สรุปการแถลงข่าวประจำสัปดาห์ วันพุธที่ ๑๙ ตุลาคม ๒๕๖๕

สรุปการแถลงข่าวประจำสัปดาห์ วันพุธที่ ๑๙ ตุลาคม ๒๕๖๕

วันที่นำเข้าข้อมูล 19 ต.ค. 2565

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 19 ต.ค. 2565

| 11,162 view

สรุปการแถลงข่าวประจำสัปดาห์

วันพุธที่ ๑๙ ตุลาคม ๒๕๖๕ เวลา ๑๑.๓๐ น.

ณ ห้องประชุมกรมสารนิเทศ และทาง Facebook Live กระทรวงการต่างประเทศ

 

. รนรม./รมว.กต.หารือ นรม./รมว.กต.มอลตา ในระหว่างการเยือนไทย (๑๒ ต.ค. ๒๕๖๕)

  • นายริกการ์โด ปาแตร์เนาะ ดี มอนเตกูโป (Riccardo Paternò di Montecupo) นรม./รมว.กต.มอลตา หรือรัฐอธิปไตยทหาร ออร์เดอร์ ออฟ มอลตา พร้อมคณะเข้าเยี่ยมคารวะ รนรม./รมว.กต. ในโอกาสเป็นประธาน กปช.ภูมิภาคเอเชีย - แปซิฟิก ครั้งที่ ๑๑ ระหว่างวันที่ ๑๑ - ๑๓ ต.ค. ๒๕๖๕ ณ กรุงเทพฯ
  • รนรม./รมว.กต.รับทราบการดำเนินกิจกรรมและโครงการความช่วยเหลือของมอลตา ด้านมนุษยธรรมในหลายประเทศ รวมทั้งประเทศไทย และได้หารือเรื่องแนวทางการกระชับความร่วมมือ ทั้งในระดับทวิภาคี และไตรภาคี รวมถึงได้หารือถึงเกี่ยวกับสถานการณ์ในภูมิภาค และแนวทางเพื่อบรรลุสันติภาพในพื้นที่ขัดแย้ง
  • ที่ผ่านมา มอลตาดำเนินภารกิจด้านมนุษยธรรมในไทยผ่านองค์กร Malteser International ซึ่งเป็นหน่วยงานบรรเทาทุกข์ของมอลตา อาทิ โครงการด้านสาธารณสุขที่ศูนย์พักพิงชั่วคราวบ้านแม่ลามาหลวงและบ้านแม่ละอูน จ.แม่ฮ่องสอน
  • กปช.ภูมิภาคเอเชีย - แปซิฟิกของผู้แทนมอลตา จะจัดเป็นประจำทุกปี เพื่อวางแผนการดำเนินงานด้านการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมในภูมิภาค และในประเทศไทยได้มีการจัดตั้งสมาคมออร์เดอร์ ออฟ มอลตา ประเทศไทย (Order of Malta Thailand) เพื่อวัตถุประสงค์เดียวกันด้วย

. รนรม./รมว.กต.พบหารือ รมว.กต.อินโดนีเซีย (๑๗ ต.ค. ๒๕๖๕)

  • รอง นรม./รมว.กต. ได้พบหารือกับนางเริตโน มาร์ซูดี รมว.กต.อินโดนีเซีย ในโอกาสเยือน ปทท. ระหว่างวันที่ ๑๖ - ๑๗ ต.ค. ๒๕๖๕
  • ทั้งสองฝ่ายยินดีที่ความสัมพันธ์ไทยและอินโดนีเซียมีพลวัตอย่างต่อเนื่อง และเห็นพ้องที่จะกระชับความร่วมมือทั้งในระดับทวิภาคีและระดับภูมิภาค รวมทั้งได้หารือเกี่ยวกับการเตรียมการประชุมในกรอบอาเซียนและการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปคในเดือน พ.ย. ๒๕๖๕ ด้วย

. พิธีพระราชทานรางวัลสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๔ และ ๒๕๖๕ (๒๑ ต.ค. ๒๕๖๕)

