สรุปการแถลงข่าวประจำสัปดาห์ วันศุกร์ที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๕ เวลา ๑๕.๐๐ น.

สรุปการแถลงข่าวประจำสัปดาห์ วันศุกร์ที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๕ เวลา ๑๕.๐๐ น.

วันที่นำเข้าข้อมูล 30 ก.ย. 2565

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 30 ก.ย. 2565

| 10,944 view

สรุปการแถลงข่าวประจำสัปดาห์

วันศุกร์ที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๕ เวลา ๑๕.๐๐ น.

ณ ห้องประชุมกรมสารนิเทศ และทาง Facebook live กระทรวงการต่างประเทศ

 

๑. รนรม./รมว.กต.ร่วมการประชุมสมัชชาสหประชาชาติ สมัยสามัญ ครั้งที่ ๗๗ (UNGA77) ณ นครนิวยอร์ก (๑๙ – ๒๕ ก.ย. ๒๕๖๕)

  • รนรม./รมว.กต. เข้าร่วม กปช. สมัชชาสหประชาชาติ สมัยสามัญ ครั้งที่ ๗๗ (UNGA77) และกิจกรรมคู่ขนานสำคัญ ณ นครนิวยอร์ก โดยมีเป้าหมาย ๔ ประการ ได้แก่ กระชับความสัมพันธ์ (reconnect) กับผู้นำระดับสูงของ ปทท. ต่างๆ และของ UN ตอกย้ำ (reaffirm) ความเชื่อมั่นของไทยต่อระบบพหุภาคี ร่วมกำหนด (reshape) วาระสำคัญของโลก ผ่านการมีส่วนร่วมในการหารือ ต่าง ๆ และนำเสนอบทบาทของไทยในฐานะประธานเอเปค สานต่อ (revitalize) ความสัมพันธ์ระหว่างภาครัฐไทยกับชุมชนไทยในสหรัฐฯ และภาคเอกชน หัวข้อหลักการ กปช. UNGA77 คือ “ช่วงเวลาแห่งการเปลี่ยนแปลง : ทางออกที่พลิกรูปแบบเพื่อรับมือความท้าทายที่เชื่อมโยงกัน” (A watershed moment: transformative solutions to interlocking challenges)
  • รนรม./รมว.กต.กล่าวถ้อยแถลงในการอภิปรายทั่วไป (General debate) ช่วงกลางวันของวันที่ ๒๔ ก.ย. ๒๕๖๕ ย้ำประชาคม รวท. ต้องยึดมั่นในระบบพหุภาคี และร่วมมือกันขับเคลื่อนความร่วมมือในช่วงเวลาสำคัญซึ่งโลกกำลังเผชิญวิกฤตต่างๆ ทั้งวิกฤตอาหาร โรคระบาด ภูมิอากาศ ความขัดแย้ง การผลักผลักดันห่วงโซ่อุปทานโลกที่เปิดกว้าง มุ่งหน้าหลักประกันสุขภาพทั่วหน้าเร่งขับเคลื่อนตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ตามแนวทางโมเดล ศก. BCG นอกจากนี้ ได้เปิดตัวการลงสมัครเป็นสมาชิกคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (Human Rights Council: HRC) วาระปี ค.ศ. ๒๐๒๕ - ๒๐๒๗ ของไทย ด้านสิ่งแวดล้อมไทยแจ้งความพร้อมที่จะจัดการมีส่วนร่วมที่ประเทศกำหนด (Nationally Determined Contributions: NDCs) และยุทธศาสตร์ระยะยาวในการพัฒนาแบบปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำของไทย
  • รนรม./รมว.กต. เข้าร่วมกิจกรรมคู่ขนานซึ่งไทยร่วมเป็นเจ้าภาพจัด ๓ รายการได้แก่
    • (๑) กปช.ด้านสุขภาวจิตในโรงเรียนและการศึกษา ความเร่งด่วนในการได้รับการสนับสนุนจากผู้นำโลกและผู้บริจาค (Mental health in schools and education settings: and Urgent Call to Action for World Leaders and Donors) จัดร่วมกับสมเด็จพระราชินีแห่งราชอาณาจักรสเปน กองทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF) และองค์การอนามัยโลก (รายละเอียด)
