นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
24 เม.ย. 2566
24 เม.ย. 2566
1. บทนำ
กระทรวงการต่างประเทศตระหนักและให้ความสำคัญในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของผู้มาติดต่อและใช้บริการของกระทรวงฯ (“ท่าน”) โดยกระทรวงการต่างประเทศจะดูแลและบริหารจัดการข้อมูลส่วนบุคคลของท่านอย่างโปร่งใส เป็นธรรม และเป็นไปตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 รวมถึงกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
โดยประกาศความเป็นส่วนตัวนี้ (“ประกาศ”) จะแจ้งให้ท่านทราบถึงวิธีการที่กระทรวงการต่างประเทศเก็บรวบรวม ใช้ เปิดเผย และปกป้องดูแลข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน
กระทรวงการต่างประเทศขอแนะนำให้ท่านอ่านและทำความเข้าใจประกาศนี้ก่อนให้ข้อมูลส่วนบุคคลกับกระทรวงการต่างประเทศ หากท่านมีข้อกังวล ข้อสงสัยหรือต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับประกาศนี้ตลอดจนถึงประกาศและนโยบายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง โปรดติดต่อกระทรวงการต่างประเทศตามช่องทางการติดต่อที่ปรากฏท้ายประกาศนี้
2. ข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน
ข้อมูลส่วนบุคคล คือ ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลธรรมดาซึ่งทำให้สามารถระบุตัวบุคคลนั้นได้ ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม เช่น ชื่อ นามสกุล หมายเลขบัตรประจำตัวประชาชน หมายเลขโทรศัพท์ วัน เดือน ปีเกิด รหัสส่วนตัว รูปภาพ หรือวิดีโอที่บันทึกจากกล้องวงจรปิด (CCTV) เป็นต้น แต่ไม่รวมถึงข้อมูลของผู้ถึงแก่กรรม
โดยทั่วไป กระทรวงการต่างประเทศจะเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลจากการที่ท่านเป็นผู้ให้ข้อมูลนั้นกับกระทรวงการต่างประเทศโดยตรง เช่น กรอกข้อมูลบนแบบฟอร์ม การให้ข้อมูลผ่านโทรศัพท์หรือเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันต่าง ๆ ที่กระทรวงการต่างประเทศจัดให้มีขึ้น เป็นต้น เว้นแต่บางกรณีกระทรวงการต่างประเทศอาจได้รับข้อมูลส่วนบุคคลของท่านจากบุคคลที่สาม โดยกระทรวงการต่างประเทศเชื่อโดยสุจริตว่าบุคคลที่สามดังกล่าวมีสิทธิเก็บข้อมูลส่วนบุคคลของท่านและเปิดเผยกับกระทรวงการต่างประเทศ และกระทรวงการต่างประเทศจะเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลเท่าที่จำเป็น และใช้ข้อมูลดังกล่าวตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด ซึ่งเป็นวัตถุประสงค์ที่ชอบด้วยกฎหมาย หรือเป็นการดำเนินการตามข้อกำหนดของกฎหมายที่ให้กระทรวงการต่างประเทศต้องจัดเก็บข้อมูลดังกล่าว
ทั้งนี้ ในกรณีที่ท่านมีการติดต่อหรือใช้บริการผ่านเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันของกระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศมีความจำเป็นต้องปฏิบัติตามกฎหมายซึ่งกำหนดให้กระทรวงการต่างประเทศต้องเก็บรวบรวมข้อมูลของท่านจากการเข้าใช้งานดังกล่าว เช่น หมายเลข IP Address เป็นต้น นอกจากนี้ เพื่ออำนวยความสะดวกในการใช้บริการเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน กระทรวงการต่างประเทศอาจมีการใช้เทคโนโลยีอัตโนมัติในการเก็บรวบรวมข้อมูลการใช้งานของท่าน ซึ่งอาจรวมถึง คุกกี้ เว็บบีคอน พิกเซลแท็ก และเทคโนโลยีการติดตามอื่น ๆ ที่มีลักษณะคล้ายกัน โดยกระทรวงการต่างประเทศขอเรียกรวมกันว่า “คุกกี้ (Cookie)” ซึ่งท่านสามารถอ่านรายละเอียดการใช้คุกกี้ได้บนเว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศ
