ขั้นตอนการใช้ช่องทางพิเศษของไทย
ประเทศไทยและ […………..…..] ได้ตกลงกันจัดทำข้อตกลงช่องทางพิเศษเพื่ออำนวยความสะดวกระหว่างกันสำหรับการเดินทางที่จำเป็นของนักธุรกิจ แรงงานที่มีทักษะเฉพาะและผู้เชี่ยวชาญเชิงเทคนิค
สำหรับบุคคลสัญชาติไทยที่มีความจำเป็นจะเดินทางไป […………..…..] ผ่านช่องทางพิเศษ โปรดติดต่อ […………..…..] หรือเว็บไซต์ …………..…..
สำหรับผู้ที่พำนักใน […………..…..] ที่มีความจำเป็นเดินทางมายังประเทศไทยผ่านช่องทางพิเศษ
มีรายละเอียด ดังนี้
นักธุรกิจ แรงงานที่มีทักษะเฉพาะ หรือผู้เชี่ยวชาญทางเทคนิคที่ปัจจุบันพำนักใน […………..…..] ซึ่ง (1) ได้รับเชิญจากนิติบุคคลในประเทศไทยหรือส่วนราชการของไทย เพื่อเดินทางเข้าประเทศไทยด้วยวัตถุประสงค์ทางธุรกิจแบบระยะสั้นไม่เกินสิบสี่วัน (14) วัน; (2) พำนักใน […………..…..] อย่างน้อย 14 วันก่อนวันเดินทางมา ประเทศไทย และ (3) ยินยอมที่จะปฏิบัติตามแผนการเดินทางที่ได้รับการอนุมัติแล้วอย่างเคร่งครัดและ ตามมาตรการป้องกันโรคของไทยที่บังคับใช้อยู่
2.1 การขอหลักฐานรับรองการใช้ช่องทางพิเศษ (Fast Track Pass: FTP)
2.1.1 ในกรณีที่ได้รับเชิญจากนิติบุคคลในประเทศไทย นิติบุคคลดังกล่าวจะเป็น “หน่วยงานผู้อุปถัมภ์” และจะเป็นผู้ยื่นคำร้องในนามผู้เดินทางเพื่อขอหลักฐานรับรองการใช้ช่องทางพิเศษ (FTP) กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ของไทย ดังนี้
- สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ในกรณีที่หน่วยงานผู้อุปถัมภ์เป็นกิจการ ที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนจาก BOI
- กระทรวงอุตสาหกรรม ในกรณีที่หน่วยงานผู้อุปถัมภ์เป็นกิจการที่มีใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานที่ยังไม่หมดอายุและไม่ได้เป็นกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนจาก BOI
- กระทรวงพาณิชย์ ในกรณีที่หน่วยงานผู้อุปถัมภ์จดทะเบียนจัดตั้งธุรกิจในประเทศไทย มีคุณสมบัติและเข้าเงื่อนไขที่กระทรวงพาณิชย์กำหนด ไม่ได้เป็นกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนจาก BOI และไม่มีใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน
2.1.2 ในกรณีที่ได้รับเชิญจากส่วนราชการไทย (ระดับกระทรวงหรือหน่วยงานเฉพาะกิจ) นิติบุคคลใน […………..…..] ที่ผู้เดินทางเป็นพนักงานในสังกัด จะเป็น “หน่วยงานผู้อุปถัมภ์” และจะเป็นผู้ยื่นคำร้องในนาม ผู้เดินทางเพื่อขอหลักฐานรับรองการใช้ช่องทางพิเศษ (FTP) กับส่วนราชการไทยที่เชิญ
2.1.3 เอกสารประกอบการยื่นขอหลักฐานรับรองการใช้ช่องทางพิเศษ (FTP)
(1) ใบคำร้องขอใช้ช่องทางพิเศษ (สามารถดาวน์โหลดแบบฟอร์มได้ที่ https://www.mfa.go.th/th/content/application-form)
(2) สำเนาหนังสือเดินทางของผู้เดินทาง
(3) สำเนาหนังสือรับรองนิติบุคคล
(4) หนังสือมอบอำนาจ ในกรณีมอบอำนาจให้บุคคลอื่นลงนามในใบคำร้องแทนตัวแทนนิติบุคคล หรือกรรมการผู้มีอำนาจลงนามตามกฎหมาย พร้อมแนบสำเนาบัตรประชาชนหรือหนังสือเดินทางที่รับรองแล้ว ของผู้มอบอำนาจและผู้ที่ได้รับมอบอำนาจ