    • (๒) กปช. กลุ่มมิตรในการหลักประกันสุขภาพทั่วหน้าและการลงทุนในระบบสาธารณสุขโลก (Group of Friends of UHC (Universal Health Coverage) and Global Health Investment in Health systems for UHC) จัดร่วมกับญี่ปุ่น และสาธารณรัฐจอร์เจีย (รายละเอียด
    • (๓) กปช. ของอาเซียนในเร่งรัดการอนุวัติเป้าหมาย SDGs (Regional Pathways to the Global Goals: ASEAN’s Approach towards SDGs Implementation and Sustainable post Covid-19 Recovery) จัดร่วมกับศูนย์อาเซียนเพื่อการศึกษาและการหารือด้านการพัฒนาที่ยั่งยืน เพื่อเป็นเวทีหารือและแลกเปลี่ยนความเห็นระหว่างอาเซียนกับภาคีภายนอกและภาคส่วนต่าง ๆ ในการเพิ่มพูนความเป็นหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนและเร่งรัดการอนุวัติเป้าหมาย SDGs (รายละเอียด
  • รนรม./รมว.กต. เข้าร่วม กปช.ระดับ รมต. ๓ รายการ (๑) COVID-19 Global Action Plan (GAP) for Enhanced Partnership เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศในการยุติการแพร่ระบาดของโควิด-๑๙ (รายละเอียด) (๒) กปช. ระดับรมต. กลุ่ม Foreign Policy and Global Health (FPGH) Initiative (รายละเอียด) และ (๓) กปช.ระดับรมต.ขอกลุ่มพันธมิตรเพื่อข้อริเริ่มการพัฒนาโลก (Group of Friends of the Global Development Initiative-GDI)
  • รนรม./รมว.กต.ได้พบหารือทวิภาคีกับผู้แทนระดับสูง เช่น สาธารณรัฐประชาชนจีน ซาอุดีอาระเบีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ อินโดนีเซีย และเลขาธิการสหประชาชาติ
  • ในการหารือกับเลขาธิการสหประชาชติ นายอันโตนิอู กุแตเรช ได้หารือการเปลี่ยนแปลง สภาพภูมิอากาศ สถานการณ์ในเมียนมา และวิกฤตยูเครน รนรม./รมว.กต เสนอให้ใช้โอกาสที่ผู้มีส่วนได้ ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องในวิกฤตยูเครนจะมาเข้าร่วม กปช. ระหว่างประเทศสำคัญในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในเดือน พ.ย. ได้แก่ การประชุมสุดยอดอาเซียน ที่กรุงพนมเปญ การประชุม G20 ที่บาหลี และการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค ที่กรุงเทพฯ ได้พบหารือเพื่อทางออกสำหรับวิกฤตยูเครน โดยสหประชาชาติสามารถเข้ามามีส่วนร่วม
  • รนรม./รมว.กต.หารือกับคณะนักธุรกิจจากสภาธุรกิจสหรัฐฯ–อาเซียน (USABC) และหอการค้าสหรัฐฯ (USCC) เพื่อสร้างความเชื่อมั่น ส่งเสริม ครม.กับภาคเอกชนสหรัฐฯ ผลักดันการลงทุนและส่งเสริม ครม.ต่างๆ อาทิ S-curve industry EEC BCG พลังงาน ห่วงโซ่อุทาน และ ศก. ดิจิทัล รวมทั้งผลักดันเป้าหมายกรุงเทพเรื่อง BCG ในฐานะที่ไทยเป็นเจ้าภาพ APEC

 

๒. รนรม./รมว.กต. เข้าร่วมพิธีศพนายอาเบะ ชินโซ อดีต นรม. ญี่ปุ่น (๒๗ ก.ย. ๒๕๖๕)