ข้อมูลอ่อนไหว (Sensitive Data) ด้วยกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลได้มีการกำหนดข้อมูลบางประเภทให้เป็นข้อมูลอ่อนไหว เช่น เชื้อชาติ ศาสนา พฤติกรรมทางเพศ ความคิดเห็นทางการเมือง ความพิการ ข้อมูลพันธุกรรม ข้อมูลชีวภาพ ข้อมูลสุขภาพ เป็นต้น และการเก็บรวบรวมจะทำได้ต้องเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งรวมถึงอาจต้องได้รับความยินยอมจากท่าน ดังนั้น กระทรวงการต่างประเทศจะดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลอ่อนไหวเฉพาะในกรณีที่จำเป็นเท่านั้น และกระทรวงการต่างประเทศจะแจ้งให้ท่านทราบอย่างชัดแจ้งถึงเหตุผลความจำเป็นรวมถึงอาจดำเนินการขอความยินยอมจากท่านเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลอ่อนไหวดังกล่าวในบางกรณี
ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้เยาว์ บุคคลเสมือนไร้ความสามารถ และบุคคลไร้ความสามารถ (“บุคคลที่ถูกจำกัดความสามารถทางกฎหมายในการทำธุรกรรม”) กระทรวงการต่างประเทศ จะทำการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของบุคคลที่ถูกจำกัดความสามารถทางกฎหมายในการทำธุรกรรมเฉพาะกรณีเท่าที่จำเป็นและตามแนวทางที่กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลกำหนด โดยในกรณีที่กระทรวงการต่างประเทศมีความจำเป็นจะต้องประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของบุคคลที่ถูกจำกัดความสามารถทางกฎหมายในการทำธุรกรรมสำหรับกิจกรรมใด กระทรวงการต่างประเทศจะดำเนินการขอความยินยอมจากผู้ปกครองหรือผู้ใช้อำนาจปกครอง ผู้พิทักษ์ หรือ ผู้อนุบาล ที่มีอำนาจกระทำการแทนบุคคลดังกล่าว (แล้วแต่กรณี) ด้วย เว้นแต่เป็นกรณีขอความยินยอมในการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของผู้เยาว์ที่มีอายุมากกว่า 10 ปี ซึ่งเป็นการเฉพาะตัวหรือเป็นการสมแก่ฐานานุรูปแห่งตนและเป็นการอันจำเป็นในการดำรงชีพอันสมควร ซึ่งผู้เยาว์ดังกล่าวสามารถให้ความยินยอมโดยลำพังได้
สำหรับข้อมูลส่วนบุคคลของท่านที่กระทรวงการต่างประเทศอาจมีการเก็บรวบรวม มีดังต่อไปนี้
เมื่อท่านได้มาติดต่อ เข้าร่วมกิจกรรม หรือขอรับบริการใด ๆ ของกระทรวงการต่างประเทศ หรือกรณีกระทรวงการต่างประเทศมีการดำเนินภารกิจอาจมีการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลจากท่าน เช่น
· ข้อมูลส่วนตัว เช่น ชื่อ นามสกุล หมายเลขบัตรประชาชน เป็นต้น
· ข้อมูลการติดต่อ เช่น อีเมล หมายเลขโทรศัพท์ ที่อยู่ ช่องทางติดต่อในสื่อสังคมออนไลน์ สถานที่ทำงาน เป็นต้น
· ข้อมูลเกี่ยวกับงานของท่าน เช่น อาชีพ ตำแหน่ง หน่วยงานต้นสังกัด เป็นต้น
· ข้อมูลด้านเทคนิคและการใช้ข้อมูล เช่น IP Address ในกรณีที่ท่านเข้ารับบริการผ่านระบบออนไลน์ของกระทรวงการต่างประเทศ เป็นต้น
· ข้อมูลส่วนตัวอื่น ๆ ที่ท่านให้กระทรวงการต่างประเทศด้วยความสมัครใจ