หมายเหตุ: หน่วยงานกลั่นกรองที่รับคำร้องสงวนสิทธิ์ที่จะเรียกเอกสาร/หลักฐานแสดงคุณสมบัติอื่น ๆ เพิ่มเติม
ตามที่เห็นเหมาะสม
2.1.4 เมื่อคำร้องขอใช้ช่องทางพิเศษได้รับการรับรองโดยส่วนราชการที่รับคำร้องแล้วจะส่งหลักฐานรับรองการใช้ช่องทางพิเศษ (FTP) กลับไปยังหน่วยงานผู้อุปถัมภ์
2.2 การขอหลักฐานอนุมัติแผนการเดินทาง (Travel Plan Pass: TPP) (ใบสมัครขอรับหลักฐานอนุมัติแผน การเดินทางสามารถดาวน์โหลดทาง http://www.mfa.go.th/application/travel_plan_form.pdf) ทั้งนี้ ผู้เดินทาง จะได้รับอนุญาตให้เดินทางเฉพาะในเส้นทางระหว่างบริษัท/โรงงานกับที่พักในสถานกักกันทางเลือก (Alternative State Quarantine: ASQ) (ดังปรากฏบนเว็บไซต์ http://www.hsscovid.com) และจะไม่ได้รับอนุญาตให้เดินทางไปสถานที่สาธารณะ และ/หรือติดต่อกับชุมชน
2.2.1 หน่วยงานผู้อุปถัมภ์จะต้องติดต่อสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (สสปน.)
(โทร. ............................... / ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์: ..................................) เพื่อรับการจัดสรรทีมผู้ประสานงาน การเดินทาง (Destination Management Company: DMC) ให้ผู้เดินทาง โดย DMC จะทำหน้าที่แทนหน่วยงาน ผู้อุปถัมภ์และผู้เดินทางในการติดต่อและประสานงานกับเจ้าพนักงานควบคุมโรคและส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง เพื่อเตรียมการที่จำเป็นในการเดินทางมาประเทศไทย ซึ่งรวมถึง (1) การจัดเตรียมยานพาหนะตลอดช่วงที่พำนักอยู่ในประเทศไทย (2) การประสานงานกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเพื่อตรวจสอบความเหมาะสมของสถานที่ต่าง ๆ ที่ระบุในแผนการเดินทาง (3) การสำรองที่พักในโรงแรม ASQ (หากเลือกใช้บริการนี้) และ (4) การสำรองเที่ยวบิน (หากเลือกใช้บริการนี้)
2.2.2 เมื่อแผนการเดินทางได้รับการอนุมัติโดยเจ้าพนักงานควบคุมโรคแล้ว DMC จะแจ้งและส่งหลักฐานอนุมัติแผนการเดินทาง (TPP) รวมถึงหลักฐานรับรองการใช้ช่องทางพิเศษ (FTP) ให้กับหน่วยงานผู้อุปถัมภ์ หน่วยงานกลั่นกรอง และกระทรวงการต่างประเทศ (โทร. ..................... / ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์: ........................) เพื่อดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
2.3 การขอหนังสือรับรองว่าเป็นบุคคลที่เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรได้ (Certificate of Entry: COE) และการตรวจลงตราประเภท Non-Immigration B
เมื่อได้รับหลักฐานรับรองการใช้ช่องทางพิเศษ (FTP) และหลักฐานอนุมัติแผนการเดินทาง (TPP) แล้ว ให้หน่วยงานผู้อุปถัมภ์ส่งเอกสารทั้งสองรายการให้ผู้เดินทาง เพื่อติดต่อกับสถานเอกอัครราชทูตหรือ สถานกงสุลใหญ่ ใน […………..…..] เพื่อขอหนังสือรับรองว่าเป็นบุคคลที่เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรได้ (COE) และขอรับการตรวจลงตราประเภท Non-Immigration B ทั้งนี้ ผู้เดินทางที่มีตรวจลงตราประเภท Non-Immigration “B” “B-A” and “IB” ที่ยังไม่หมดอายุ ไม่จำเป็นต้องยื่นขอรับการตรวจลงตราใหม่ เอกสารประกอบการขอ COE และขอรับการตรวจลงตรา ประกอบด้วย
