สรุปการแถลงข่าวประจำสัปดาห์
วันพฤหัสบดีที่ ๒๘ ตุลาคม ๒๕๖๔ เวลา ๑๓.๓๐ น.
ทาง Facebook Live กระทรวงการต่างประเทศ
- ช่วงสัปดาห์หน้า จะเป็นช่วงเวลาสำคัญสำหรับไทย เนื่องจากจะมีการเปิดประเทศเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจตามนโยบายรัฐบาล ตั้งแต่วันที่ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๖๔ ซึ่งกระทรวงการต่างประเทศ ขอยืนยันความพร้อมของกระทรวงฯ ในการอำนวยความสะดวกแก่ผู้ที่จะเดินทางเข้าไทย รวมทั้งความพร้อมของระบบ Thailand Pass ซึ่งได้มีการออกข่าวประชาสัมพันธ์แล้วอย่างต่อเนื่อง โดยในวันพรุ่งนี้ (๒๙ ตุลาคม ๒๕๖๔) จะมีการเชิญอธิบดีกรมการกงสุล มาร่วมรายการ Spokesman Live! เพื่ออธิบายและตอบข้อซักถามต่าง ๆ ในประเด็นการเดินทางเข้าประเทศไทยด้วย
๑. การปรับปรุงมาตรการการเดินทางเข้าประเทศไทยทางอากาศ ตั้งแต่วันที่ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๖๔
๑.๑ มาตรการในการเดินทางเข้าประเทศไทยหลังจาก ๑ พฤศจิกายน ๒๕๖๔
- ตามที่นายกรัฐมนตรีประกาศเริ่มใช้นโยบายเปิดประเทศ ตั้งแต่วันที่ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๖๔ เพื่อการฟื้นฟูเศรษฐกิจ และสอดคล้องสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-๑๙ ที่เริ่มมีแนวโน้มที่ดีขึ้น กระทรวงการต่างประเทศในฐานะหน่วยงานหลักที่มีหน้าที่ดูแลมาตรการเดินทางเข้าประเทศ ได้ร่วมกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง กำหนดมาตรการเดินทางเข้าประเทศไทย (เฉพาะเดินทางเข้าทางอากาศ) สรุปได้โดยสังเขปเป็น ๓ แนวทาง ดังนี้
- ผู้เดินทางมาจากประเทศ/พื้นที่ ตามประกาศ ศปก.กต. (ที่ได้รับการยกเว้นไม่กักตัว)
- เมื่อวันที่ ๒๑ ตุลาคม ๒๕๖๔ กระทรวงการต่างประเทศได้ออกประกาศ ศปก. กต. กำหนดรายชื่อประเทศและพื้นที่ต้นทางที่อนุญาตให้เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร สำหรับบุคคลประเภท (๑๓) ซึ่งอนุญาตให้ผู้เดินทางจาก ๔๕ ประเทศ และ ๑ พื้นที่ สามารถเดินทางเข้าประเทศไทยได้โดยยกเว้นการกักตัว (เฉพาะการเดินทางเข้าทางอากาศ) ตั้งแต่วันที่ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๖๔ เป็นต้นไป โดยสามารถตรวจสอบรายชื่อประเทศ/พื้นที่ ดังกล่าว รวมทั้งรายละเอียดของมาตรการต่าง ๆ ได้ทางเว็บไซต์, Facebook หรือ Twitter ของกระทรวงการต่างประเทศ และกรมการกงสุล
- ผู้ที่เข้าข่ายไม่ต้องกักตัว จะต้องพำนักอยู่ในประเทศ/พื้นที่ที่ได้รับอนุญาตไม่ต่ำกว่า ๒๑ วัน รวมทั้งได้รับวัคซีนครบถ้วนตามโดสที่ผู้ผลิตกำหนดมาเป็นเวลาไม่ต่ำกว่า ๑๔ วันก่อนเดินทาง
- ผู้ที่เข้าข่ายไม่ต้องกักตัว ต้องมีผลตรวจหาเชื้อโควิด-๑๙ ด้วยวิธี RT-PCR ที่ออกภายใน ๗๒ ชั่วโมงก่อนเดินทาง และเมื่อเดินทางถึงประเทศไทย ต้องเข้ารับการตรวจหาเชื้อโควิด-๑๙ ด้วยวิธี RT-PCR จำนวน ๑ ครั้ง ในวันที่เดินทางถึง และมีหลักฐานการจ่ายค่าที่พักในโรงแรมที่เข้าร่วม SHA+ หรือ Alternative Quarantine จำนวน ๑ คืน โดยต้องรอในห้องพักจนกว่าจะได้รับผลตรวจยืนยันว่าไม่พบเชื้อโควิด-๑๙ จากนั้นจึงจะสามารถเดินทางไปพื้นที่ใดก็ได้ในประเทศไทย
- กรณีผู้ที่พำนักอยู่ในประเทศไทย (ไม่ว่าจะเป็นคนไทยหรือต่างชาติ) หากเดินทางไปยังประเทศ/พื้นที่ตามประกาศ ศปก.กต. สามารถเดินทางเข้าประเทศไทยและได้รับยกเว้นการกักตัว โดยไม่จำเป็นต้องอยู่ในประเทศ/พื้นที่ตามประกาศ ศปก.กต. ครบ ๒๑ วัน