3. กระทรวงการต่างประเทศเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลของท่านเพื่ออะไร
กระทรวงการต่างประเทศอาจมีความจำเป็นต้องเก็บรวบรวม ใช้หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน เพื่อ
1) ให้ท่านเข้าใช้บริการหรือเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ของกระทรวงการต่างประเทศ
2) ให้กระทรวงการต่างประเทศสามารถให้ความช่วยเหลือ ตอบข้อซักถามหรือข้อร้องเรียนของท่าน
3) สำรวจและรวบรวมข้อมูลทางสถิติเกี่ยวกับการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศ โดยมีการวิเคราะห์และสรุปเป็นข้อมูลในภาพรวมที่ไม่เปิดเผยตัวตน
4) วิเคราะห์ ตรวจสอบเพื่อปรับปรุงการดำเนินกิจกรรมหรือการให้บริการ ตลอดจนสนับสนุนการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมใหม่ที่จะทำให้ท่านได้รับความสะดวกสบายและได้รับประสบการณ์ที่ดียิ่งขึ้นในการเข้าใช้บริการของกระทรวงการต่างประเทศ
5) สนับสนุนการดำเนินงานของคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ และคณะกรรมการบริหารกระทรวงการต่างประเทศพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
6) รับสมัครงาน
7) จัดซื้อจัดจ้าง และบริหารพัสดุของกระทรวงการต่างประเทศ
8) รับเงิน จ่ายเงิน หรือการดำเนินการใด ๆ ด้านการเงินและการบัญชีของกระทรวงการต่างประเทศ
9) ประชาสัมพันธ์กิจกรรมและข้อมูลข่าวสารของกระทรวงการต่างประเทศให้กับท่านทราบ ตลอดจนเชิญท่านเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ของกระทรวงการต่างประเทศ
10) ป้องกันการกระทำที่ผิดกฎหมาย โดยกระทรวงการต่างประเทศอาจมีการตรวจสอบข้อมูลที่เก็บรวบรวม รวมถึงข้อมูลในกล้อง CCTV เพื่อสอดส่องดูแล ตรวจจับ และป้องกันไม่ให้มีการกระทำที่ผิดกฎหมาย
11) ปฏิบัติงานตามหน้าที่ที่กฎหมายของกระทรวงการต่างประเทศ หรือกฎหมายอื่นกำหนดให้กระทรวงการต่างประเทศต้องปฏิบัติ
4. กฎหมายอนุญาตให้กระทรวงการต่างประเทศเก็บรวบรวม ใช้และเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของท่านอย่างไร
ในการเก็บรวบรวม ใช้ และเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของท่านนั้น กระทรวงการต่างประเทศจะดำเนินการเท่าที่จำเป็นและเป็นไปตามข้อกำหนดของกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล โดยกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลได้กำหนดหลักการและเหตุผลทางกฎหมายไว้หลายประการตามสถานการณ์ที่แตกต่างกัน ซึ่งอนุญาตให้กระทรวงการต่างประเทศในฐานะผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลตามกฎหมายนี้สามารถดำเนินการเก็บรวบรวม ใช้และเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของท่านได้
ทั้งนี้ โดยทั่วไป กระทรวงการต่างประเทศจะเก็บรวบรวม ใช้ และเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน เมื่อมีฐานทางกฎหมายรองรับ ดังนี้
1) ท่าน หรือผู้แทนโดยชอบด้วยกฎหมายของท่านให้ความยินยอม (Consent)
2) เป็นการจำเป็นเพื่อการปฏิบัติตามสัญญาที่ท่านได้เข้าผูกพันกับกระทรวงการต่างประเทศ หรือเพื่อใช้ในการดำเนินการตามคำขอของท่านก่อนเข้าทำสัญญากับกระทรวงการต่างประเทศ