2.3.1 การขอหนังสือรับรองว่าเป็นบุคคลที่เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรได้ (COE)
(1) หนังสือเดินทางและสำเนาหนังสือเดินทางของผู้เดินทางที่ได้รับการอนุมัติแล้วทุกราย
(2) สำเนาหลักฐานรับรองการใช้ช่องทางพิเศษ (FTP)
(3) สำเนาหลักฐานอนุมัติแผนการเดินทาง (TPP);
(4) ใบคำร้อง (declaration form) ที่ลงนามโดยผู้เดินแต่ละราย (ให้ผู้เดินทางติดต่อสถานเอกอัครราชทูต/สถานกงสุลใหญ่สำหรับแบบฟอร์มใบคำร้องฯ);
(5) กรมธรรม์ประกันภัยที่ครอบคลุมค่ารักษาพยาบาล รวมถึงกรณีโรค COVID-19 ของผู้เดินทางตลอดระยะเวลาที่พำนักในไทยหรือหลักประกันอื่นใด (เช่น หนังสือรับรองจากหน่วยงานผู้อุปถัมภ์) ในวงเงินไม่ต่ำกว่า 100,000 ดอลลาร์สหรัฐ
(6) บัตรโดยสารเครื่องบินไป – กลับหรือเอกสารยืนยันเที่ยวบินของผู้เดินทางที่ได้รับ การอนุมัติแล้วแต่ละราย
2.3.2 การขอรับการตรวจลงตราประเภท Non-Immigrant Visa Category B - รายละเอียดปรากฏ ตาม http://www.consular.go.th/ main/th/other/7395
3.1 ผู้เดินทางที่ได้รับการอนุมัติแล้วควรหลีกเลี่ยงการเดินทางไปยังพื้นที่เสี่ยงหรือสถานที่สาธารณะ และควรสังเกตสถานะสุขภาพของตนเองอย่างน้อย 14 วันก่อนวันเดินทางมาประเทศไทย และผู้เดินทาง จะต้องแสดงเอกสารสำหรับขึ้นเครื่องบินขาออกจากประเทศต้นทางและที่ด่านขาเข้าในประเทศไทย ดังนี้
(1) ใบรับรองแพทย์ที่ยืนยันว่าผู้เดินทางมีสุขภาพเหมาะสมต่อการเดินทาง (Fit to Fly health certificate) โดยเป็นใบรับรองที่ออกในระยะเวลาไม่เกิน 72 ชั่วโมงก่อนเวลาออกเดินทาง
(2) ใบรับรองแพทย์ที่ยืนยันว่าผู้เดินทางไม่มีเชื้อโรค COVID-19 ด้วยวิธี RT-PCR โดยเป็นใบรับรอง ที่ออกในระยะเวลาไม่เกิน 72 ชั่วโมงก่อนวันเดินทาง
(3) หนังสือรับรองว่าเป็นบุคคลที่เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรได้ (COE)
(4) กรมธรรม์ประกันภัยที่ครอบคลุมค่ารักษาพยาบาล รวมถึงกรณีโรค COVID-19 ของผู้เดินทาง ตลอดระยะเวลาที่พำนักในไทย หรือหลักประกันอื่นใด (เช่น หนังสือรับรองจากหน่วยงานผู้อุปถัมภ์) ในวงเงิน ที่ไม่ต่ำกว่า 100,000 ดอลลาร์สหรัฐ
(5) การตรวจลงตราประเภท Non-Immigrant Visa B
3.2 ผู้เดินทางจะต้องเข้ารับการคัดกรองอาการทางเดินหายใจและวัดไข้ ณ ช่องทางเข้าออกระหว่างประเทศก่อนออกเดินทางและปฏิบัติตามมาตรการการป้องกันโรคที่กำหนดไว้
ผู้เดินทางที่ได้รับการอนุมัติจะต้องดำเนินการ ดังนี้
- เข้ารับการคัดกรองอาการทางเดินหายใจและวัดไข้ผู้เดินทาง ณ ช่องทางเข้าออกระหว่างประเทศ ก่อนเดินทางเข้าราชอาณาจักร ทั้งนี้ ปัจจุบัน อนุญาตให้ผู้เดินทางผ่านช่องทางพิเศษเดินทางเข้าราชอาณาจักร ได้เฉพาะท่าอากาศยานสุวรรณภูมิหรือท่าอากาศยานดอนเมืองในกรุงเทพฯ
- แสดงเอกสารที่เกี่ยวข้องต่อเจ้าหน้าที่ควบคุมโรคและเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง
- เข้ารับการตรวจหาเชื้อโรค COVID-19 ด้วยวิธี RT-PCR (ผ่านโพรงจมูก) อย่างน้อย 2 - 3 ครั้งตลอด