  • ในวันที่ ๒๑ ต.ค. ๒๕๖๕ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี จะเสด็จพระราชดำเนินไปพระราชทานรางวัลสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๔ และ ๒๕๖๕ ณ พระที่นั่งมูลสถานบรมอาสน์ พระบรมมหาราชวัง
  • รางวัลสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เป็นรางวัลที่พิจารณาให้แก่ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล และหรือการผดุงครรภ์ จากประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ที่มีผลงานดีเด่นเป็นที่ประจักษ์ทั้งในระดับชาติและนานาชาติ ก่อให้เกิดการพัฒนาด้านสาธารณสุขและคุณภาพชีวิตของประชาชน
  • ผู้ได้รับพระราชทานรางวัลสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๔ คือศาสตราจารย์ ดร. เออร์ลินดา คาสโตร พาลากานัส (Professor Dr. Erlinda Castro PALAGANAS) จากฟิลิปปินส์ และผู้ได้รับพระราชทานรางวัลฯ ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๕ ได้แก่ ศาสตราจารย์ ดร. นูริท เวกเนอร์ (Professor Dr. Nurith WAGNER) และศาสตราจารย์ ดร. มิเรียม จูดิธ เฮิร์ชเฟลด์ (Professor Dr. Miriam Judith HIRSCHFELD) จากอิสราเอล
  • ศาสตราจารย์ ดร. เออร์ลินดา คาสโตร พาลากานัส เป็นผู้มีผลงานโดดเด่นเป็นที่ประจักษ์ในระดับนานาชาติ ในด้านการพยาบาลและการผดุงครรภ์ เป็นผู้บุกเบิกด้านวิชาการ การปฏิบัติการวิจัย และการพัฒนาวิชาชีพ โดยเฉพาะการพัฒนานโยบายและแนวทางการให้บริการสุขภาพชุมชนในระดับปฐมภูมิสำหรับชนเผ่า
  • ศาสตราจารย์ ดร.นูริท เวกเนอร์ เป็นผู้พัฒนาเกมส์การตัดสินใจเชิงจริยธรรม เพื่อใช้สอนในโรงพยาบาลต่าง ๆ ทั่วอิสราเอล และต่อมาได้มีส่วนในการกำหนดนโยบายต่าง ๆ อาทิ การผลักดันให้เกิดกฎหมายเกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายของชีวิต
  • ศาสตราจารย์ ดร. มิเรียม เฮิร์ชเฟลด์ เป็นผู้นำทางด้านการพยาบาลข้ามวัฒนธรรมสิทธิมนุษยชน และการดูแลผู้ป่วยระยะยาว ทั้งสองท่านได้มุ่งมั่นทำงานร่วมกันมานานกว่า ๕๐ ปีเพื่อช่วยปกป้องสิทธิมนุษยชน ให้เกิดความเป็นธรรมกับคนที่อ่อนแอในสังคมให้มีโอกาสเข้าถึงหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าตามสิทธิพื้นฐานของมนุษย์
  • ขอเชิญท่านรับชมการถ่ายทอดสดพิธีฯ ในวันที่ ๒๑ ต.ค. ๒๕๖๕ เวลาประมาณ ๑๖.๐๐ น. ทางสถานีโทรทัศน์ช่อง ๙ MCOT HD และรับชมย้อนหลังได้ที่ Youtube “The Princess Srinagarindra Award Foundation” หรือ QR Code ตามภาพฉาย

. การจัดทำเหรียญกษาปณ์ที่ระลึกการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค ครั้งที่ ๒๙