  • รอง นรม./รมว.กต. เป็นผู้แทนรัฐบาลไทยเข้าร่วมพิธีศพของนายอาเบะ ชินโซ อดีต นรม.ญี่ปุ่น ณ สนามกีฬา Nippon Budokan กรุงโตเกียว และในช่วงเย็นของวันเดียวกัน ได้เข้าร่วมงานทักทายและขอบคุณผู้แทนจากต่างประเทศที่เข้าร่วมพิธีศพของนายอาเบะ ณ พระราชวัง Akasaka โดยมีนายคิชิดะ ฟูมิโอะ นรม.ญี่ปุ่น นายฮายาชิ โยชิมาสะ รมว.กต.ญี่ปุ่น นายมัตสึโนะ ฮิโรคาสึ เลขาธิการ ครม.ญี่ปุ่น และนางอาเบะ อะคิเอะ ภริยาอดีต นรม.อาเบะ ร่วมทักทายและกล่าวขอบคุณ
  • ในงานดังกล่าว มีผู้เข้าร่วมพิธีศพของอดีต นรม. อาเบะ ประมาณ ๔,๓๐๐ คน โดยเป็นผู้เข้าร่วมบุคคลสำคัญของฝ่ายญี่ปุ่น ๓,๖๐๐ คน และผู้แทนต่างประเทศ ๗๐๐ คน โดยมี ๑๑๗ ปท. ที่ส่งผู้แทนจากเมืองหลวง (เป็นระดับประมุขรัฐและอดีตประมุขรัฐ ๔๙ คน) นอกนั้นเป็นผู้แทนระดับ ออท. ประจำญี่ปุ่นและผู้แทนประจำญี่ปุ่น

 

๓. กิจกรรม APEC Media Focus Group ครั้งที่ ๘ (๒๗ ก.ย. ๒๕๖๕)

  • กรมสารนิเทศ ร่วมกับสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) และสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส จัดการเสวนาระดมสมอง APEC Media Focus Group (AMF) ครั้งที่ ๘ ในหัวข้อ “APEC and Food Security: Sustainability beyond global uncertainties” ณ หอประชุมใหญ่คณะวิศวกรรมศาสตร์ สจล. โดยมีคณะทูตานุทูต ผู้แทนภาครัฐ เอกชน และสื่อมวลชน คณาจารย์และนักศึกษาเข้าร่วมงาน มีผู้เข้าร่วมภายในงานและออนไลน์ประมาณ ๑,๕๐๐ คน
  • รศ.ดร.คมสัน มาลีสี รักษาการแทนอธิการบดี สจล. ย้ำความมุ่งมั่นของ สจล. ในการเป็นผู้นำการวิจัยและนวัตกรรมรวมถึงในด้านความมั่นคงทางอาหาร โดย อธ. กรมสารนิเทศและโฆษก กต. ได้เน้นให้ผู้เข้าร่วมการเสวนาทุกท่าน หารือประเด็นความท้าทาย และโอกาสด้านความมั่นคงทางอาหาร ทั้งในและนอกกรอบเอเปค
  • นางสาวปฤณัต อภิรัตน์ รอธ. กรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ แสดงความเชื่อมั่นว่าผลลัพธ์หลักใน การเป็นเจ้าภาพเอเปคของไทย ภายใต้แนวคิด ‘Open. Connect. Balance’ จะส่งเสริมการผลิตและกระจายอาหาร และระบบอาหารที่ยั่งยืน
  • นางสาวพาสินี ณ ป้อมเพ็ชร ผู้ประสานงานของไทยด้านความมั่นคงทางอาหารในกรอบเอเปคจากสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กล่าวถึงกรอบและการดำเนินการของเอเปคในด้านความมั่นคงทางอาหารที่มีหลายภาคส่วนเกี่ยวข้อง
  • รศ.ดร.นภัสรพี เหลืองสกุล คณบดีคณะอุตสาหกรรมอาหาร สจล. แสดงตัวอย่างของการวิจัยสำคัญ ๆ เกี่ยวกับความมั่นคงทางอาหารซึ่งต้องอาศัยเครือข่ายที่เข้มแข็ง
  • นายสิริเชษฐ์ จิรพงษ์วัฒนะ กรรมการผู้จัดการ มันตรา แพลนท์เบสซีฟู้ด กล่าวถึงบทบาทของธุรกิจอาหาร plant-based ต่อโภชนาการ และความเกี่ยวโยงกับประเด็นความมั่นคงทางอาหาร
  • ตัวแทนนักศึกษา สจล. ให้มุมมองความเห็นของเยาวชนในประเด็นสำคัญ ๆ เช่น การสร้างความตระหนักรู้ การลดขยะอาหาร และการวิจัยทางการแพทย์และโภชนาการที่เกี่ยวข้อง
  • นาย Jonathan Kings ออท.นิวซีแลนด์/ปทท. ในฐานะเจ้าภาพเอเปคปี ๒๕๖๔ กล่าวย้ำถึงความต่อเนื่องของความร่วมมือในกรอบเอเปค และการให้ความสำคัญต่อประเด็นความมั่นคงทางอาหารในเอเปคตลอดมา ดร. Steve Olive ผอ.สนง.ภาคพื้นเอเชีย องค์การเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศสหรัฐอเมริกา (USAID) ในฐานะเจ้าภาพเอเปคปี ๒๕๖๖ กล่าวถึงประเด็นท้าทายที่กระทบถึงความมั่นคงทางอาหารในปัจจุบัน และตัวอย่างความร่วมมือของสหรัฐอเมริกาในภูมิภาค
  • ผู้ร่วมเสวนาได้ตอบคำถามจากผู้เข้าร่วมรับฟัง ซึ่งครอบคลุมประเด็นที่หลากหลาย อาทิ บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศ นโยบายและกฎระเบียบ และการสื่อสารทำความเข้าใจต่อสาธารณชนถึงความท้าทายด้านความมั่นคงทางอาหาร