(๒) ผู้เดินทางเข้าพื้นที่นำร่องท่องเที่ยว (Sandbox programme)
- ศบค. ได้ประกาศจังหวัดที่เป็นพื้นที่นำร่องท่องเที่ยว (Sandbox programme) ๑๗ จังหวัด (เฉพาะอำเภอที่กำหนด) ที่จะเริ่มใช้ตั้งแต่วันที่ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๖๔ โดยหลักเกณฑ์ในการรับผู้เดินทางเข้า จะปรับใช้แนวทางจากโครงการนำร่อง ที่ประสบผลสำเร็จมาก่อนหน้านี้ อาทิ Phuket Sandbox, Samui Plus
- ผู้เดินทางเข้าพื้นที่ฯ จะเดินทางมาจากประเทศใดก็ได้ โดยต้องได้รับวัคซีนครบโดสตามที่ผู้ผลิตกำหนด เป็นเวลาไม่ต่ำกว่า ๑๔ วันก่อนเดินทาง และอยู่ในพื้นที่ Sandbox เป็นเวลา ๗ วัน โดยมีหลักฐานการจ่ายค่าที่พัก SHA+ จำนวน ๗ วัน
- ผู้เดินทางเข้าพื้นที่ ต้องมีผลตรวจหาเชื้อโควิด-๑๙ ด้วยวิธี RT-PCR ที่ออกภายใน ๗๒ ชั่วโมงก่อนเดินทาง และต้องเข้ารับการตรวจหาเชื้อโควิด-๑๙ ด้วยวิธี RT-PCR ๒ ครั้ง เมื่อเดินทางมาถึงประเทศไทย ในวันแรก และวันที่ ๖ หรือ ๗
- ผู้เดินทางเข้าพื้นที่ฯ ต้องเดินทางเข้าประเทศไทยทางท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิ ดอนเมือง เชียงใหม่ ภูเก็ต สมุย อู่ตะเภา และบุรีรัมย์ (เฉพาะเที่ยวบินเช่าเหมาลำ)
(๓) ผู้เดินทางเข้า Alternative Quarantine
- สำหรับผู้เดินทางเข้าประเทศไทย ที่ไม่ได้รับวัคซีนหรือได้รับวัคซีนไม่ครบตามโดสที่ผู้ผลิตกำหนด สามารถเข้ารับการกักตัวในโรงแรม AQ เป็นเวลา ๑๐ วัน
- ผู้เดินทางเข้า AQ ต้องมีผลตรวจหาเชื้อโควิด-๑๙ ด้วยวิธี RT-PCR ที่ออกภายใน ๗๒ ชั่วโมงก่อนเดินทาง (คนไทยไม่ต้องมีผลตรวจหาเชื้อก่อนเดินทาง) และต้องเข้ารับการตรวจหาเชื้อโควิด-๑๙ ด้วยวิธี RT-PCR ๒ ครั้ง เมื่อเดินทางมาถึงประเทศไทย ในวันแรก และวันที่ ๘ หรือ ๙
ข้อกำหนดอื่น ๆ
- ผู้เดินทางเข้าทุกประเภท ต้องมีประกันภัยที่มีวงเงินคุ้มครองไม่น้อยกว่า ๕๐,๐๐๐ ดอลลาร์สหรัฐ ยกเว้นผู้มีสัญชาติไทย
- อนุญาตให้เด็กที่อายุต่ำกว่า ๑๒ ปี ที่ไม่ได้รับวัคซีน แต่เดินทางเข้าประเทศไทยพร้อมกับผู้ปกครอง สามารถเข้าประเทศไทยได้ตามเงื่อนไขเดียวกันกับผู้ปกครอง
- กรณีผู้ที่เคยติดเชื้อโควิด-๑๙ และได้รับการรักษาหายแล้ว ให้มีใบรับรองแพทย์ที่ยืนยันว่าเคยติดเชื้อโควิด-๑๙ และหลักฐานการได้รับวัคซีน ๑ เข็ม ภายในเวลา ๓ เดือนหลังจากการติดเชื้อฯ โดยต้องฉีดวัคซีนมาแล้วไม่น้อยกว่า ๑๔ วันก่อนออกเดินทาง
- ผู้เดินทางต่างชาติที่ต้องขอรับการตรวจลงตรา (วีซ่า) เพื่อจะเดินทางเข้าไทย ไม่ว่าจะเข้าไทยด้วยมาตรการใด ก็ต้องขอรับการตรวจลงตรา (วีซ่า) เช่นเดิม
๑.๒ ระบบ Thailand Pass และขั้นตอนการเดินทางเข้าประเทศไทย
- ระบบ Thailand Pass จะเปิดให้ผู้เดินทางลงทะเบียนได้ ตั้งแต่วันที่ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๖๔ ทดแทนระบบ COE อย่างไรก็ตาม เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้เดินทาง สอท. สกญ. สามารถอนุมัติ COE ผ่านระบบลงทะเบียนกลางของกระทรวงฯ (coethailand.mfa.go.th) ไปก่อนจนถึงวันที่ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๖๔ โดยอนุโลมให้ผู้เดินทางที่มีคุณสมบัติมาจากประเทศ/พื้นที่ที่ได้รับการยกเว้นการกักตัว สามารถจองโรงแรม (AQ หรือ SHA+) เพียง ๑ คืน ได้