3) เป็นการจำเป็นในการปกป้องหรือระงับอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย หรือสุขภาพของบุคคล (Vital Interest)
4) เป็นการจำเป็นเพื่อการปฏิบัติหน้าที่ในการดำเนินภารกิจเพื่อประโยชน์สาธารณะของกระทรวงการต่างประเทศ หรือปฏิบัติหน้าที่ในการใช้อำนาจรัฐที่ได้มอบให้แก่กระทรวงการต่างประเทศเป็นการจำเป็นเพื่อประโยชน์โดยชอบด้วยกฎหมายของกระทรวงการต่างประเทศ หรือของบุคคลหรือนิติบุคคลอื่น เว้นแต่ประโยชน์ดังกล่าวมีความสำคัญน้อยกว่าสิทธิขั้นพื้นฐานในข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน (Legitimate Interest)เป็นการจำเป็นเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่เกี่ยวกับการจัดทำเอกสารประวัติศาสตร์หรือจดหมายเหตุ เพื่อประโยชน์สาธารณะ หรือที่เกี่ยวกับการศึกษาวิจัยหรือสถิติซึ่งได้จัดให้มีมาตรการปกป้องที่เหมาะสม เพื่อคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของท่าน ทั้งนี้ ตามที่คณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลประกาศกำหนด (Scientific or Research)
5) เป็นการจำเป็นเพื่อปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง (Legal Obligation)
ประกาศนี้เป็นการกำหนดหลักการและหลักปฏิบัติกลาง (main notice) โดยกระทรวงการต่างประเทศมีการดำเนินกิจกรรมและการให้บริการที่หลากหลาย ทั้งกิจกรรมสำหรับบริการภายนอก และกิจกรรมสำหรับการดำเนินกิจการภายใน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายของกระทรวงการต่างประเทศ โดยแต่ละกิจกรรมและบริการเหล่านั้นจำเป็นต้องมีการเก็บรวบรวม ใช้ และเปิดเผยข้อมูลของท่าน โดยลิงก์กิจกรรมและบริการต่าง ๆ ด้านล่างนี้ จะอธิบายและให้รายละเอียดกับท่านเกี่ยวกับการเก็บรวบรวม ใช้ และเปิดเผยข้อมูลของท่านที่แต่ละกิจกรรมหรือแต่ละบริการมีการดำเนินการ
รายละเอียดเกี่ยวกับการเก็บรวบรวม ใช้ และเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลตามตารางกิจกรรม/บริการข้างต้นนี้เป็นส่วนหนึ่งของประกาศการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และนโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของกระทรวงการต่างประเทศท่านสามารถอ่านรายละเอียดนโยบาย ประกาศ และแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของกระทรวงการต่างประเทศทั้งหมดได้บนเว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศ หากท่านมีข้อสงสัยหรือต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับประกาศนี้ สามารถติดต่อได้ที่ อีเมล: [email protected]
5. สิทธิของท่านในข้อมูลส่วนบุคคล
เจ้าของข้อมูลมีสิทธิตามกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และกระทรวงการต่างประเทศให้ความสำคัญอย่างยิ่งในการดูแลและอำนวยความสะดวกแก่ท่านในฐานะเจ้าของข้อมูลในการดำเนินการตามสิทธิเหล่านั้นดังนี้
· สิทธิในการได้รับแจ้ง กระทรวงการต่างประเทศจะมีการแจ้ง “ประกาศการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Notice)” ที่มีรายละเอียดวัตถุประสงค์ในการเก็บรวบรวม ใช้ และเปิดเผยที่ชัดเจน
· สิทธิในการเพิกถอนความ ท่านสามารถขอเพิกถอนความยินยอมที่เคยให้กระทรวงการต่างประเทศไว้ได้ทุกเมื่อ
