เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนในกรอบสหประชาชาติ

เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนในกรอบสหประชาชาติ

วันที่นำเข้าข้อมูล 8 ม.ค. 2557

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 30 พ.ย. 2565

| 38,602 view

วาระการพัฒนาภายหลังปี ค.ศ. 2015

และการจัดทำเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนในกรอบสหประชาชาติ

 

1. ภูมิหลัง

            เป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ (Millennium Development Goals – MDGs) จะสิ้นสุดลงในปี ค.ศ. 2015 UN จึงได้ริเริ่มกระบวนการหารือเพื่อกำหนดวาระการพัฒนาภายหลังปี ค.ศ. 2015 (post-2015 development agenda) ตามกระบวนทัศน์ “การพัฒนาที่ยั่งยืน” โดยประเด็นสำคัญของวาระการพัฒนาภายหลังปี ค.ศ. 2015 คือ การจัดทำเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals–SDGs)

2. กระบวนการที่สำคัญต่างๆ

          2.1 Open Working Group on Sustainable Development Goals (OWG on SDGs) เป็นคณะทำงานระหว่างรัฐบาลเพื่อจัดทำ SDGs ให้ UNGA พิจารณาในช่วง ก.ย. 2557 โดยไทยได้อยู่ในคณะทำงานด้วย

            2.2 High-level Panel of Eminent Persons on the Post-2015 Development Agenda (HLP) มี ปธน. อินโดนีเซีย ปธน. ไลบีเรีย และ นรม. สหราชอาณาจักร เป็น Co-Chair ได้เสนอรายงานต่อ UNSG เมื่อ พ.ค. 2556 โดยเสนอให้มี “transformative shifts” 5 ประการ ได้แก่ (1) leaving no one behind (2) putting sustainable development at the core (3) transforming economies for jobs and inclusive growth (4) building peace and open and effective institutions for all และ (5) forging a new global partnership

            2.3 High-Level Political Forum on Sustainable Development (HLPF) ได้ถูกจัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นกลไกหลักในการดำเนินงานด้านการพัฒนาที่ยั่งยืนแทนที่ Commission on Sustainable Development (CSD) ที่ได้ล้มเลิกไปแล้ว เพื่อยกระดับการมีส่วนร่วมของผู้นำในกระบวนการพัฒนาที่ยั่งยืน และหลีกเลี่ยงข้อจำกัดของ CSD ซึ่งขาดการมีส่วนร่วมของหน่วยงานด้านสังคมและเศรษฐกิจของประเทศสมาชิก ทั้งนี้ได้มีการประชุมครั้งแรกในช่วง UNGA68

3. การดำเนินการของไทย

          3.1 การจัดตั้งคณะกรรมการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (กพย.) เมื่อ 24 ก.ค. 2556 โดยมีเลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อมเป็นกรรมการและเลขานุการ

            3.2 การจัดการประชุม Asia-Pacific Ministerial Dialogue: From the Millennium Development Goals to the United Nations Development Agenda beyond 2015 ร่วมกับเอสแคป ช่วง 26-28 ส.ค. 2556 ที่กรุงเทพฯ โดยที่ประชุมได้รับรอง Bangkok Declaration of the Asia-Pacific region on the United Nations Development Agenda beyond 2015

4. ประเด็นที่ไทยมีบทบาทนำและสามารถผลักดันได้ในเวทีสหประชาชาติ ได้แก่

            หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง การขจัดความยากจน การส่งเสริมหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าการส่งเสริมการลดความเสี่ยงและบรรเทาภัยพิบัติ รวมทั้งการบริหารจัดการน้ำ และการส่งเสริมสิทธิมนุษยชนในเวทีระหว่างประเทศ 

 

5. ประเด็นที่ไทยควรให้ความสำคัญใน post-2015 development agenda และ SDGs

            5.1 หลักการ ควรยึดประชาชนเป็นศูนย์กลางตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง และมีการขจัดความยากจนเป็นเป้าหมายหลัก ครอบคลุมประชาชนจากทุกภาคส่วน ทั้งในส่วนของกระบวนการจัดทำ SDGs และการนำไปปฏิบัติ เพื่อให้ได้รับการสนับสนุนจากทุกภาคส่วน ให้ความสำคัญต่อบทบาทของสตรีในการมีส่วนร่วมในวาระการพัฒนา เรียนรู้จากประสบการณ์ของ MDGs และตอบสนองต่อสิ่งท้าทายที่เกิดขึ้นใหม่ เช่น การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ โรคภัยใหม่ ๆ รวมถึงภัยพิบัติทางธรรมชาติ