- ระบบ Thailand Pass จะมีการเชื่อมโยงข้อมูลในการเดินทางเข้าประเทศไทยระหว่างกระทรวงการต่างประเทศ และกระทรวงสาธารณสุข โดยในการเดินทางเข้าประเทศไทย ผู้เดินทางต้องดำเนินการ ดังนี้
(๑) ลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์ tp.consular.go.th ล่วงหน้าอย่างน้อย ๗ วันก่อนเดินทางเข้าโดยกรอกข้อมูลและอัพโหลดเอกสารที่เกี่ยวข้อง
(๒) กรมควบคุมโรค (คร.) จะพิจารณาเอกสารรับรองการฉีดวัคซีนผ่านระบบภายในของ Thailand Pass โดยเมื่อ คร. อนุมัติเอกสารรับรองการฉีดวัคซีนของผู้เดินทางแล้ว ผู้เดินทางจะได้รับ Thailand Pass QR Code เพื่อใช้ในการเดินทางเข้าประเทศไทย
(๓) ผู้เดินทางทำการตรวจหาเชื้อโควิด-๑๙ ด้วยวิธี RT-PCR ภายใน ๗๒ ชม. ก่อนเดินทาง
(๔) เดินทางเข้าประเทศไทยโดยแสดง Thailand Pass QR Code พร้อมทั้งเอกสารรับรองการตรวจหาเชื้อโควิด-๑๙ ด้วยวิธี RT-PCR ภายใน ๗๒ ชม. ก่อนเดินทาง จนท. ด่านควบคุมโรคฯ จะสแกน QR Code และตรวจสอบเอกสารการตรวจหาเชื้อจากนั้น ผู้เดินทางจะผ่านพิธีการตรวจคนเข้าเมือง (ตม. และ ศุลกากร) ต่อไป
(๕) เมื่อผ่านพิธีตรวจคนเข้าเมืองแล้ว ผู้เดินทางจะเดินทางจากท่าอากาศยานไปยังโรงแรมที่ทำการสำรองไว้ ด้วยยานพาหนะของโรงแรมแบบ sealed-route โดยโรงพยาบาลคู่สัญญาของโรงแรมจะเป็นผู้ทำการตรวจหาเชื้อโควิด-๑๙ ด้วยวิธี RT-PCR
(๖) ผู้เดินทางรอผลตรวจที่โรงแรม โดยจะสามารถออกจากห้องพักและเดินทางท่องเที่ยวได้เมื่อผลการตรวจหาเชื้อโควิด-๑๙ เป็นลบ (สำหรับผู้เดินทางที่มาจากประเทศ/พื้นที่ ที่ได้รับอนุญาตให้ยกเว้นการกักตัว)
- Schemes for entering Thailand (by air travel), effective from 1 November 2021
- On 11 October 2021, Prime Minister Prayut Chan-o-cha announced on National Television the “re-opening country campaign” from 1 November 2021 to boost economic recovery and in accordance with the COVID-19 situation in Thailand which has been
- The Ministry of Foreign Affairs, in cooperation with related authorities, considered the schemes for entering Thailand (only by air travel) which will become effective from 1 November 2021. There are 3 schemes for different groups of travelers;
(1) Travelers who travel from the countries/territories permitted to enter Thailand (exemption from quarantine)
- On 21 October 2021, the Ministry of Foreign Affairs announced the Notification regarding the list of countries/territories permitted to enter Thailand for individuals under category (13) which granted travelers from 45 countries and 1 territory (by air travel) to enter Thailand with an exemption from quarantine, effective from 1 November 2021. All travelers could check the updated list of countries/territories from the MFA’s and Consular Department’s website, Facebook or twitter.
- Travelers who are in this scheme must reside in the eligible countries/territories for at least 21 consecutive days. Travelers must be fully vaccinated for at least 14 days prior to travelling.