  • กต.โดยกรมสารนิเทศ ได้เสนอต่อที่ประชุมคณะอนุกรรมการประชาสัมพันธ์การเป็นเจ้าภาพเอเปคของไทยฯ ให้มีการจัดทำเหรียญกษาปณ์ที่ระลึก กปช. ผู้นำเขต ศก.เอเปค ครั้งที่ ๒๙ ซึ่งต่อมาได้มีการเสนอใน ทปช.คกก.ระดับชาติเพื่อเตรียมการจัดประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปคฯ ครั้งที่ ๒/๒๕๖๕
    และ ทปช.มีมติเห็นชอบให้ นรม.พิจารณานำความกราบบังคมทูล ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตจัดทำเหรียญกษาปณ์ที่ระลึก และได้รับพระบรมราชานุญาตให้กรมธนารักษ์ฯ ดำเนินการจัดทำเหรียญกษาปณ์แล้วในวันที่ ๘ ก.ย. ๒๕๖๕
  • เมื่อวันที่ ๑๑ ต.ค. ๒๕๖๕ ครม.ได้เห็นชอบร่างกฎกระทรวงกำหนดลักษณะของเหรียญกษาปณ์ที่ระลึกฯ เพื่อเป็นสัญลักษณ์ให้ ปชช. จดจำการเป็นเจ้าภาพเอเปคของไทย และสร้างความตระหนักรู้และเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของ ปชช. ในวาระสำคัญนี้
  • เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกฯ เป็นโลหะสีขาว (ทองแดงผสมนิกเกิล) ชนิดราคา ๒๐ บาท ประเภทธรรมดา จำนวนไม่เกิน ๑ ล้านเหรียญ โดยมีลักษณะกลม วงขอบนอกมีเฟืองจักร ด้านหน้ามีพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และด้านหลังมีตราสัญลักษณ์ กปช.ผู้นำเขต ศก.เอเปค ครั้งที่ ๒๙ กรมสารนิเทศ กต.ได้ประสานงานกับกรมธนารักษ์และเป็นผู้รับผิดชอบ คชจ. ในการปั้นแบบและจัดทำดวงตราเหรียญกษาปณ์
  • ลำดับต่อไป สนง.คกก.กฤษฎีกา จะตรวจพิจารณาเพื่อให้ รมว.กค.ลงนามก่อนประกาศในราชกิจจานุเบกษา และกรมธนารักษ์จะดำเนินการจำหน่ายจ่ายแลกเหรียญกษาปณ์ที่ระลึกในวันที่ ๑ พ.ย. ๒๕๖๕ ซึ่ง กต.จะแจ้งรายละเอียดในการจองเหรียญกษาปณ์ที่ระลึกต่อไป

. งานประกาศและมอบรางวัลการทูตสาธารณะ ๒๕๖๕ (Public Diplomacy Award 2022) (๒๐ ต.ค.๒๕๖๕)

  • กต.ร่วมกับมูลนิธิไทย ขอเชิญสื่อมวลชนเข้าร่วมงานประกาศและมอบรางวัลการทูตสาธารณะ ๒๕๖๕ (Public Diplomacy Award 2022) ครั้งแรก ณ วิเทศสโมสร กระทรวงการต่างประเทศ ถนนศรีอยุธยา
  • ผู้ได้รับรางวัลในปีนี้คือ นายแพทย์สุนทร อันตรเสน ซึ่งมีผลงานโดดเด่นในการนำหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ โรคหู (Ear Surgery Mobile Unit) ไปให้บริการตรวจรักษาและผ่าตัดโรคหูให้แก่ประชาชนในท้องถิ่นพื้นที่ห่างไกลในประเทศต่าง ๆ เช่น จีน อินเดีย บังกลาเทศ เคนยา เมียนมา สปป.ลาว เวียดนาม และกัมพูชา ต่อเนื่องยาวนานกว่า ๓๐ ปี โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย
  • โครงการรางวัลการทูตสาธารณะจัดขึ้นเป็นปีแรก โดยกระทรวงการต่างประเทศร่วมกับมูลนิธิไทย เพื่อเชิดชูเกียรติบุคคล กลุ่มบุคคล หรือองค์กรที่ดำเนินงานสาธารณประโยชน์ มนุษยธรรม วัฒนธรรม กีฬา นวัตกรรม จนสามารถสร้างชื่อเสียงแก่ประเทศไทยและได้รับการยอมรับในต่างประเทศ รวมทั้งเป็นการส่งเสริมให้ผู้รับรางวัลสามารถดำเนินงานตามเจตนารมณ์ต่อไป และสร้างแรงบันดาลใจให้แก่บุคคล กลุ่มบุคคล หรือองค์กรอื่น อีกทั้งสร้างความตระหนักรู้ว่าประชาชนทั่วไปก็สามารถมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนงานการทูตสาธารณะได้
  • สื่อมวลชนที่สนใจ สามารถลงทะเบียนเข้าร่วมได้ทาง https://bit.ly/3yO5dlU

 

. รนรม./รมว.กต.เป็นประธานการประชุมกำกับและตั้งวอร์รูมติดตามการเตรียมการจัดประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค (๑๘ ต.ค. ๒๕๖๕)