· สิทธิในการเข้าถึงข้อมูล ท่านสามารถขอเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน และขอสำเนาข้อมูลส่วนบุคคล ตลอดจนสามารถขอให้กระทรวงการต่างประเทศเปิดเผยการได้มาซึ่งข้อมูลดังกล่าวได้
· สิทธิในการแก้ไขข้อมูล ท่านสามารถขอปรับปรุงแก้ไขข้อมูลส่วนบุคคลที่ไม่ถูกต้องได้ เพื่อให้ข้อมูลดังกล่าวมีความถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และไม่ก่อให้เกิดความเข้าใจผิด
· สิทธิในการลบข้อมูล ท่านสามารถขอให้กระทรวงการต่างประเทศ ลบ หรือทำลาย หรือทำให้ข้อมูลส่วนบุคคลเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวบุคคลที่เป็นเจ้าของข้อมูลได้
· สิทธิในการโอนข้อมูล ในกรณีที่ระบบข้อมูลของกระทรวงการต่างประเทศรองรับการอ่านหรือใช้งานโดยทั่วไปด้วยเครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่ทำงานอัตโนมัติ และสามารถใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลได้ด้วยวิธีการอัตโนมัติ ท่านสามารถขอรับสำเนาข้อมูลส่วนบุคคลของท่านได้ รวมถึงขอให้มีการโอนถ่ายข้อมูลดังกล่าวไปยังผู้ควบคุมข้อมูลอื่นโดยอัตโนมัติได้ และขอรับข้อมูลส่วนบุคคลที่มีการส่งหรือโอนดังกล่าวได้
· สิทธิในการระงับการใช้ข้อมูล ท่านสามารถขอให้กระทรวงการต่างประเทศระงับการใช้ข้อมูลส่วนบุคคลได้
· สิทธิในการคัดค้านการประมวลผลข้อมูล ท่านสามารถขอคัดค้านการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลได้
ทั้งนี้ ในบางกรณีกระทรวงการต่างประเทศอาจปฏิเสธคำขอใช้สิทธิข้างต้นได้ หากมีเหตุอันชอบธรรมด้วยกฎหมาย หรือเป็นการดำเนินการใด ๆ เพื่อวัตถุประสงค์หรือเป็นกรณีที่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายหรือคำสั่งศาล หรือเป็นกรณีที่อาจส่งผลกระทบและก่อให้เกิดความเสียหายต่อสิทธิหรือเสรีภาพของเจ้าของข้อมูลหรือบุคคลอื่น
หากท่านมีความประสงค์ที่จะใช้สิทธิดังกล่าว ท่านสามารถดำเนินการได้ตามข้อแนะนำที่อธิบายไว้ใน การตรวจสอบและการขอใช้สิทธิบนเว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศ
6. กระทรวงการต่างประเทศมีการเปิดเผยข้อมูลของท่านกับใครบ้าง
กระทรวงการต่างประเทศจะไม่เผยแพร่ จำหน่าย จ่าย แจก แลกเปลี่ยน โอนหรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลใด ๆ ของท่านที่กระทรวงการต่างประเทศได้เก็บรวบรวมไว้ให้แก่บุคคลภายนอก เว้นแต่เป็นการดำเนินการตามที่กำหนดในประกาศนี้ หรือเมื่อได้รับการร้องขอหรือได้รับความยินยอมจากท่าน หรือภายใต้บางสถานการณ์ ดังนี้
กรณีที่กระทรวงการต่างประเทศเชื่อโดยสุจริตว่าเป็นข้อบังคับทางกฎหมาย หรือเป็นการปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าหน้าที่รัฐที่มีอำนาจโดยชอบด้วยกฎหมาย หรือเป็นการดำเนินการตามหมายศาล คำสั่งศาล หรือกระบวนการยุติธรรม เป็นการแบ่งปันข้อมูลกับหน่วยงานอื่นที่เชื่อถือได้ ซึ่งทำงานในนามหรือทำงานให้กระทรวงการต่างประเทศภายใต้ข้อตกลงหรือสัญญาที่ให้มั่นใจว่าหน่วยงานดังกล่าวจะมีการปฏิบัติตามข้อกำหนดของกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลเช่นเดียวกับกระทรวงการต่างประเทศ โดยการแบ่งปันข้อมูลดังกล่าวอาจมีทั้งกรณีการจัดเก็บข้อมูล และการใช้ข้อมูลเพื่อส่งมอบบริการแก่ท่าน หรือเพื่อการดำเนินโครงการหรือกิจกรรมของกระทรวงการต่างประเทศ เช่น การสำรวจและวิเคราะห์ข้อมูล การประชาสัมพันธ์ เป็นต้น
