ผลการแถลงข่าวประจำสัปดาห์ โดยอธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ วันพฤหัสบดีที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔ เวลา ๑๑.๓๐ น. ผ่านการถ่ายทอดสด Facebook Live จากกระทรวงการต่างประเทศ

ผลการแถลงข่าวประจำสัปดาห์ โดยอธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ วันพฤหัสบดีที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔ เวลา ๑๑.๓๐ น. ผ่านการถ่ายทอดสด Facebook Live จากกระทรวงการต่างประเทศ

วันที่นำเข้าข้อมูล 25 ก.พ. 2564

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 29 พ.ย. 2565

| 3,181 view

ผลการแถลงข่าวประจำสัปดาห์ โดยอธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ
วันพฤหัสบดีที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔ เวลา ๑๑.๓๐ น.
ผ่านการถ่ายทอดสด Facebook Live จากกระทรวงการต่างประเทศ

๑. ผลการหารือระหว่างนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ

  • เมื่อวันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔ พล.อ.ลอยด์ ออสติน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ได้โทรศัพท์ทางไกลมายัง พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ในโอกาสที่ พล.อ. ลอยด์ฯ เข้ารับตำแหน่ง โดยทั้งสองฝ่ายได้ชื่นชมความสัมพันธ์ทางทหารระหว่างไทย - สหรัฐฯ ที่มีมายาวนานในฐานะที่ไทยเป็นพันธมิตรเก่าแก่ที่สุดของสหรัฐฯ ในภูมิภาค พร้อมหารือสานต่อความร่วมมือทางทหาร
  • พล.อ.ลอยด์ฯ กล่าวว่าไทยเป็นประเทศที่มีบทบาทนำในภูมิภาค และขอให้ไทยใช้ความสัมพันธ์อันดีระหว่างไทย - สหรัฐฯ ในการช่วยแก้ปัญหาในภูมิภาค โดยสหรัฐฯ ยึดมั่นหลักกฎหมายและมนุษยธรรมและพร้อมสนับสนุนไทย ขอบคุณไทยที่สนับสนุนและให้ความร่วมมือทางทหารที่ผ่านมาโดยเฉพาะการฝึก Cobra Gold และยินดีสนับสนุนการฝึกเพื่อเสริมสร้างกำลังกองทัพไปด้วยกัน นอกจากนี้ พล.อ. ลอยด์ฯ ได้ชื่นชมไทยที่รับมือการแพร่ระบาดของโควิด-๑๙ ได้เป็นอย่างดี
  • นายกรัฐมนตรี ได้ขอบคุณ สหรัฐฯ ที่ให้การสนับสนุนทางทหารและการแก้ปัญหาโควิด-๑๙ พร้อมย้ำว่าไทยยึดมั่นกฎบัตรอาเซียนและวิถีประชาธิปไตยและสนับสนุนการแก้ปัญหาในภูมิภาคตามหลักสันติวิธี โดยพร้อมที่จะพัฒนาความร่วมมือทุกด้านให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น และพร้อมสนับสนุนสหรัฐฯ เข้ามามีส่วนร่วมแก้ปัญหาในภูมิภาคอย่างสร้างสรรค์

๒. ผลการเดินทางเยือนประเทศไทยของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศอินโดนีเซีย และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเมียนมา

อินโดนีเซีย - เมื่อวานนี้ ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔ นายดอน ปรมัตถ์วินัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ให้การต้อนรับนางเร็ตโน มาร์ซูดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศอินโดนีเซียและคณะ ในโอกาสเยือนประเทศไทย ในฐานะแขกของกระทรวงการต่างประเทศ โดยทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องที่จะกระชับความร่วมมือโดยใช้ประโยชน์จากกลไกทวิภาคี และแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นเกี่ยวกับความร่วมมือใน
ช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด–๑๙