            5.2 วาระการพัฒนาภายหลังปี ค.ศ. 2015 ควรครอบคลุม 4 ประเด็น ดังนี้

                1) Ensuring sustainability

                   - วิกฤตเศรษฐกิจทำให้ประชาชนที่พ้นจากสภาวะยากจนแล้วต้องกลับไปเผชิญสถานะเดิม เนื่องจากไม่มีงานทำ ดังนั้น การเจริญเติบโตที่ยั่งยืน ผ่านการสร้างงาน โดยเฉพาะการสร้างงานที่มีคุณค่าจึงมีความสำคัญ รวมถึงการส่งเสริมการศึกษาที่เน้นคุณภาพ และตอบสนองต่อความต้องการของตลาดแรงงาน 

                        - ความยั่งยืนในเชิงสิ่งแวดล้อม โดยหัวใจหลักคือการพัฒนาด้านเศรษฐกิจที่จะต้องคำนึงถึงทรัพยากรที่จะเหลือไปถึงคนรุ่นหลัง นอกจากนั้น ยังมีประเด็นสำคัญที่ต้องพิจารณาคือ ความมั่นคงทางด้านน้ำ อาหาร และพลังงาน

                2) Building resilience

                   -เป้าหมายด้านสุขภาพ เป็น MDGs ที่ยังคงไม่บรรลุและสำคัญต่อศักยภาพของมนุษย์ในการตอบสนองต่อสิ่งท้าท้ายใหม่ ๆ ดังนั้น  Post-2015 Development Agenda ควรมีประเด็นเรื่อง Universal Health Coverage ที่ไทยมีบทบาทนำและสามารถเป็นแบบอย่างที่ดีต่อประเทศอื่น

                        - ประเด็นด้านการบริหารจัดการความเสี่ยงและบรรเทาภัยจากเหตุภัยพิบัติ เนื่องจากได้เกิดขึ้นถี่และรุนแรงขึ้น ทำให้การบรรลุการพัฒนาที่ยั่งยืนต้องชะงักหรือถดถอยลง ทั้งนี้ ไทยสามารถก้าวผ่านวิกฤตมหาอุทกภัยและสามารถแลกเปลี่ยนประสบการณ์การบริหารจัดการน้ำกับประเทศต่าง ๆ

              3) Reducing inequality and promoting human rights

                   - การเข้าถึงคนจากทุกภาคส่วนในสังคมสำคัญต่อนโยบายที่ยึดคนเป็นศูนย์กลาง ดังนั้น ควรให้ความสำคัญกับการลดความไม่เท่าเทียมกัน ทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ

                   - รัฐจะต้องให้ความสำคัญเป็นพิเศษแก่ vulnerable groups โดยเฉพาะเด็ก สตรี ผู้พิการ และผู้สูงอายุ ซึ่งยังคงถูกละเลยอยู่มากและเพื่อบรรลุการพัฒนาที่ครอบคลุมทุกภาคส่วนและลดความไม่เสมอภาค

              4) Means of implementation

                   - การเสริมสร้างหลักธรรมาภิบาล (good governance) และหลักนิติธรรม (rule of law) เป็นวิธีการนำไปสู่การพัฒนาที่ครอบคลุมและยั่งยืน นอกจากนี้ จะไม่สามารถบรรลุการพัฒนาที่ยั่งยืนได้หากประเทศไม่มีความสงบสุขและสันติภาพ

                   - การเสริมสร้างความเป็นหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนา ทั้งในประเทศและระหว่างประเทศโดยส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ทั้ง ภาครัฐ เอกชน ภาคประชาสังคม และนักวิชาการ

---------------------------------

กรมองค์การระหว่างประเทศ

กองกิจการเพื่อการพัฒนา