กรณีที่กระทรวงการต่างประเทศเชื่อโดยสุจริตและมีเหตุผลที่ดีที่จำเป็นต้องเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน ซึ่งเป็นสถานการณ์ที่กระทรวงการต่างประเทศเห็นว่าสำคัญยิ่งกว่าการปกป้องความเป็นส่วนตัวของท่าน และไม่ได้เกิดขึ้นบ่อย ได้แก่ เพื่อการสืบสวน สอบสวน และระงับเหตุอาชญากรรม การทุจริต การฉ้อโกง หรือเพื่อป้องกันหรือรับมือกับภัยคุกคามตลอดจนการกระทำที่อาจสร้างความเสียหายต่อสิทธิ ทรัพย์สิน หรือความปลอดภัยของสาธารณะ รวมถึงของกระทรวงการต่างประเทศและผู้ที่เกี่ยวข้อง หรือเพื่อป้องกันหรือรับมือการกระทำที่ละเมิดต่อข้อตกลงการใช้บริการของกระทรวงการต่างประเทศ หรือต่อกฎหมาย
ในกรณีที่กระทรวงการต่างประเทศมีความกังวลเกี่ยวกับความปลอดภัยทางกายภาพของท่าน หรือเห็นว่ากระทรวงการต่างประเทศต้องดำเนินการบางอย่างเพื่อปกป้องท่านจากภัยคุกคามหรือการกระทำใด ๆ ที่อาจทำให้ท่านเสียหาย กระทรวงการต่างประเทศจะหารือกับท่าน และถ้าเป็นไปได้ กระทรวงการต่างประเทศจะขออนุญาตท่านในการแจ้งสถานการณ์ที่ท่านประสบอยู่กับบุคคลอื่นที่จำเป็นต้องทราบ ก่อนการดำเนินการนั้น
หากมีกรณีดังกล่าวข้างต้นเกิดขึ้น กระทรวงการต่างประเทศจะมีการบันทึกไว้เป็นหลักฐานว่า ข้อมูลใดที่กระทรวงการต่างประเทศมีการเปิดเผยภายใต้เหตุผลและสถานการณ์ใด เพื่อท่านสามารถทราบได้ว่า กระทรวงการต่างประเทศได้มีการดำเนินการอะไรไปเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน
7. กระทรวงการต่างประเทศมีการปกป้องดูแลข้อมูลของท่านอย่างไร
กระทรวงการต่างประเทศตระหนักถึงความไว้วางใจของท่านที่ได้ให้ข้อมูลที่สำคัญกับกระทรวงการต่างประเทศ และโดยกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลกำหนดให้กระทรวงการต่างประเทศในฐานะผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลต้องมีมาตรการและการจัดการด้านความมั่นคงปลอดภัย เพื่อให้มั่นใจว่า ข้อมูลเหล่านั้นจะได้รับการปกป้องดูแล และพร้อมให้เจ้าของข้อมูลเข้าถึงและตรวจสอบ
โดยตัวอย่างมาตรการและการจัดการด้านความมั่นคงปลอดภัยในการปกป้องดูแลข้อมูลส่วนบุคคลที่กระทรวงการต่างประเทศมีการนำมาใช้ เช่น
1) กำหนดมาตรการป้องกันทางกายภาพ และการจำกัดการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลไว้เฉพาะพนักงานของกระทรวงการต่างประเทศที่มีความจำเป็นต้องเข้าถึงข้อมูลนั้น ๆ (Need to Know Basis)
2) กำหนดมาตรการป้องกันการเข้าถึงระบบและข้อมูล เช่น การใช้รหัสผ่านเพื่อเข้าสู่ระบบการให้บริการ เป็นต้น เพื่อป้องกันมิให้ผู้ที่ไม่มีสิทธิเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน
3) มีการเข้ารหัสข้อมูล (Encryption) ที่มีชั้นความลับเพื่อให้ข้อมูลไม่สามารถถูกเปิดอ่านได้จากผู้ที่ไม่มีสิทธิ
4) กำหนดกระบวนการทำงานในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และการรับมือกับปัญหาหรือเหตุอันน่าสงสัยว่าจะมีการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล โดยหากเกิดเหตุดังกล่าว กระทรวงการต่างประเทศจะรีบแจ้งท่านทราบโดยเร็ว รวมถึงแจ้งเจ้าหน้าที่รัฐที่ดูแลเรื่องนี้ในกรณีที่กฎหมายกำหนดให้ต้องแจ้ง