ทั้งสองฝ่ายได้แลกเปลี่ยนความเห็นและเห็นพ้องกันถึงบทบาทที่สำคัญของอาเซียน ที่เป็นแกนกลางในการส่งเสริมเสถียรภาพและสันติภาพในภูมิภาค นอกจากนี้ ไทยและอินโดนีเซียมีความเห็นสอดคล้องกันว่า เมียนมาเป็นประเทศสมาชิกที่สำคัญของครอบครัวอาเซียน และอาเซียนสามารถเป็นเวทีการหารืออย่างสร้างสรรค์ระหว่างเมียนมากับประเทศสมาชิกอื่น ๆ ได้ โดยคำนึงถึงหลักการของกฎบัตรอาเซียนและประโยชน์ของประชาชนเมียนมา นอกจากนี้ ทั้งสองฝ่ายยังได้หารือเกี่ยวกับการจัดการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการในเร็ว ๆ นี้ ซึ่งรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนจะหารือกันต่อไป

The visit of the Indonesian Foreign Minister.

  • Yesterday (24 February 2021), Deputy Prime Minister and Foreign Minister Don Pramudwinai welcomed Indonesian Foreign Minister, Retno Marsudi, during her visit to Thailand as Official Guest of the Ministry.
  • Both sides expressed satisfaction with the cordial relations between Thailand and Indonesia and agreed to further strengthen bilateral cooperation utilising existing bilateral mechanisms. The two Foreign Ministers exchanged views on the current COVID-19 situation as well as cooperation to address COVID-19 related challenges.
  • Both sides also agreed on the importance of enhancing regional cooperation with ASEAN Centrality, as ASEAN plays a vital role in promoting peace and stability in Southeast Asia region. They concurred that Myanmar is an important member of ASEAN family, and that ASEAN can be a platform for constructive dialogue between Myanmar and other ASEAN member states, consistent with the purposes and principles enshrined in the ASEAN Charter and for the benefit of the people of Myanmar.
  • In this regard, both sides discussed about convening an ASEAN Minister's Meeting in the near future, the detail of which will be further discussed by ASEAN Foreign Ministers.

เมียนมา - การเดินทางเยือนไทยของ นายวันนะ หม่อง ลวิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเมียนมาเมื่อวานนี้ (๒๔ ก.พ.) เป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินการทางการทูตระหว่างประเทศเพื่อนบ้านซึ่งมีพรมแดนทางบกร่วมกันกว่า ๒,๔๐๐ กิโลเมตร และเป็นโอกาสดีที่ฝ่ายไทยจะได้รับฟังโดยตรงจากฝ่ายเมียนมาเกี่ยวกับ
เรื่องต่าง ๆ ที่เมียนมาให้ความสำคัญและแลกเปลี่ยนความเห็นกันระหว่างเพื่อนบ้านเกี่ยวกับประเด็นที่มีความสำคัญสำหรับประชาชนของทั้งสองฝั่งชายแดน อาทิ ความร่วมมือสาธารณสุขเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-๑๙ และความร่วมมือด้านแรงงาน

นอกจากนี้ ไทยได้ใช้โอกาสนี้ยืนยันการสนับสนุนสันติภาพและเสถียรภาพในเมียนมา และความหวังที่จะเห็นสถานการณ์ในเมียนมาได้รับการคลี่คลายโดยสันติเพื่อประโยชน์ของประชาชนเมียนมา ซึ่งสอดคล้องกับท่าทีของอาเซียนและเป็นสิ่งที่ประชาคมระหว่างประเทศปรารถนา

การพบหารือระหว่างรองนายกรัฐมนตรี/รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศอินโดนีเซีย และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเมียนมา เกิดขึ้นเนื่องจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเมียนมาเดินทางมาพูดคุยกับฝ่ายไทย ซึ่งเป็นวันเดียวกับที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวง
การต่างประเทศอินโดนีเซียได้นัดหมายไว้ก่อนหน้าที่จะมาหารือกับไทยด้วย และแผนการเยือนเมียนมาที่เดิมทางฝ่ายอินโดนีเซียกำหนดไว้ไม่เกิดขึ้น จึงได้ประสานจัดให้คุยกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเมียนมา เป็นการพูดคุยในฐานะมิตรประเทศสมาชิกอาเซียน