- Travelers who are under this scheme also have to present a RT-PCR COVID-19 test result issued within 72 hours prior to traveling. When arrived in Thailand, travelers must take another one RT-PCR test on the arrival date. Travelers also need to make 1-day reservation at SHA+ Standard or AQ hotel with payment confirmation required. While waiting for the RT-PCR result, travelers must stay at the hotel for 1 night or until they receive negative result, then they are allowed to travel freely in Thailand.
- People who are residing in Thailand (both Thais and foreign nationals) who travel to eligible countries/territories can enter Thailand with an exemption from quarantine. They also DO NOT need to stay in eligible countries/territories for 21 consecutive days.
(2) Travelers who join the Sandbox Programme
- The Government has announced 17 provinces (with specific districts) as pilot tourism provinces or “Sandbox Programme”. Regulations for travelers in this group were adapted from Thailand’s pilot tourism areas such as Phuket Sandbox or Samui Plus, which will be effective from 1 November 2021.
- Travelers who are in this scheme also need to present a RT-PCR COVID test result issued within 72 hours prior to traveling. When arrived in Thailand, travelers must take two RT-PCR tests on arrival date and day 6 or 7 of stay. Travelers also need to make 7-day reservation at SHA+ Standard hotel with payment confirmation required.
- For Sandbox Programme, travelers must arrive through the International Airports at Suvarnabhumi, Don Mueang, Chiang Mai, Phuket, Samui, U-Tapao, and Buriram (Buriram allows chartered flights only).
(3) Travelers who stay in Alternative Quarantine (AQ)
- This scheme is set for travelers who have not fully vaccinated. They are required to have 10-day quarantine at the AQ hotel and can come from any country.
- Travelers who stay in AQ need to present a RT-PCR COVID test result issued within 72 hours prior to traveling. When arrived in Thailand, travelers must take two RT-PCR test on the arrival date and day 8 or 9 of stay. Travelers also need to make 10-day reservation at AQ hotel with payment confirmation required.
Other regulations
- All travelers are required to have an insurance with minimum coverage of USD 50,000 except for Thai nationals.
- Accompanied minors under 12 years of age, are eligible to enter Thailand with the same scheme as their parents.
- For those who were infected with COVID-19 and fully recovered, they required to present a health certificate which confirmed the infection and proof of 1-dose vaccination in 3 months period after infection at least 14 days prior to travelling.
- For those foreign nationals who are required to have a visa must obtain a valid visa before entering Thailand under any travel scheme.
- Thailand Pass and procedure for entering Thailand
- The Thailand Pass system will be ready for registration from 1 November 2021 and will replace the current COE system. However, in order to facilitate to travelers, the Ministry has informed all Thai embassies/Consulates-general to continue approving COE through coethailand.mfa.go.th until 1 November 2021. Travelers from eligible countries/territories are allowed to make only 1-day hotel (AQ or SHA+) reservation at the moment.
- Thailand Pass system has travel information that connects between the Ministry of Foreign Affairs – Ministry of Public Health and Office of Immigration Bureau.
- Procedure for entering Thailand are as follows:
(1) Register through tp.consular.go.th at least 7 days prior to traveling and upload all required documents
(2) The Department of Disease Control (DDC) will approve vaccine certificates of travelers through back office system of Thailand Pass. When the certificate is approved, travelers will receive the “Thailand Pass QR Code” for entering Thailand.
(3) Travelers are required to undergo RT-PCR COVID-19 test within 72 hours prior to traveling.
(4) When entering Thailand, travelers are required to present Thailand Pass QR Code as well as RT-PCR COVID-19 negative result at the checkpoint. Officers at the disease control checkpoint will scan QR Code and examine related documents before travelers can advance to immigration and custom procedures.
(5) When travelers pass the immigration, they will be transported from the airport to their designated hotels by hotel’s vehicles in a seal-route manner. Then travelers will undergo COVID-19 RT-PCR test.
(6) Travelers need to wait for their result at the designate hotel. If they receive negative results, they are allowed to travel to any parts of the country (for travelers from eligible 46 countries/territories).