  • รนรม./รมว.กต.เป็นประธานการประชุมกำกับและติดตามการเตรียมการจัดประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค และการประชุมที่เกี่ยวข้อง (APEC Economic Leaders’ Week-AELW) กับผู้บริหารระดับสูงและเจ้าหน้าที่กระทรวงการต่างประเทศ โดยมีการหารือประเด็นสำคัญ อาทิ การเตรียมการประชุมคณะกรรมการระดับชาติฯ ครั้งที่ ๓/๒๕๖๕ ซึ่ง นรม.จะเป็นประธานในวันที่ ๓๑ ต.ค. ๒๕๖๕ กำหนดการสำคัญในช่วง AELW การดำเนินการด้านพิธีการและอำนวยการ มาตรการการรักษาความปลอดภัยด้านต่าง ๆ ตลอดจนมาตรการสาธารณสุขและการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด-๑๙ ระหว่างการประชุมฯ และการประชาสัมพันธ์ที่เน้นให้ประชาชนตระหนักถึงผลประโยชน์การเป็นเจ้าภาพเอเปคของไทย
  • ที่ประชุมได้หารือรายละเอียดการเตรียมการเยือนทวิภาคีอย่างเป็นทางการของผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปคและแขกพิเศษของประธานในช่วงการประชุมฯ โดย รนรม./รมว.กต.ย้ำความสำคัญในการประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกระดับอย่างต่อเนื่องและใกล้ชิด โดยจะมีการจัดตั้ง สนง.ในรูปแบบ war room เพื่อให้การจัดการประชุม AELW เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและสมเกียรติต่อผู้นำมากที่สุด

๗. คำอธิบายเกี่ยวกับการงดออกเสียงในสมัชชาสหประชาชาติ (มิใช่การค้านข้อมติ)

  • ตามที่ไทยได้งดลงคะแนนเสียงร่างข้อมติ Terrirorial Integrity of Ukraine: Defending the Principles of the UN Charter ใน กปช. UNGA Emergency Special Session (ESS) ครั้งที่ ๑๑ เมื่อวันที่ ๑๒ ต.ค. ๒๕๖๕ ที่ผ่านมา ขอเรียนเหตุแห่งการงดออกเสียง ซึ่งไม่ใช่การค้านข้อมติ ดังนี้
  • ไทยยึดมั่นในกฎหมายระหว่างประเทศและกฎบัตรสหประชาชาติและโดยเฉพาะไม่เห็นด้วยกับการใช้กำลังผนวกดินแดนของรัฐอื่น แต่ที่ไทยงดออกเสียงต่อข้อมตินี้เป็นเพราะไม่เพียงมั่นใจว่า โลกรับรู้การวางตัวและพฤติกรรมของไทยในสหประชาชาติตลอด ๗๗ ปีของการคงอยู่ขององค์การโลกนี้ดีอยู่แล้ว (อาจจัดได้ว่าเป็นสมาชิกชั้นเลิศ) แต่เห็นว่าสถานการณ์ยูเครนที่เป็นอยู่ในขณะนี้อ่อนไหวและ
    พลุ่งพล่านเกินกว่าที่ผู้ที่มีความรับผิดชอบสูง จะพึงคิดเดิม ๆ แสดงท่าทีความเห็นเดิม ๆ ทั้งที่ตระหนักดีว่าความพยายามของโลกในการหาทางแก้ไขปัญหาด้วยการเจรจาอย่างจริงจังแทบไม่ปรากฏ มีแต่จะเวียนวนอยู่กับการประณามกัน ซึ่งรังแต่จะผลักให้คู่ขัดแย้งและทุกฝ่ายที่มีผลประโยชน์โดยตรงในการสู้รบ แข็งขืนไม่ยอมกัน หันไปเพิ่มการใช้ความรุนแรงมากขึ้น จนอาจเสี่ยงต่อการใช้อาวุธนิวเคลียร์ทำลายล้างกันได้
  • ขณะที่ไทยเศร้าใจยิ่งต่อสารพัดความสูญเสียที่เกิดตลอด ๘ เดือนที่ผ่านมาในยูเครน ซึ่งส่งผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของคนยูเครนและประชาชนของทุกประเทศรวมถึงไทยด้วย รัฐบาลไทยจึงไม่อาจจะนิ่งเฉยไม่แสดงท่าทีเรียกร้องให้ผู้มีส่วนได้เสียทั้งหลาย โดยเฉพาะประเทศตะวันตกและรัสเซีย จะหาทางแก้ไขปัญหาโดยการเจรจากันอย่างจริงจัง เพราะนี่คือหนทางเดียวที่จะหยุดการสู้รบนี้ได้ สันติสุขจะได้กลับคืนสู่ชาวยูเครนและคนทั้งโลก ที่แน่ ๆ คือลดโอกาสที่โลกจะเผชิญกับความเสี่ยงของการใช้อาวุธนิวเคลียร์ลงได้