 

๔. รนรม./รมว. กต. เยี่ยมชุมชนไทยในนิวยอร์ก (๒๔ ก.ย. ๒๕๖๕)

  • รนรม./รมว.กต. ถือโอกาสระหว่างการเข้าร่วมการประชุมสมัชชาสหประชาชาติครั้งที่ ๗๗ พบปะชุมชนไทยในนครนิวยอร์กและพื้นที่ใกล้เคียง โดยได้แสดงความยินดีกับชุมชนไทยในนครนิวยอร์กที่ได้ร่วมกันจัดพิธีจารึกป้ายถนน “Little Thailand Way” (บริเวณถนน Woodside Ave. ตัดกับถนน 77th St., Elmhurst) เมื่อช่วงเช้าของวันที่ ๒๔ ก.ย. ๒๕๖๕ ซึ่งมีนาย Shekar Krishnan สมาชิกสภานครนิวยอร์ก เขตที่ ๒๕ เข้าร่วมถือเป็นความสำเร็จและความภาคภูมิใจที่สะท้อนให้เห็นถึงความเข้มแข็งของชุมชนไทยในสหรัฐฯ ที่เป็นที่ยอมรับและชื่นชม
  • รนรม./รมว.กต. เชื่อว่าถนนสายนี้จะช่วยเป็นสื่อถึงความเป็นไทย ไม่ว่าจะเป็นอาหารไทย วัฒนธรรมและอัตลักษณ์ของไทย ให้เป็นที่รู้จักและเป็นที่ชื่นชมต่อผู้พบเห็นในวงกว้างมากขึ้น โดยชุมชนไทยสามารถช่วยกันมีส่วนร่วมทำหน้าที่ทูตวัฒนธรรม ทูต Soft Power
  • รนรม./รมว.กต. ได้รายงานให้ให้ชุมชนไทยรับทราบเกี่ยวกับภารกิจการเยือนสหรัฐฯ ในฐานะผู้แทนรัฐบาลไทย เพื่อเข้าร่วมการประชุมสมัชชาสหประชาชาติ ที่นครนิวยอร์ก ซึ่งมีภารกิจสำคัญทั้งในด้านการส่งเสริมสถานะและบทบาทของไทยในเวทีโลก และการกระชับความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสหรัฐฯ

 

๕. การบรรยายสรุปและสำรวจสถานที่จัดการจัดการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค (๒๙ ก.ย. ๒๕๖๕)

  • กต. โดยศูนย์ปฏิบัติการ APEC 2022 Task Force ได้เชิญผู้แทนเขต ศก.เอเปคทั้ง ๒๐ เขต แขกของเจ้าภาพ และสำนักเลขาธิการเอเปค รวมกว่า ๒๐๐ คน เข้าร่วมรับฟังการบรรยายสรุปเกี่ยวกับการจัดการประชุมผู้นำเขต ศก.เอเปค ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
  • ประเด็นบรรยาย อาทิ กำหนดการล่าสุดในช่วงสัปดาห์การประชุม การลงทะเบียนผู้เข้าร่วมการประชุม การรักษาความปลอดภัย มาตรการทางการแพทย์และสาธารณสุข ภารกิจกรมสารนิเทศ เช่น การบริหารจัดการศูนย์สื่อมวลชน การลงทะเบียนสื่อมวลชน และประเด็นอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
  • ในช่วงบ่ายวันเดียวกัน ได้เข้าสำรวจพื้นที่ที่เกี่ยวข้องกับภารกิจ อาทิ ท่าอากาศยาน รวมถึงหอประชุมกองทัพเรือ ซึ่งจะเป็นที่จัดงานเลี้ยงรับรองผู้นำเขต ศก.เอเปค อีกด้วย
  • ผู้แทนเขต ศก.เอเปค ต่างแสดงความมั่นใจในการเตรียมการของฝ่ายไทย ซึ่งได้มีการเตรียมการในทุกระดับ ผ่านการประชุมเตรียมการในระดับย่อยมาเป็นเวลานาน คณะผู้แทนฯ เชื่อว่าการประชุมผู้นำเขต ศก. ในปีนี้จะนำมาซึ่งผลประโยชน์ร่วมกันของภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก

 

๖. งานเสวนาทางวิชาการ “ย้อนอดีต แลอนาคต: ถอดบทเรียนจากสนธิสัญญาไมตรี สำหรับการต่างประเทศของไทย” (๔ ต.ค. ๖๕ เวลา ๐๙.๐๐ - ๑๔.๐๐ น.)

  • กรมสนธิสัญญาและกฎหมาย จะจัดงานเสวนา “ย้อนอดีต แลอนาคต: ถอดบทเรียนจากสนธิสัญญาไมตรี สาหรับการต่างประเทศของไทย” และจัดแสดงนิทรรศการต้นฉบับสนธิสัญญาไมตรี การพาณิชย์ และการเดินเรือที่ไทยเคยทำกับต่างประเทศ เพื่อนำเสนอการดำเนินการด้านกฎหมายระหว่างประเทศชองกรมสนธิสัญญาฯ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน และถอดบทเรียนเพื่อประโยชน์ของการกำหนดทิศทางการต่างประเทศไทย
  • จะมีผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์และการต่างประเทศเข้าร่วม ได้แก่ รศ.ดร. ปรีดี พิศภูมิวิถี อ.ประจำสาขาวิชาประวัติศาสตร์คณะศิลปศาสตร์ ม.มหิดล ดร.อนุสนธิ์ ชินวรรโณ ผอ.ศูนย์ศึกษาการต่างประเทศ น.ส.ภาพิศุทธิ์ สายจำปา นักจดหมายเหตุวิชาชีพ และ ดร.สุพรรณวษา โชติกญาณ ถัง อธ.กรมสนธิสัญญาและกฎหมาย ร่วมแลกเปลี่ยนข้อมูลและความคิดเห็น
  • ผู้สนใจสามารถร่วมรับชมการเสวนาและนิทรรศการ ผ่านทางเฟซบุ๊ก “กระทรวงการต่างประเทศ”

 

๗. การแถลงข่าวผู้ชนะรางวัลการทูตสาธารณะประจำปี ๒๕๖๕ (๖ ต.ค. ๖๕ เวลา ๑๑.๓๐ น.)