๒. ผลการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ ๓๘ และ ๓๙ และการประชุมที่เกี่ยวข้อง
ระหว่างวันที่ ๒๖ - ๒๘ ตุลาคม ๒๕๖๔
- พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีได้เข้าร่วมการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ ๓๘ และ ๓๙ และการประชุมสุดยอดที่เกี่ยวข้องผ่านระบบการประชุมทางไกล โดยมีสมเด็จพระราชาธิบดีแห่งบรูไนดารุสซาลามทรงเป็นองค์ประธานการประชุม ขอรายงานผลการประชุมที่เสร็จสิ้นแล้ว ดังนี้
- วันที่ ๒๖ ตุลาคมฯ นายกรัฐมนตรีเข้าร่วม ๕ การประชุม ได้แก่ การประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ ๓๘ ซึ่งเป็นการประชุมในประเด็นขับเคลื่อนประชาคมอาเซียน ซึ่งที่ประชุมฯ ย้ำการขับเคลื่อนประชาคมอาเซียนให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น ตามแนวคิดหลักการเป็นประธานอาเซียนปี ๒๕๖๔ ของบรูไนฯ “เราห่วงใย เราเตรียมพร้อม เรารุ่งเรือง” (We Care, We Prepare, We Prosper)
- นายกรัฐมนตรีผลักดัน ๓ ประเด็นสำคัญ ได้แก่ (๑) การเพิ่มพูนความร่วมมือด้านสาธารณสุขเพื่อแก้ไขปัญหาโควิด-๑๙ การใช้เงินจากกองทุนอาเซียนเพื่อรับมือกับโควิด-๑๙ (ความคิดริเริ่มของประเทศไทย) ในการจัดซื้อวัคซีนโควิด-๑๙ ผลักดันให้อาเซียนส่งเสริมความร่วมมือด้านการวิจัยพัฒนาวัคซีน (๒) การเปิดภูมิภาคอย่างปลอดภัยโดยใช้ประโยชน์จากกรอบการจัดทำระเบียงการเดินทางของอาเซียนเพื่ออำนวยความสะดวกการเดินทางทางธุรกิจและการท่องเที่ยว และขยายโอกาสทางการค้าให้กับผู้ประกอบการในการฟื้นตัวจากโควิด-๑๙ (๓) การส่งเสริมความยั่งยืนของอาเซียน โดยย้ำถึงการส่งเสริมความเติบโตทางเศรษฐกิจที่เป็นมิตรกับโลกตามโมเดลเศรษฐกิจ BCG ของไทย และสนับสนุนความร่วมมือในเรื่อง “วาระสีเขียวอาเซียน”
- การประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ ๓๙ ซึ่งเป็นการหารือเกี่ยวกับการกระชับความสัมพันธ์กับภาคีภายนอก ที่ประชุมฯ เห็นพ้องถึงความสำคัญของการกระชับความสัมพันธ์และความร่วมมือกับคู่เจรจาและภาคีภายนอกของอาเซียนให้แนบแน่นยิ่งขึ้น
- ที่ประชุมแสดงความยินดีที่สหราชอาณาจักรได้รับสถานะเป็นคู่เจรจาอันดับที่ ๑๑ ของอาเซียน
- เห็นชอบต่อข้อเสนอการจัดการประชุมสุดยอดอาเซียน-จีน สมัยพิเศษ เพื่อฉลองวาระครบรอบ ๓๐ ปี ความสัมพันธ์ฯ ในช่วงปลายเดือนพฤศจิกายน ๒๕๖๔ และการประชุมสุดยอดอาเซียน-อียู เพื่อฉลองวาระครบรอบ ๔๕ ปี ความสัมพันธ์ฯ ในปี ๒๕๖๕ ที่กรุงบรัสเซลส์
- ที่ประชุมยังได้แลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นต่อสถานการณ์ที่สำคัญต่าง ๆ ในภูมิภาคและระหว่างประเทศ เช่น ทะเลจีนใต้ หุ้นส่วนไตรภาคีด้านความมั่นคงระหว่างออสเตรเลีย สหราชอาณาจักร และสหรัฐฯ (AUKUS) และสถานการณ์ในเมียนมา
- นายกรัฐมนตรีได้เน้นการรักษาความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและความเป็นแกนกลางของอาเซียน รวมถึงการพิจารณาใช้แนวทางใหม่ ๆ ในการมีปฏิสัมพันธ์กับจีนสหรัฐฯ เพื่อให้ทั้งสองฝ่ายสามารถแสวงจุดร่วมในเรื่องที่เป็นผลประโยชน์ร่วมกันในภูมิภาคได้ อาทิ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
- ในส่วนของสถานการณ์ในเมียนมา นายกรัฐมนตรีย้ำว่าไทยต้องการเห็นสันติภาพและเสถียรภาพในเมียนมาและการกลับคืนสู่กระบวนการประชาธิปไตย และสนับสนุนให้อาเซียนมีบทบาทที่สร้างสรรค์ในการช่วยคลี่คลายสถานการณ์ในเมียนมาผ่านการดำเนินการตามฉันทามติ ๕ ข้อ โดยไทยเห็นว่าบทบาทของผู้แทนพิเศษของประธานอาเซียนเรื่องเมียนมาจะสามารถช่วยสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจและบรรยากาศสำหรับการหารือที่สร้างสรรค์ระหว่างกลุ่มต่าง ๆ ได้ นอกจากนี้ ไทยหวังว่าการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมยังคงดำเนินต่อไปและมีการกระจายความช่วยเหลือไปยังประชาชนทุกฝ่าย