5) มีการอบรมบุคลากรของกระทรวงการต่างประเทศเพื่อสร้างความตระหนักและความเข้าใจในขั้นตอนการปฏิบัติงานในการดูแลคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และการรับมือกับปัญหาหรือเหตุอันน่าสงสัยว่าจะมีการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล
6) ทบทวนกระบวนการทำงานในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลตามระยะเวลาที่กำหนด เพื่อให้มั่นใจว่ากระบวนการทำงานเป็นไปอย่างเหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน
7) ตรวจสอบ ทดสอบระบบที่มีการจัดเก็บหรือประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อให้มั่นใจว่าระบบหรือเทคโนโลยีที่ใช้มีความมั่นคงปลอดภัย และมีการปรับปรุงและติดตั้งซอฟต์แวร์การจัดการด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยเวอร์ชันล่าสุดแล้ว (Update Patches)
อย่างไรก็ตาม โปรดตระหนักว่า การส่งข้อมูลผ่านเครือข่ายสาธารณะหรือการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์สาธารณะหรือแม้แต่การใช้เครื่องคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์สื่อสารส่วนตัวของท่านซึ่งติดมัลแวร์ มีความเสี่ยง และกระทรวงการต่างประเทศไม่สามารถรับประกันความปลอดภัยในข้อมูลของท่าน ซึ่งอาจถูกลักลอบเข้าถึง หรือถูกเปิดเผย หรือถูกโอนถ่ายออกไป และทำให้ท่านเกิดความเสียหายได้
หากท่านต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยในระบบสารสนเทศ ท่านสามารถศึกษาได้จาก “นโยบายและแนวปฏิบัติการรักษาความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ” ของกระทรวงการต่างประเทศ
8. การจัดเก็บและโอนข้อมูล
กระทรวงการต่างประเทศมีการจัดเก็บ ใช้และประมวลข้อมูลส่วนบุคคลของท่านบนระบบที่ตั้งอยู่ในประเทศไทย อย่างไรก็ตาม การโอนข้อมูลดังกล่าวเพื่อจัดเก็บหรือประมวลผลในบางกรณีอาจเป็นการดำเนินการข้ามพื้นที่หรือข้ามประเทศ โดยกระทรวงการต่างประเทศจะมีการตรวจสอบเสมอเพื่อให้แน่ใจว่าการโอนข้อมูลเป็นไปอย่างปลอดภัย และผู้รับโอนข้อมูลมีมาตรการป้องกันและคุ้มครองข้อมูลที่เป็นไปตามมาตรฐานที่กฎหมายกำหนด รวมทั้งมีการจัดทำสัญญากับบุคคลที่สามที่เข้ามาเกี่ยวข้องในการโอนข้อมูล จัดเก็บหรือประมวลผล เพื่อให้มีการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลตามที่กระทรวงการต่างประเทศกำหนด
9. ระยะเวลาในการจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน
กระทรวงการต่างประเทศจะจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลของท่านตามระยะเวลาเท่าที่จำเป็น เพื่อการปฏิบัติหน้าที่และการให้บริการภายใต้วัตถุประสงค์โดยชอบด้วยกฎหมายของกระทรวงการต่างประเทศ โดยระยะเวลาการจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลอาจมีความแตกต่างกันตามภารกิจของกระทรวงการต่างประเทศ