  • กระทรวงการต่างประเทศและมูลนิธิไทยมีกำหนดร่วมแถลงข่าวประกาศรายชื่อผู้ชนะรางวัลการทูตสาธารณะประจำปี ๒๕๖๕ เพื่อเชิดชูบทบาทของบุคคล กลุ่มบุคคล หรือองค์กร ที่ได้ดำเนินกิจกรรมในเชิงการทูตสาธารณะในต่างประเทศในด้านต่าง ๆ เช่น การประกอบสาธารณประโยชน์ด้านมนุษยธรรมวัฒนธรรม กีฬา นวัตกรรม เป็นต้น ซึ่งช่วยสร้างชื่อเสียง เกียรติภูมิ การยอมรับ ชื่นชม และความนิยมไทย เป็นที่ประจักษ์ในต่างประเทศ
  • ขอเชิญชวนทุกท่านร่วมติดตามการแถลงข่าวฯ ผ่านทางเฟซบุ๊ก “กระทรวงการต่างประเทศ”

 

๘. รายการบันทึกสถานการณ์ และ MFA Update

  • วันพฤหัสบดีที่ ๒๙ ก.ย. ๒๕๖๕ เวลา ๐๘.๓๐ - ๐๘.๔๕ น. รายการ “บันทึกสถานการณ์” ทาง FM 92.5 (ภาษาไทย) สัมภาษณ์นายชัยณรงค์ กีรติยุตวงศ์ ออท. ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ในหัวข้อ “บทบาทของมาเลเซียในเอเปค” สามารถรับชมย้อนหลังได้ทาง YouTube “MFA Thailand Channel”    
  • วันศุกร์ที่ ๓๐ ก.ย. ๒๕๖๕ เวลา ๐๘.๐๕ - ๐๘.๒๐ น. รายการ “MFA Update” FM 88.0 (ภาษาอังกฤษ) สัมภาษณ์นายณัฐพล ณ สงขลา รักษาราชการแทน ผอ.กองการทูตวัฒนธรรม กรมสารนิเทศ ในหัวข้อ "Flashmob Muay Thai Dance" สามารถรับชมย้อนหลังได้ทาง youtube “MFA Thailand Channel”

 

๙. รายการเวทีความคิด

  • วันพฤหัสบดีที่ ๒๙ ก.ย. ๒๕๖๕ เวลา ๒๐.๓๐ - ๒๐.๕๘ น. รายการ “เวทีความคิด” สัมภาษณ์นายณัฐภาณุ นพคุณ รอธ.สารนิเทศและรองโฆษก กต. ในหัวข้อ “APEC Media Focus Group ครั้งที่ ๘ Food Security: Sustainability beyond Global Uncertainties” สามารถรับฟังได้ทาง FM 96.5 หรือรับฟังย้อนหลังทาง YouTube “MFA Thailand Channel”  

 

๑๐. รายการ Spokesman Live!!!

  • วันศุกร์ที่ ๓๐ ก.ย. ๒๕๖๕ เวลา ๒๐.๐๐-๒๐.๓๐ น. รายการคุยรอบโลกกับโฆษก กต. - Spokesman Live!!! จะเป็นการสัมภาษณ์นางอรุณรุ่ง โพธิ์ทอง ฮัมฟรีย์ส ออท.ประจำกระทรวง ในหัวข้อ “ขวบปีที่ ๒๐ ของ ACMECS การทูต ๓ แม่น้ำ ตอนที่ ๒” สามารถรับชมได้ที่ Facebook “กระทรวงการต่างประเทศ” และ “Saranrom Radio”

 

รับชมแถลงข่าวย้อนหลัง: https://fb.watch/fSpVWAYner/

คลิปแถลงข่าว: ช่อง Youtube “MFA Thailand Channel”: https://www.youtube.com/user/mfathailand 

*   *   *   *   *

กองการสื่อมวลชน

กรมสารนิเทศ

รูปภาพประกอบ

รูปภาพประกอบ