ทั้งนี้ โดยที่ฝ่ายเมียนมามาเยือน ซึ่งเมียนมาเป็นเพื่อนบ้านและหนึ่งในสมาชิกครอบครัวอาเซียน และนายกรัฐมนตรีก็มีความห่วงใยในสถานการณ์ จึงได้ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเมียนมาเยี่ยมคารวะ

The visit of the Foreign Minister of Myanmar.

  • The visit to Thailand of the Foreign Minister of Myanmar, (U Wunna Maung Lwin), yesterday was part of the diplomacy between two neighbouring countries sharing a common land border of over 2,400 kilometres. The visit was a good opportunity for the Thai side to hear directly from the Myanmar side on various issues that
    the latter attaches importance to, and for both sides to engage in
    a neighbourly conversation about issues that are important for peoples on both sides of the border, for example, public health cooperation to prevent the spread of COVID-
    19, and cooperation on migrant workers as there are large numbers of Myanmar labours in Thailand
  • On this occasion, Thailand reiterated its firm support for the continued peace and stability in Myanmar, and its hope to see a peaceful resolution of the ongoing situation in Myanmar for the benefit of the Myanmar people, which is in line with the ASEAN position and the desire of the international community
  • The meeting of the Deputy Prime Minister and Minister of Foreign Affairs of Thailand and the foreign ministers of Indonesia and Myanmar was made possible as the Myanmar side paid a visit to Thailand to have a discussion with the Thai counterpart, and, concurrently, the Indonesian foreign minister was on the scheduled trip to Thailand and her visit to Myanmar did not take place as previously planned. The Thai side then managed to host the trilateral meeting for a neighbourly discussion among fellow ASEAN members.
  • The courtesy call on the Prime Minister of Thailand by the Myanmar foreign minister was arranged as Thailand viewed that this visit was a visit of a neighbour and of an ASEAN colleague, and the Prime Minister has also taken a keen interest in the situation in Myanmar.

๓. รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศกล่าวถ้อยแถลง ในการประชุม Human Rights Council สมัยที่ ๔๖ เมื่อวันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔ ผ่านระบบทางไกล

  • เมื่อวันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔ นายดอน ปรมัตถ์วินัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ร่วมกล่าวถ้อยแถลงในการประชุมคณะมนตรีเพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (United Nations Human Rights Council: HRC) สมัยที่ ๔๖ ซึ่งจัดขึ้นที่สำนักงานสหประชาชาติ
    นครเจนีวา สวิตเซอร์แลนด์ ในรูปแบบการประชุมทางไกล
  • ไทยเน้นย้ำความสำคัญของค่านิยมพื้นฐานในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน พร้อมเสนอให้การฟื้นฟูจากวิกฤติโควิด-๑๙ อย่างยั่งยืน ต้องดำเนินการด้วยนโยบายที่มีการบูรณาการหลักสิทธิมนุษยชนต่าง ๆ อาทิ สิทธิพลเมือง สิทธิทางการเมือง สิทธิทางสังคม สิทธิเศรษฐกิจ และสิทธิด้านสุขภาพ พร้อมทั้งให้ความช่วยเหลือกลุ่มเปราะบาง เพื่อให้แน่ใจว่านโยบายของรัฐมีผลสัมฤทธิ์อย่างแท้จริง
  • นอกจากนี้ ได้กล่าวถึงแนวทางและมาตรการของไทยซึ่งให้ความสำคัญกับการสร้างสมดุลของสภาพเศรษฐกิจและสังคมที่เข้มแข็ง ควบคู่ไปกับการส่งเสริมการมีส่วนร่วมด้านการเมืองและสังคม พร้อมแลกเปลี่ยนบทเรียนของไทย ดังนี้