- ในการประชุมสุดยอดอาเซียน-สาธารณรัฐเกาหลี ครั้งที่ ๒๒ นายกรัฐมนตรีย้ำอาเซียนและเกาหลีใต้ควรมุ่งเน้นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่ชาญฉลาด เมืองอัจฉริยะ และอุตสาหกรรมแห่งอนาคตการผลักดันให้ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (Regional Comprehensive Economic Partnership: RCEP) มีผลใช้บังคับโดยเร็ว ได้กล่าวเชิญชวนให้ประเทศสมาชิกอาเซียนและเกาหลีใต้แสวงหาความร่วมมือตามแนวทางใหม่ อาทิ โมเดลเศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว หรือ BCG ซึ่งสอดคล้องกับนโยบาย “Green New Deal” ของสาธารณรัฐเกาหลี
- ในการประชุมสุดยอดอาเซียน-จีน ครั้งที่ ๒๔ โดยมีนายหลี่ เค่อเฉียง นายกรัฐมนตรีจีนเข้าร่วม นายกรัฐมนตรีย้ำความร่วมมือด้านการวิจัยและพัฒนาวัคซีนและยาต้านไวรัสที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ การเตรียมความพร้อมทางสาธารณสุขสำหรับวิกฤตการณ์ในอนาคต ด้านสถานการณ์ในทะเลจีนใต้ นายกรัฐมนตรีย้ำบทบาทที่สร้างสรรค์ของไทยในการส่งเสริมความร่วมมือที่เป็นประโยชน์ต่อทุกฝ่าย อาทิ การปกป้องสิ่งแวดล้อมทางทะเล และย้ำเจตนารมณ์ที่แน่วแน่ของไทยในการสานต่อการเจรจาจัดทำแนวปฏิบัติในทะเลจีนใต้ (Code of Conduct - COC) ที่มีประสิทธิภาพ มีเนื้อหาที่ครอบคลุม และสอดคล้องกับกฎหมายระหว่างประเทศ
- ในการประชุมสุดยอดอาเซียน-สหรัฐฯ ครั้งที่ ๙ โดยประธานาธิบดีโจ ไบเดน เข้าร่วมซึ่งถือเป็นการประชุมครั้งแรกของประธานาธิบดีสหรัฐฯ ตั้งแต่ปี ค.ศ. ๒๐๑๗ ย้ำความมุ่งมั่นของสหรัฐฯ ที่จะเสริมสร้างความสัมพันธ์กับอาเซียนให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น นายกรัฐมนตรีผลักดันความร่วมมือรอบด้านและสร้างสรรค์ระหว่างอาเซียนกับสหรัฐฯ โดยเสนอความร่วมมือใน ๓ ด้าน ได้แก่ ด้านวัคซีนโควิด-๑๙ การส่งเสริมการเติบโตสีเขียว โดยการร่วมกันขับเคลื่อนโมเดลเศรษฐกิจ BCG ในวาระการประธานเอเปคของไทยในปี ๒๕๖๕ และการส่งเสริมการพัฒนาด้านดิจิทัล
- วันที่ ๒๗ ตุลาคมฯ นายกรัฐมนตรีเข้าร่วม ๔ การประชุมระดับผู้นำ ในการประชุมสุดยอดอาเซียน-ญี่ปุ่น ครั้งที่ ๒๔ นายกรัฐมนตรีได้กล่าวถ้อยแถลงในนามอาเซียน ในฐานะที่ไทยเป็นประเทศผู้ประสานงานความสัมพันธ์อาเซียน-ญี่ปุ่น (๒๐๒๑-๒๐๒๔) ย้ำความจำเป็นของการรับมือกับความท้าทายต่าง ๆ ร่วมกัน อาทิ โควิด-๑๙ และการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล พร้อมขอบคุณญี่ปุ่นที่ให้การสนับสนุนกองทุนอาเซียนเพื่อรับมือโควิด-๑๙ และการจัดตั้งศูนย์อาเซียนด้านภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขและโรคอุบัติใหม่
- ในการประชุมสุดยอดอาเซียน - ออสเตรเลีย ครั้งที่ ๑ นายกรัฐมนตรีเสนอการเพิ่มพูนความสัมพันธ์อาเซียน- ออสเตรเลีย ใน ๓ ด้าน ได้แก่ (๑) สาธารณสุข และการพัฒนาสู่ความมั่นคงและการพึ่งพาตนเองด้านวัคซีนในอาเซียน (๒) เศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (BCG) ผ่านความร่วมมือด้านการวิจัยและพัฒนาในด้านต่าง ๆ และ (๓) การฟื้นฟูความเชื่อมโยงระหว่างประชาชน โดยเฉพาะให้นักศึกษาสามารถไปศึกษาต่อที่ออสเตรเลีย
