา อินโดนีเซีย สปป.ลาว มาเลเซีย เมียนมา ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ เวียดนาม และไทย

เมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ผู้นำอาเซียนได้ร่วมกันรับรองวิสัยทัศน์ว่าด้วยความเป็นหุ้นส่วนเพื่อความยั่งยืน ซึ่งจะช่วยสนับสนุนการขับเคลื่อนการพัฒนาที่ยั่งยืนในระดับโลก และอาเซียนยังได้เห็นชอบข้อริเริ่ม “ความเกื้อกูลระหว่างวิสัยทัศน์ประชาคมอาเซียน ค.ศ. ๒๐๒๕ กับวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ. ๒๐๓๐”

อาเซียนมุ่งหวังที่จะเป็นประชาคมที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง โดยมีกุญแจสามดอกที่สำคัญ ได้แก่ การเร่งรัดการดำเนินการ การขับเคลื่อน SDGs ในระดับพื้นที่ และการเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างกัน โดยมุ่งมั่นการเร่งขับเคลื่อน SDGs ตามวิถีทางที่เหมาะสมกับบริบทของแต่ละประเทศ และต้องร่วมมือกันทุกภาคส่วน

อันดับแรก เราจะเร่งรัดการดำเนินการเพื่อสร้างความเชื่อมโยงและลดความเหลื่อมล้ำ โดยใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ในการยกระดับคุณภาพชีวิตตามเป้าหมายดิจิทัลอาเซียนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รวมทั้งอนุรักษ์และฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม ขจัดปัญหาขยะทะเลและใช้ทรัพยากรทางทะเลอย่างยั่งยืน

สอง เราจะขับเคลื่อน SDGs ในระดับพื้นที่ ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบาย ใช้แนวทางการพัฒนาที่เป็นของชุมชน สร้างพลังชุมชน ให้ชุมชนเข้าถึงระบบการเงิน สนับสนุนธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมและเตรียมการเข้าสู่สังคมสูงอายุ

สาม เราจะเสริมสร้างความร่วมมือ ส่งเสริมการเปิดเสรีทางการค้าผ่านเวทีพหุภาคี การเจรจาอาร์เซป (RCEP) การสร้างเครือข่ายเมืองอัจฉริยะ และการสร้างภูมิต้านทานต่อภัยพิบัติทางธรรมชาติ เพื่อปกป้องประชาชนและไม่ให้ภัยพิบัติส่งผลกระทบต่อการพัฒนา

ท้ายที่สุดนี้ อาเซียนพร้อมร่วมมือกับสหประชาชาติและนานาประเทศในการพัฒนาองค์ความรู้ ศักยภาพ และแลกเปลี่ยนแนวปฏิบัติที่ดี ซึ่งการจัดตั้งศูนย์อาเซียนเพื่อการหารือและการศึกษาวิจัยด้านการพัฒนาที่ยั่งยืน

ในไทยในปลายปีนี้ จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการขับเคลื่อน SDGs ให้เป็นรูปธรรมทั้งในและนอกอาเซียนต่อไป

ท่านประธาน ท่านผู้มีเกียรติ

หากเราอยากส่งต่อโลกที่ยั่งยืนให้ลูกหลานของเรา เรามีเวลาเหลือไม่มากนัก เราต้องลงมือทำตั้งแต่บัดนี้ ทำให้มากขึ้น ทำให้เร็วขึ้น และร่วมกันทำอย่างแข็งขัน

ขอบคุณครับ