อย่างไรก็ดี กระทรวงการต่างประเทศอาจจำเป็นต้องจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลของท่านเกินระยะเวลาที่กำหนดข้างต้น หากมีเหตุที่กระทรวงการต่างประเทศได้รับแจ้งหรือเชื่อโดยสุจริตได้ว่าอาจมีการกระทำละเมิดข้อตกลงการใช้บริการของกระทรวงการต่างประเทศ หรือมีการกระทำฝ่าฝืนกฎหมาย หรือเกิดข้อพิพาท และจำเป็นต้องมีการสืบสวน สอบสวน ตลอดจนรวบรวมหลักฐานเพื่อดำเนินคดีตามกฎหมาย โดยกระทรวงการต่างประเทศจะจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลของท่านตามระยะเวลาเท่าที่จำเป็นจนกว่ากระบวนการจะเสร็จสิ้น หรือตามระยะเวลาที่กฎหมายที่เกี่ยวข้องในเรื่องนั้นกำหนด
10. การเชื่อมโยงไปยังบริการของบุคคลภายนอก
บางบริการของกระทรวงการต่างประเทศอาจมีการเชื่อมโยงไปยังเว็บไซต์ แอปพลิเคชัน หรือบริการอื่นที่เป็นของบุคคลที่สาม
ซึ่งกระทรวงการต่างประเทศมีไว้เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับท่านเท่านั้น หากท่านใช้การเชื่อมโยงดังกล่าว ท่านจะออกจากบริการของกระทรวงการต่างประเทศ โดยกระทรวงการต่างประเทศไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้อง หรือสามารถตรวจสอบ หรือควบคุมความถูกต้องและความน่าเชื่อถือในเว็บไซต์แอปพลิเคชัน หรือบริการเหล่านั้น
และโดยประกาศนี้ ใช้เฉพาะสำหรับการให้บริการของกระทรวงการต่างประเทศเท่านั้น หากท่านใช้การเชื่อมโยงดังกล่าวเพื่อออกไปยังบริการของบุคคลที่สาม ซึ่งอยู่นอกเหนือขอบเขตของประกาศนี้ กระทรวงการต่างประเทศขอแนะนำให้ท่านได้อ่านและทำความเข้าใจนโยบายหรือประกาศการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของบริการเหล่านั้นก่อนการใช้บริการ
11. การทบทวนและปรับปรุงประกาศ
กระทรวงการต่างประเทศอาจมีปรับปรุงประกาศนี้เป็นครั้งคราว เพื่อให้แน่ใจว่าเนื้อหาจะมีความเหมาะสม เป็นปัจจุบัน และสอดคล้องตามกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง หากกระทรวงการต่างประเทศมีการปรับปรุงแก้ไขประกาศนี้ กระทรวงการต่างประเทศจะแสดงประกาศเวอร์ชันล่าสุดไว้บนเว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศและอาจจะแจ้งให้ท่านทราบผ่านช่องทางต่าง ๆ ตามความเหมาะสม กระทรวงการต่างประเทศขอแนะนำให้ท่านหมั่นเข้ามาอ่านและตรวจสอบประกาศนี้อย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะก่อนที่ท่านจะส่งข้อมูลส่วนบุคคลผ่านบริการของกระทรวงการต่างประเทศ
ทั้งนี้ หากท่านยังคงใช้บริการของกระทรวงการต่างประเทศ ภายหลังจากที่ประกาศนี้มีการปรับปรุงแก้ไขและได้มีการแสดงประกาศไว้ที่นี้แล้ว ถือว่าท่านเห็นชอบและยอมรับในประกาศฉบับที่ปรับปรุงแล้ว
12. ติดต่อกระทรวงการต่างประเทศ
หากท่านมีข้อสงสัย หรือเสนอแนะข้อคิดเห็น ข้อติชม หรือต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับรายละเอียดในประกาศนี้ ท่านสามารถติดต่อกระทรวงการต่างประเทศ ได้ที่
เลขที่ 443 ถนนศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400
โทร 0-2203-5000 โทรสาร 0-2643-5018 อีเมล [email protected]
วันทำการ : จันทร์ - ศุกร์ เวลา 08.30 - 16.30 น.
(ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์)
งานรับ-ส่งหนังสือ และงานสารบรรณ:
อีเมล [email protected]
เว็บไซต์นี้ได้รับการออกแบบเพื่ออำนวยความสะดวกให้ทุกคนเข้าถึงเว็บไซต์ได้และมีมาตรฐาน WCAG 2.0 ระดับ AA
** เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุดควรใช้ Chrome เวอร์ชั่น 76 ขึ้นไป **