- การประชุมสุดยอดอาเซียนจะสิ้นสุดลงในวันนี้ (๒๘ ตุลาคม ๒๕๖๔) ซึ่งมีการประชุมที่สำคัญนอกเหนือจากที่ได้รายงานไปแล้ว ได้แก่ การประชุมสุดยอดอาเซียนบวกสามครั้งที่ ๒๔ การประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก ครั้งที่ ๑๖ การประชุมสุดยอดอาเซียน-อินเดีย ครั้งที่ ๑๘ และการประชุมสุดยอดอาเซียน-รัสเซีย ครั้งที่ ๔ ซึ่งกระทรวงการต่างประเทศจะประชาสัมพันธ์ผลการประชุมในทราบต่อไป
๓. นายกรัฐมนตรีเข้าร่วมการประชุมระดับผู้นำในการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ ๒๖ ณ เมืองกลาสโกว์ สหราชอาณาจักร ระหว่าง ๑-๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๔
- นายกรัฐมนตรีพร้อมด้วยนายดอน ปรมัตถ์วินัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และนายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) จะเข้าร่วมการประชุมระดับผู้นำในการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (United Nations Framework Convention on Climate Change Conference of the Parties: UNFCCC COP) สมัยที่ ๒๖ หรือ COP26 ณ เมืองกลาสโกว์ สหราชอาณาจักร
- เดิมการประชุมกำหนดจัดขึ้นในเดือนพฤศจิกายน ๒๕๖๓ แต่เลื่อนออกไปเนื่องจากสถานการณ์โควิด-๑๙ ในการประชุม COP26 ไทยจะร่วมหารือเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทั้งในประเด็นการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (mitigation) และการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (adaptation) การถ่ายทอดเทคโนโลยี และการเสริมสร้างขีดความสามารถของประเทศกำลังพัฒนาเพื่อดำเนินการด้านสภาพภูมิอากาศ (climate action)
- หนึ่งในภารกิจสำคัญของไทยใน COP26 คือ การนำเสนอยุทธศาสตร์ระยะยาวเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของไทย (Long-Term Low Greenhouse Gas Emission Development Strategy: LT-LEDS) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินการตามพันธกรณีภายใต้ความตกลงปารีส และไทยจะย้ำให้ประชาคมโลกทราบถึงเป้าหมายและการดำเนินการที่แข็งขันของไทยตลอดช่วงเวลาที่ผ่านมา อาทิ (๑) การยกร่างพระราชบัญญัติการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (๒) การกำหนดเป้าหมายให้มีการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศ จำนวน ๑๕ ล้านคัน หรือประมาณ ๑ ใน ๓ ของยานยนต์ทั้งหมดภายในปี ๒๕๗๘ และ (๓) การปลูกต้นไม้ยืนต้นทั่วประเทศจำนวนหนึ่งร้อยล้านต้นภายในปี ๒๕๖๕ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการแก้ปัญหาโดยใช้ธรรมชาติเป็นพื้นฐาน (nature-based solutions)
๔. เทศบาล ๔ แห่งของไทยได้รับรางวัลและประกาศเกียรติคุณเป็นเมืองแห่งความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมอาเซียน (ASEAN Environmentally Sustainable Cities Awards and Certificates of Recognition)
- เมื่อวันที่ ๒๑ ตุลาคม ๒๕๖๔ เอกอัครราชทูตผู้แทนถาวรไทยประจำอาเซียน ได้เป็นผู้แทนไทยรับมอบรางวัลและประกาศเกียรติคุณเมืองแห่งความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมอาเซียน (ASEAN Environmentally Sustainable Cities Awards and Certificates of Recognition) จากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสิ่งแวดล้อมและป่าไม้อินโดนีเซีย โดยมี ดาโต๊ะ ลิม จก โฮย (Dato Lim Jock Hoi) เลขาธิการอาเซียน ร่วมเป็นสักขีพยาน
- ในปีนี้ เทศบาลในประเทศไทยได้รับรางวัลและประกาศเกียรติคุณ ๔ รายการ ได้แก่ (๑) เทศบาลนครยะลา ได้รับรางวัลเมืองแห่งความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมอาเซียน (๒) เทศบาลนครหาดใหญ่ ได้รับประกาศเกียรติคุณด้านอากาศสะอาด (๓) เทศบาลเมืองทุ่งสง ได้รับประกาศเกียรติคุณด้านน้ำสะอาด และ (๔) เทศบาลเมืองกระบี่ ได้รับประกาศเกียรติคุณด้านพื้นที่สะอาด