(๑)  รัฐต้องสร้างพื้นที่ในการแสดงออกสำหรับทุกฝ่ายและเน้นการมีส่วนร่วมในการพูดคุยพร้อมกับยึดมั่นในหลักนิติธรรม 

(๒)  รัฐต้องกลับมาเน้นที่คน ความยั่งยืน และความยืดหยุ่นในสังคมมากขึ้น เพื่อการพัฒนาสิทธิทางสังคมและเศรษฐกิจที่ยั่งยืน

(๓)  รัฐต้องมุ่งมั่นในการพัฒนาสิทธิด้านสุขภาพสำหรับทุกคน โดยไทยประสบความสำเร็จจากการใช้หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (Universal Health Coverage)

๔. ผลการหารือระหว่างปลัดกระทรวงการต่างประเทศกับรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศเวียดนาม เอกอัครราชทูตสวิตเซอร์แลนด์ เกาหลีเหนือ และเบลเยี่ยม ประจำประเทศไทย

เวียดนาม เมื่อวันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔ ปลัดกระทรวงการต่างประเทศหารือกับนายนายเหวียน ก๊วก สุง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศเวียดนาม (เทียบเท่าปลัดกระทรวงการต่างประเทศ) ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องในการผลักดันการส่งเสริมความสัมพันธ์ไทย-เวียดนาม อย่างรอบด้านในฐานะหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ที่เข้มแข็ง การฉลองครบรอบ ๔๕ ปีความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-เวียดนาม การเพิ่มปริมาณการค้าการลงทุน และแนวทางร่วมมือฟื้นฟูเศรษฐกิจจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-๑๙

สวิตเซอร์แลนด์เมื่อวันที่ ๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔ ปลัดกระทรวงการต่างประเทศหารือกับนางเฮเลเนอ
บุดลีเกอร์ อาร์ทีเอดา เอกอัครราชทูตสวิตเซอร์แลนด์ มีการหารือการร่วมกันจัดกิจกรรมฉลองครบรอบ ๙๐ ปีความสัมพันธ์การทูต การส่งเสริมการค้าการลงทุน โดยสวิตเซอร์แลนด์สนับสนุนการจัดทำข้อตกลงเขตการค้าเสรีไทย-EFTA (สมาคมการค้าเสรีแห่งยุโรป หรือ European Free Trade Association ประกอบด้วยสวิตเซอร์แลนด์ ลิกเตนสไตน์ นอร์เวย์ และไอซ์แลนด์) และความร่วมมือไตรภาคีเพื่อการพัฒนาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยเฉพาะด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของแรงงานชาวเมียนมา ลาว และกัมพูชา

เกาหลีเหนือ  เมื่อวันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔ ปลัดกระทรวงการต่างประเทศได้พบหารือกับนายคิม เช พง เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี (เกาหลีเหนือ) โดยทั้งสองฝ่ายหารือการส่งเสริมความสัมพันธ์ทวิภาคีระหว่างกัน และแลกเปลี่ยนความเห็นในประเด็นสำคัญต่าง ๆ อาทิ สถานการณ์ในคาบสมุทรเกาหลี ความคืบหน้าสถานการณ์โควิด-๑๙ และผลการประชุมสมัชชาพรรคแรงงานเกาหลีครั้งที่ ๘

เบลเยียม - เมื่อวันที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔ ปลัดกระทรวงการต่างประเทศหารือกับนางซีบีย์ เดอ การ์ทีเย ดีฟว์ เอกอััครราชทูตเบลเยี่ยม โดยได้หารือการจัดทำแผนปฏิบัติการร่วมฉบับใหม่ และการจัดการหารือเชิงนโยบาย (Policy Consultations) ครั้งที่ ๒ การส่งเสริมการค้าและการลงทุนในด้านสุขภาพ โลจิสติกส์อัจฉริยะ และดิจิทัล โดยทั้งสองฝ่ายยังได้ย้ำความสำคัญของการเจรจาความตกลงการค้าเสรีไทย – อียู และความตกลงว่าด้วยความเป็นหุ้นส่วนและความร่วมมือรอบด้านที่จะช่วยสนับสนุนและเพิ่มพูนการค้าและการลงทุนระหว่างกัน

