อธิบดีกรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศย้ำสนับสนุนการจัดการประชุมระดับรัฐมนตรีของ OECD Southeast Asia Regional Programme (SEARP) ภายใต้หัวข้อ Smarter, Greener and More Inclusive ASEAN ในที่ประชุม Steering Group Meeting ครั้งที่ ๘

อธิบดีกรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศย้ำสนับสนุนการจัดการประชุมระดับรัฐมนตรีของ OECD Southeast Asia Regional Programme (SEARP) ภายใต้หัวข้อ Smarter, Greener and More Inclusive ASEAN ในที่ประชุม Steering Group Meeting ครั้งที่ ๘

วันที่นำเข้าข้อมูล 15 ธ.ค. 2564

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 29 พ.ย. 2565

| 3,104 view
เมื่อวันที่ ๙ ธันวาคม ๒๕๖๔ นายเชิดชาย ใช้ไววิทย์ อธิบดีกรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ เป็นประธานร่วมการประชุม Steering Group Meeting of the OECD Southeast Asia Regional Programme (SEARP) ครั้งที่ ๘ ผ่านระบบการประชุมทางไกล โดยที่ประชุมได้หารือประเด็นการดำเนินการต่อไปในการขับเคลื่อนความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับ OECD และการเตรียมการจัดการประชุม SEARP ระดับรัฐมนตรี ในปี ๒๕๖๕ ณ กรุงโซล 
ในโอกาสนี้ อธิบดีกรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศย้ำความสำคัญของความเป็นหุ้นส่วนระหว่างอาเซียนกับ OECD เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินการตามกรอบการฟื้นฟูที่ครอบคลุมของอาเซียน (ASEAN Comprehensive Recovery Framework) โดยได้แบ่งปัน ๓ แนวทาง ดังนี้ (๑) Smarter ASEAN ด้วยการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้และประสานกฎเกณฑ์ในระบบเศรษฐกิจดิจิทัล (๒) Greener ASEAN ด้วยการผลักดันวาระ ASEAN Green Agenda ในการเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานสะอาดและการเงินสีเขียว และ (๓) Inclusive ASEAN ด้วยการปรับทักษะแรงงานสำหรับอุตสาหกรรมแห่งอนาคตและส่งเสริมการแข่งขันอย่างเป็นธรรมกับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) 
นอกจากนี้ ฝ่ายไทยยังย้ำสนับสนุนการจัดการประชุมระดับรัฐมนตรีในปี ๒๕๖๕ ณ กรุงโซล ภายใต้หัวข้อ “Human-centred Future: Partnership for a Smarter, Greener and More Inclusive ASEAN” พร้อมทั้งแสดงความยินดีกับออสเตรเลียและเวียดนามที่ได้รับเลือกเป็นว่าที่ประธานร่วม SEARP  
อนึ่ง โครงการ SEARP ริเริ่มขึ้นเมื่อปี ๒๕๕๗ มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่าง OECD กับอาเซียนด้วยการสนับสนุนการรวมตัวของภูมิภาคอาเซียน ส่งเสริมกระบวนการปฏิรูปภายในประเทศสมาชิกอาเซียน และเพิ่มการมีส่วนร่วมประเทศสมาชิกอาเซียนในหน่วยงานและกลไกต่าง ๆ ของ OECD ผ่านการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และแนวปฏิบัติที่ดี โดยครอบคลุม ๑๓ ประเด็นสาขาความร่วมมือ เช่น การลงทุน ภาษี นวัตกรรม การฟื้นตัวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การท่องเที่ยว และ MSMEs เป็นต้น ทั้งนี้ ไทยดำรงตำแหน่งประธาน SEARP ร่วมกับสาธารณรัฐเกาหลีตั้งแต่ปี ๒๕๖๑ 

รูปภาพประกอบ

รูปภาพประกอบ