๘. รายการบันทึกสถานการณ์ และ MFA Update

  • วันพฤหัสบดีที่ ๒๐ ต.ค. ๒๕๖๕ เวลา ๐๘.๓๐ - ๐๘.๔๕ น. รายการ “บันทึกสถานการณ์” ทาง FM 92.5 (ภาษาไทย) ได้สัมภาษณ์นายจักร บุญ-หลง อดีต ออท. ณ กรุงออสโล ในหัวข้อ “การทูตเวชการ” สามารถรับชมย้อนหลังได้ทาง youtube “MFA Thailand Channel”
  • วันศุกร์ที่ ๒๑ ต.ค. ๒๕๖๕ เวลา ๐๘.๐๕ - ๐๘.๒๐ น. รายการ “MFA Update” FM 88.0 (ภาษาอังกฤษ) จะสัมภาษณ์นางสาวศิรินธรา อัตถากร นักการทูตชำนาญการพิเศษ กองประมวลและวิเคราะห์ข่าว กรมสารนิเทศ ในหัวข้อ “APEC Communication Partners: Their Roles in Promoting APEC 2022 Thailand” สามารถรับชมย้อนหลังได้ทาง youtube “MFA Thailand Channel”

. รายการเวทีความคิด

  • วันพฤหัสบดีที่ ๒๐ ต.ค. ๒๕๖๕ เวลา ๒๐.๓๐ - ๒๐.๕๘ น. รายการ “เวทีความคิด” จะสัมภาษณ์อธิบดีกรมสารนิเทศ ในหัวข้อ “ไทยในเวทีโลก ปี ๒๕๖๕: บทบาทของไทย ในการขับเคลื่อน BCG ในเอเปค ๒๐๒๒” สามารถรับฟังได้ทาง FM 96.5 หรือรับฟังย้อนหลังทาง youtube “MFA Thailand Channel”

 

ช่วง ถาม-ตอบ

คำถาม การเข้าเป็นสมาชิกอาเซียนของติมอร์เลสเต เนื่องจากมีกระแสข่าวว่ามีการยืนยันการเข้าเป็นสมาชิกแล้ว

คำตอบ ยังอยู่ระหว่างการหารือ

 

คำถาม การเข้าร่วมของผู้นำในการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค

คำตอบ ตอบรับเข้าร่วมเป็นลายลักษณ์อักษรแล้ว ๖ เขต ศก. (ชิลี จีนฮ่องกง นิวซีแลนด์ เปรู สิงคโปร์ จีนไทเป) ตอบรับเข้าร่วมด้วยวาจา ๓ เขต ศก. มอบผู้แทน ๑-๒ เขต ศก. รอการยืนยัน ๔ เขต ศก. แขกพิเศษของประธาน ๓ ประเทศ ทั้งนี้จะมีการประชุมคณะกรรมการระดับชาติเพื่อเตรียมการประชุมผู้นำเขต ศก. เอเปค ซึ่งมี นรม. เป็นประธานในวันที่ ๓๑ ต.ค. ๒๕๖๕ ซึ่งจะมีการประกาศการเข้าร่วมของผู้นำ

 

ในส่วนการเข้าร่วมของจีนนั้น เมื่อครั้ง รนรม./รมว.กต. ได้หารือมนตรีแห่งรัฐและ รมว.กต.จีน ได้แจ้งว่าหากไม่ติดภารกิจจะมาเข้าร่วม

ในส่วนของการรักษาความปลอดภัยสำหรับการต้อนรับสำหรับการต้อนรับผู้นำเขต ศก. เอเปค ได้มีการเตรียมการล่วงหน้าโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว

 

 

 * * * * *

 

รับชมแถลงข่าวย้อนหลัง:  https://fb.watch/gfgOlZvg96/

คลิปแถลงข่าว: ช่อง Youtube “MFA ThailandChannel”: https://www.youtube.com/user/mfathailand

 

กองการสื่อมวลชน
กรมสารนิเทศ

 

รูปภาพประกอบ

รูปภาพประกอบ

เอกสารประกอบ

pwp_ประกอบการแถลงข่าว_19_ตค_2565.pdf