 

๕. การดูแลช่วยเหลือคนไทยในต่างประเทศ ด้วยการใช้แอปพลิเคชัน Doctor A to Z

  • กระทรวงการต่างประเทศ โดยกรมการกงสุลได้รับความร่วมมือจากภาคเอกชน จัดทำแอพพลิเคชั่น Doctor A to Z เพื่อให้บริการคำปรึกษาด้านสุขภาพโดยแพทย์ชาวไทยสำหรับคนไทยในต่างแดน โดยสามารถขอคำปรึกษาจากแพทย์เฉพาะทางเกี่ยวกับโรคโควิด-๑๙ และปัญหาสุขภาพที่ประสบอยู่ ซึ่งเป็นประโยชน์แก่คนไทยในต่างประเทศ โดยเฉพาะกลุ่มคนไทยที่ไม่สามารถสื่อสารและเข้าถึงบริการการแพทย์ท้องถิ่นได้
  • คนไทยในต่างประเทศสามารถใช้บริการคำปรึกษาเกี่ยวกับโรคโควิด-๑๙ โดยไม่มีค่าใช้จ่าย เมื่อกรอกรหัส “DCA19” ถึงวันที่ ๓๑ มี.ค. ๖๔ และยังให้ส่วนลดค่าบริการปรึกษาแพทย์เฉพาะทาง ร้อยละ ๑๐
    เมื่อกรอกรหัส “DCA10” ถึงวันที่ ๓๑ มี.ค. ๒๕๖๔

๖. ผลการเสวนา New Normal: New Coolture in Digital Age

  • กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ ได้จัดงานเสวนา “New Normal : New Coolture in Digital Age” เมื่อวันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔ ณ โรงแรม อนันตรา สยาม โดยได้เชิญ Online Influencer
    ชื่อดัง ๔ ท่านเข้าร่วมการเสวนา ได้แก่

        - คุณแท็ป-รวิศ หาญอุตสาหะ เจ้าของเพจและพอดคาสท์ “Mission to the Moon”

        - คุณมินท์-มณฑล กสานติกุล เจ้าของเพจ I Roam Alone

        - คุณวิศ-วิศรุต สินพงศพร เจ้าของเพจวิเคราะห์บอล “วิเคราะห์บอลจริงจัง” และ

        - คุณเคน-นครินทร์ วนกิจไพบูลย์ บรรณาธิการบริหารสำนักข่าว The Standard

  • การเสวนาครั้งนี้พูดถึง trend ของโลกออนไลน์ ความสำคัญของการสื่อสารระหว่างคนรุ่นต่าง ๆ
    ความเปลี่ยนแปลงของยุคสมัย และการที่สื่อสังคมออนไลน์เข้ามามีบทบาทในชีวิตมากขึ้น
    โดยแพลตฟอร์มออนไลน์ต่าง ๆ เป็นช่องทางให้ผู้คนได้แสดงความคิด ความเห็น และสามารถกลายเป็นผู้นำทางความคิดได้
  • นอกจากนี้ ปรากฎการณ์โควิด-๑๙ ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในโลก มีประเด็นใหม่ ๆ เข้ามาอยู่ในความสนใจของคน เช่น การเงิน การลงทุน สุขภาพ และการให้ความสำคัญกับค่านิยมทางสังคม (social value) มากขึ้น เช่น ความหลากหลายทางเพศ ความเหลื่อมล้ำ สิ่งแวดล้อม
  • เหล่าวิทยากรที่มาร่วมงานเสวนา ซึ่งล้วนเป็น Influencer ยุคใหม่ ได้แบ่งปันประสบการณ์ร่วมกันอย่างตรงไปตรงมา อีกทั้งยังให้ข้อเสนอแนะที่ดีสำหรับการทำงานของกระทรวงการต่างประเทศในด้านการสื่อสารบนช่องทางดิจิทัล การทูตเพื่อสาธารณะหรือ soft power กระทรวงการต่างประเทศได้เรียนรู้และมีปฏิสัมพันธ์กับสื่อแนวทางใหม่มากขึ้น
  • ผู้สนใจสามารถติดตามชมงานเสวนาย้อนหลังได้ที่ Facebook “กระทรวงการต่างประเทศ” และ “Saranrom Radio”

