วันที่นำเข้าข้อมูล 28 มี.ค. 2568
วันที่ปรับปรุงข้อมูล 28 มี.ค. 2568
เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2568 กรมองค์การระหว่างประเทศร่วมกับสมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กแห่งประเทศไทย (Global Compact Network Thailand: GCNT) จัดการประชุมรับฟังความคิดเห็นจากภาคเอกชนในการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) ของประเทศไทย เพื่อประกอบการจัดทำรายงานผลการดำเนินการตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนระดับชาติโดยสมัครใจ (Voluntary National Review: VNR) ณ กระทรวงการต่างประเทศ โดยมีนางสาวพินทุ์สุดา ชัยนาม อธิบดีกรมองค์การระหว่างประเทศ เป็นประธานกล่าวเปิดการประชุม และนางสาวแคทรียา ปทุมรส รองอธิบดีกรมองค์การระหว่างประเทศนำเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับกลไกและสถานะการจัดทำ VNR ฉบับปี ค.ศ. 2025 ของประเทศไทย โดยการประชุมฯ มีผู้แทนจากภาครัฐและภาคเอกชนเข้าร่วมกว่า 30 คน
การประชุมจัดขึ้นเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคเอกชนในกระบวนการจัดทำ VNR ฉบับปี ค.ศ. 2025 ของประเทศไทย รวมทั้งรับฟังข้อมูลที่เป็นปัจจุบันเกี่ยวกับการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) อย่างรอบด้านจากภาคเอกชนไทย ในโอกาสนี้ ผู้เข้าร่วมการประชุมได้หารือเกี่ยวกับความท้าทายด้านการพัฒนาที่ยั่งยืน พร้อมให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการดำเนินการเพื่อเร่งรัดการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนในประเทศไทย ตามแนวทางการดำเนินธุรกิจที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (Environmental, Social, and Governance: ESG)
การจัดทำรายงาน VNR เป็นกระบวนการสำคัญที่เปิดโอกาสให้ประเทศสมาชิกสหประชาชาติรายงานความก้าวหน้าของการขับเคลื่อนการปฏิบัติตาม SDGs โดยไทยมีกำหนดนำเสนอรายงาน VNR เป็นครั้งที่ 3 ต่อเวทีหารือระดับสูงทางการเมืองว่าด้วยการพัฒนาที่ยั่งยืน (High-Level Political Forum on Sustainable Development: HLPF) ณ สำนักงานใหญ่สหประชาชาติ นครนิวยอร์ก ในเดือนกรกฎาคม 2568 ดังนั้นการประชุมรับฟังความคิดเห็นในครั้งนี้ นอกจากจะช่วยส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคเอกชนในกระบวนการจัดทำรายงาน VNR แล้ว ยังเป็นอีกหนึ่งช่องทางการเสริมสร้างการบูรณาการการขับเคลื่อน SDGs ระหว่างภาคส่วนต่าง ๆ ของไทยด้วย
รูปภาพประกอบ
วันทำการ : จันทร์ - ศุกร์ เวลา 08.30 - 16.30 น.
(ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์)
งานรับ-ส่งหนังสือ และงานสารบรรณ:
อีเมล [email protected]
เว็บไซต์นี้ได้รับการออกแบบเพื่ออำนวยความสะดวกให้ทุกคนเข้าถึงเว็บไซต์ได้และมีมาตรฐาน WCAG 2.0 ระดับ AA
** เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุดควรใช้ Chrome เวอร์ชั่น 76 ขึ้นไป **