ช่วงระยะเวลาที่พำนักในประเทศไทย (วันที่เดินทางถึง ระหว่างพำนัก และก่อนเดินทางออกจากประเทศไทย) ด้วยค่าใช้จ่ายของผู้เดินทางหรือหน่วยงานอุปถัมภ์ ทั้งนี้ เจ้าพนักงานควบคุมโรคจะกำหนดจำนวนการตรวจหาเชื้อโรค COVID-19 ของผู้เดินทางแต่ละรายเมื่อผู้เดินทาง/หน่วยงานผู้อุปถัมภ์ยื่นของรับหลักฐานอนุมัติ แผนการเดินทาง (TPP)
- ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน “ไทยชนะ” และ “หมอชนะ” หรือแอปพลิเคชันอื่นบนโทรศัพท์เคลื่อนที่ ตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานควบคุมโรคที่ด่านขาเข้า โดยผู้เดินทางจะต้องใช้แอปพลิเคชันดังกล่าวตลอดช่วงเวลาที่พำนักในประเทศไทย
- พบ DMC ที่ท่าอากาศยาน ซึ่งจะเป็นผู้รับผู้เดินทางเพื่อเดินทางตรงไปยังโรงแรม ASQ
- เดินทางออกจากท่าอากาศยานไปยังจุดหมายได้ในกรณีที่ผลการตรวจเชื้อโรค COVID-19 ด้วยวิธี RT-PCR ครั้งแรกเป็นลบ กรณีที่ผลการตรวจเชื้อโรค COVID-19 ด้วยวิธี RT-PCR เป็นบวก ผู้เดินทางจะต้องเข้ารับการรักษา ในประเทศไทย โดยหน่วยงานผู้อุปถัมภ์รับผิดชอบค่าใช้จ่ายหรือใช้ความคุ้มครองภายใต้กรมธรรม์ประกันสุขภาพ
- ได้รับบริการตลอดช่วงเวลาที่พำนักในประเทศไทยโดยเจ้าหน้าที่ DMC ตามระเบียบที่เกี่ยวข้องของส่วนราชการไทย โดยผู้เดินทางหรือหน่วยงานผู้อุปถัมภ์จะต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายการบริการติดตามตัวดังกล่าว
- เดินทางด้วยยานพาหนะส่วนตัวที่จัดเตรียมไว้เท่านั้นและปฏิบัติตามแผนการเดินทางที่ได้รับการอนุมัติอย่างเคร่งครัด ผู้เดินทางไม่ได้รับอนุญาตให้ใช้ระบบขนส่งสาธารณะหรือเดินทางไปยังสถานที่สาธารณะ
หน่วยงานผู้อุปถัมภ์มีหน้าที่กำกับควบคุมให้ผู้เดินทางที่ได้รับการอนุมัติปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคที่ ใช้บังคับอยู่ของไทย การฝ่าฝืนมาตรการดังกล่าวจะนำมาสู่การใช้บทลงโทษที่กำหนดไว้ตามกฎหมายและข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง ต่อทั้งผู้เดินทางและหน่วยงานผู้อุปถัมภ์
รัฐบาลไทยขอสงวนสิทธิ์ในการแก้ไขรายละเอียดของมาตรการฝ่ายเดียวของไทยข้างต้น หรือระงับ หรือยกเลิกข้อตกลงช่องทางพิเศษกับ […………..…..] ตามสถานการณ์ COVID-19 ภายในของแต่ละฝ่ายโดยการแจ้งของกระทรวงการต่างประเทศไทย การแก้ไขหรือการระงับจะมีผลทันทีในวันที่ฝ่าย […………..…..]ได้รับหนังสือแจ้งดังกล่าว ในขณะที่การยกเลิกจะมีผลเจ็ด (7) วันหลังจากที่ได้รับหนังสือแจ้งดังกล่าว ในกรณีของการระงับหรือยกเลิก สามารถรื้อฟื้นการใช้ความตกลงช่องทางพิเศษได้เมื่อทั้งสองฝ่ายตกลงร่วมกัน
* * * * * * * * * *
กระทรวงการต่างประเทศ
พฤศจิกายน ค.ศ. 2020
วันทำการ : จันทร์ - ศุกร์ เวลา 08.30 - 16.30 น.
(ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์)
งานรับ-ส่งหนังสือ และงานสารบรรณ:
อีเมล [email protected]
เว็บไซต์นี้ได้รับการออกแบบเพื่ออำนวยความสะดวกให้ทุกคนเข้าถึงเว็บไซต์ได้และมีมาตรฐาน WCAG 2.0 ระดับ AA
** เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุดควรใช้ Chrome เวอร์ชั่น 76 ขึ้นไป **