สาธารณรัฐลิทัวเนีย (Lithuania)

สาธารณรัฐลิทัวเนีย (Lithuania)

วันที่นำเข้าข้อมูล 6 ก.พ. 2562

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 29 พ.ย. 2565

| 1,765 view

 

 

 

 

 

 

สาธารณรัฐลิทัวเนีย (Lithuania)

 

 

 

 

 

 

 

 

 

• ก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ เทคโนโลยีชีวภาพ เทคโนโลยีเลเซอร์ มีความเร็วอินเตอร์เน็ตอันดับต้นของโลกแรงงานมีฝีมือ ค่าจ้างแรงงานต่ำ เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศสมาชิก EU อื่น ๆ
• มีท่าเรือไคลเปดา (Klaipeda Port) เป็นเส้นทางเชื่อมกับท่าเรือของประเทศยุโรปอื่น ๆ รวมทั้งมีเขตเศรษฐกิจพิเศษไคลเปดา (Klaipeda Free Economic Zone)
ซึ่งมีบริษัทไทยเข้าไปลงทุน
• เป็นสมาชิก EU  ASEM  และองค์กรในยุโรปสำคัญ ๆ เช่น  NATO OSCE
• ความสัมพันธ์ไทยกับลิทัวเนียเป็นไปอย่างราบรื่นและมีพลวัตที่สุดในกลุ่มประเทศบอลติก ล่าสุด สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ เยือนลิทัวเนียอย่างเป็นทางการตามคำทูลเชิญของประธานาธิบดีลิทัวเนีย ระหว่างวันที่ 14-15 เมษายน 2559

ข้อมูลทั่วไป

พื้นที่

65,300 ตร.กม. (ไทย 513,120 ตร.กม.)

ประธานาธิบดี

นางสาวดาเลีย  กรีบาวสเคท (Miss Dalia  Grybauskaite)

เมืองหลวง

Vilniaus

นายกรัฐมนตรี

นายอัลเกดัส  บัทเกเวเชียส (Mr. Algirdas  Butkevičius)

ประชากร

3 ล้านคน (ไทย 69 ล้านคน)
(ข้อมูลจาก World Bank ปี 2560)

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ

ลินัส  ลิงเกเวเชียส (Linas  Linkevičius)

ภาษาราชการ

ลิทูเนียน

วันชาติ

16 กุมภาพันธ์

ศาสนา

คริสต์ ร้อยละ 77.2 (กายโรมันคาทอลิก) คริสต์ ร้อยละ 4.1 (นิกายออร์ทอด็อกซ์) คริสต์ ร้อยละ 0.6 (นิกายลูเทอแรน) อื่น ๆ ร้อยละ 18.1 (ไม่นับถือศาสนาใด)

วันสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับไทย

9 เมษายน 2536 (ค.ศ. 1993)

ข้อมูลเศรษฐกิจ

GDP 

47.17 ล้าน USD (ไทย 455.22 ล้าน USD)
(ข้อมูลจาก World Bank ปี 2560)

สกุลเงิน

1 EUR = 38.88 บาท

GDP per Capita

16,680.7 USD (ไทย 6,593.8 USD)
(ข้อมูลจาก World Bank ปี 2560)

อัตราเงินเฟ้อ

ร้อยละ 3.7 (ไทย ร้อยละ 0.7)
(ข้อมูลจาก World Bank ปี 2560)

GDP Growth

ร้อยละ 3.8 (ไทย ร้อยละ 3.9)
(ข้อมูลจาก World Bank ปี 2560)

 

 

ทรัพยากรสำคัญ

ไม้ อำพัน เชื้อเพลิงหุงต้ม

อุตสาหกรรมหลัก

การผลิตอาหาร ยา ไม้ เคมีภัณฑ์ เครื่องใช้ไฟฟ้า สิ่งทอ เครื่องจักรทางการเกษตร ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์

สินค้าส่งออกที่สำคัญ

ผลิตภัณฑ์แร่ธาตุ เครื่องจักร เคมีภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์อาหาร

ตลาดส่งออกที่สำคัญ

เอสโตเนีย เนเธอร์แลนด์ โปแลนด์ ลัตเวีย เยอรมนี รัสเซีย

สินค้านำเข้าที่สำคัญ

ผลิตภัณฑ์แร่ธาตุ เครื่องจักร เคมีภัณฑ์ โลหะ

ตลาดนำเข้าที่สำคัญ

เนเธอร์แลนด์ ลัตเวีย โปแลนด์ เยอรมนี รัสเซีย

สถิติที่สำคัญไทย-สาธารณรัฐลิทัวเนีย

มูลค่าการค้า

37.5 ล้าน USD ไทยส่งออก 23.89 ล้าน USD นำเข้า 13.61 ล้าน USD จึงได้เปรียบดุลการค้า 10.28 ล้าน USD
(ข้อมูลจากกระทรวงพาณิชย์ ปี 2560)

สินค้าส่งออก

10 อันดับแรก ได้แก่ (1) เส้นใยสังเคราะห์ (2) ผลไม้กระป๋องและแปรรูป (3) เครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่องจักรกล
(4) ผลิตภัณฑ์ยาง (5) เคมีภัณฑ์ (6) สิ่งทอ (7) ยางพารา (8) รถยนต์และอุปกรณ์ (9) ข้าว (10) เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์

สินค้านำเข้า

10 อันดับแรก ได้แก่ (1) ไม้ซุง ไม้แปรรูปและผลิตภัณฑ์ (2) สัตว์น้ำสด แช่เย็น แช่แข็ง แปรรูปและกึ่งสำเร็จรูป (๓) เครื่องใช้และเครื่องตกแต่งภายในบ้านเรือน (4) ถ่านหิน (5) พืชและผลิตภัณฑ์จากพืช (6) เสื้อผ้าสำเร็จรูป (7) เคมีภัณฑ์ (8) เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ (9) ลวดและสายเคเบิล (10) สินแร่โลหะอื่น ๆ เศษโลหะและผลิตภัณฑ์

 

การลงทุน

ข้อมูลเงินลงทุนโดยตรงของไทยในต่างประเทศ 1.94 ล้าน USD
 

การท่องเที่ยว

ปี 2560 มีนักท่องเที่ยวจากสาธารณรัฐลิทัวเนียเดินทางมาประเทศไทยจำนวน 10,750 คน (ลดลงร้อยละ 1 จากปี 2559)

คนไทยในสาธารณรัฐลิทัวเนีย

อยู่ระหว่างปรับปรุงข้อมูล

หน่วยงานไทยในสาธารณรัฐลิทัวเนีย

สถานกงสุลกิตติมศักดิ์ (Vilniaus)

หน่วยงานของสาธารณรัฐลิทัวเนียในไทย

อยู่ระหว่างปรับปรุงข้อมูล

สถานะ ณ วันที่แก้ไขข้อมูลล่าสุด วันที่ 31 มกราคม 2562

สถานะ ณ วันที่ออกเอกสาร วันที่ 4 มีนาคม 2562