- พิธีมอบรางวัลนี้จัดขึ้นทุก ๔ ปี คู่ขนานกับการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านสิ่งแวดล้อม โดยในปีนี้จัดขึ้นเป็นครั้งที่ ๕
๕. รัสเซียแจ้งการกลับมาทำการบินในเที่ยวบินปกติ (Regular Flight) ระหว่างไทยกับรัสเซีย
- Federal Air Transport Agency ของรัสเซีย ได้แจ้งการกลับมาทำการบินในเที่ยวบินปกติระหว่างไทยกับรัสเซีย ตั้งแต่วันที่ ๙ พ.ย. ๒๕๖๔ ใน ๓ เส้นทาง ดังนี้
- กรุงมอสโก-กรุงเทพฯ จำนวน ๒ เที่ยวบินต่อสัปดาห์
- กรุงมอสโก-ภูเก็ต จำนวน ๒ เที่ยวบินต่อสัปดาห์
- จากสนามบินนานาชาติของเมืองต่าง ๆ ในรัสเซียไปยังกรุงเทพฯ และภูเก็ต จำนวน ๑ เที่ยวบินต่อสัปดาห์
- การอนุญาตข้างต้นนี้ เป็นการอนุญาตให้สายการบินพาณิชย์ของรัสเซียสามารถทำการบินเท่านั้น ยังไม่รวมถึงการอนุญาตให้ทำการบินแบบ Chartered flight หรือเช่าเหมาลำ เข้าไปยังประเทศไทย
- Russia resumed regular flight operation from Russia-Thailand
- The Federation Air Transport Agency of the Russian Federation announced the Government of Russian Federation’s decision to resume regular flights between Thailand and Russia from 9 November 2021 as follows;
- Moscow – Bangkok, 2 flights per week
- Moscow – Phuket, 2 flights per week
- From International Airports in other cities of Russia to Bangkok and Phuket with 1 flight per week on each particular route
- Please note that the resumption of above-mentioned routes applies to regular flights only (not chartered flights).
๖. ประชาสัมพันธ์
๖.๑ รายการ คุยกับทูต ซีซั่น ๒
- วันเสาร์ที่ ๓๐ ตุลาคม ๒๕๖๔ เวลา ๑๓.๐๐ น. รายการคุยกับทูต ซีซั่น ๒ จะสัมภาษณ์เอกอัครราชทูตกานติมน รักษาเกียรติ เอกอัครราชทูต ณ กรุงออสโล ในหัวข้อ “สัมพันธ์ไทย-นอร์เวย์ จากสมัย ร.๕ สู่การแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องสิ่งแวดล้อมและนวัตกรรม กับเมืองหลวงแห่งปลาแซลมอน” สามารถติดตามได้ทางเว็ปไซต์ the Cloud เฟสบุ๊คกระทรวงการต่างประเทศ และช่องทางต่าง ๆ ตามที่ปรากฏบนภาพฉาย
๖.๒ รายการ Spokesman Live!!!
- ในวันศุกร์ที่ ๒๙ ตุลาคม ๒๕๖๔ เวลา ๒๐.๐๐ – ๒๐.๓๐ น. ขอเชิญติดตามรายการ คุยรอบโลกกับโฆษก กต. - Spokesman Live!!! จะสัมภาษณ์นายฉัตรชัย วิริยเวชกุล อธิบดีกรมการกงสุล หัวข้อ “การเดินทางเข้าประเทศประเทศไทยหลังวันที่ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๖๔” สามารถติดตามชมได้ที่ Facebook “กระทรวงการต่างประเทศ” และ “Saranrom Radio”
๖.๓ รายการบันทึกสถานการณ์ และ MFA Update
- วันพฤหัสบดีที่ ๒๘ ตุลาคม ๒๕๖๔ เวลา ๐๘.๓๐ - ๐๘.๔๕ น. รายการ “บันทึกสถานการณ์” ทาง FM 92.5 (ภาษาไทย) ได้สัมภาษณ์นายฉัตรชัย วิริยเวชกุล อธิบดีกรมการกงสุล หัวข้อ “กรมการกงสุล กับงานบริการประชาชนในช่วงโควิด” สามารถรับฟังย้อนหลังได้ที่ Facebook “สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย”
- วันศุกร์ที่ ๒๙ ตุลาคม ๒๕๖๔ เวลา ๐๘.๐๕ - ๐๘.๒๐ น. รายการ “MFA Update” FM 88.0 (ภาษาอังกฤษ) จะสัมภาษณ์ ดร.วิลาวรรณ มังคละธนะกุล อธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย หัวข้อ “International Law and Global Concerns: Sea Level Rise” สามารถรับฟังย้อนหลังได้ทาง Facebook “FM 88 Radio Thailand English”
ติดตามชมการแถลงข่าวย้อนหลังได้ทาง>>>https://fb.watch/8WguYS13HY/
* * * * *