 

๗. ประชาสัมพันธ์รายการ Spokesman Live !!! ในวันศุกร์ที่ ๑๙ กุมภาพันธ์ เวลา ๑๕.๓๐ - ๑๖.๐๐ น. รายการ “คุยรอบโลกกับโฆษก กต.” Spokesman Live! จะสัมภาษณ์ ดร. วิลาวรรณ มังคละธนะกุล อธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย เรื่อง “ประโยชน์ของไทยในคณะกรรมาธิการกฎหมายระหว่างประเทศ” มีประโยชน์และผลกระทบต่อชีวิตคนไทยอย่างไร ขอเชิญติดตามรับชมได้ทาง Facebook “กระทรวงการต่างประเทศ” และ “Saranrom Radio”

 

๘. การเปิดตัว Tiktok ของกระทรวงการต่างประเทศ

  • กระทรวงการต่างประเทศได้เปิด TikTok ในชื่อ account : @mfathai เพื่อรวบรวมสาระน่ารู้และกิจกรรมดี ๆ ของกระทรวงการต่างประเทศ ให้คนไทยเข้าถึงได้แบบย่อยง่าย ไม่ว่าจะเป็นการทูตกีฬาการทูตวัฒนธรรม และการทูตอื่น ๆ เพื่อผลประโยชน์ของคนไทยทุกคน สามารถติดตามได้ที่ @mfathai

๙. ช่วงถาม – ตอบ

  1. Question from the Straits Time: Prime Minister Prayut had expressed wishes for peace and stability in Myanmar. How will Thailand help Myanmar achieve this?

        Answer: As a friendly neighbour sharing a long common border, Thailand always wishes the best for Myanmar. If there is anything that Myanmar thinks Thailand can be helpful as a friend and has communicated to us as well, we will certainly look into it. As close neighbour, Thailand continue working with all our neighbouring countries, including Myanmar. There are various issues of common interest that we are working with neighbouring countries, including Myanmar.

  1. Questions from NHK: (2.1) In the meeting yesterday, did the three sides have an agreement on holding a new election (in Myanmar)?

        Answer: The discussion among the Foreign Ministers of Thailand, Indonesia and Myanmar in Bangkok yesterday was brief and informal in nature. The discussion focused mainly on the idea of foreign ministers of ASEAN to meet informally in the near future as opportunities to discuss various pressing issues facing the region. In short, Foreign Ministers of ASEAN will continue to discuss possibility of convening IAMM in August or as agreed.

       (2.2) Is there any possibility for ASEAN to hold another meeting before the one in August, if the situation in Myanmar is more intensified, (since the one IAMM that we are working on is quite far apart)?

        Answer: At the moment, ASEAN member states are engaging in consultations regarding the idea of having an informal meeting among ASEAN foreign ministers in the near future. If this meeting takes place, it could provide a good opportunity for ASEAN member states to exchange views on a broad range of issues of interest for the region, including Myanmar.

  1. Question from Kyodo: What is the things that the Myanmar’s Foreign Minister told Thailand’s Foreign Minister?

       Answer: Both discussed issues that are of interest for both countries, including situation in Myanmar and bilateral issues including migrant workers, how to handle covid-19, including suggestions on many issues of common interest.

* * * * *

รูปภาพประกอบ

รูปภาพประกอบ

เอกสารประกอบ

2564-02-25_ppt_แถลงข่าว_25_ก.พ_20.30_น.pdf