สาธารณรัฐแอลเบเนีย

สาธารณรัฐแอลเบเนีย

วันที่นำเข้าข้อมูล 29 มี.ค. 2555

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 30 พ.ย. 2565

| 28,894 view


สาธารณรัฐแอลเบเนีย
Republic of Albania

ข้อมูลทั่วไป


ที่ตั้ง ตั้งอยู่ในภูมิภาคยุโรปตะวันออกเฉียงใต้ ทิศตะวันตกของคาบสมุทรบอลข่าน ทิศเหนือและทิศตะวันออกเฉียงเหนือติดกับเซอร์เบียและมอนเตเนโกร ทิศตะวันออกติดกับมาซิโดเนีย ทิศใต้และทิศตะวันออกเฉียงใต้ติดกับกรีซ ทิศตะวันตกติดกับทะเล Adriatic และทะล Ionian

พื้นที่ 28,748 ตารางกิโลเมตร

เมืองหลวง กรุงติรานา

ประชากร 3.6 ล้านคน ประกอบด้วยชาวแอลเบเนียนร้อยละ 95 ชาวกรีกร้อยละ 3 อื่นๆ ร้อยละ 2

ภูมิอากาศ บริเวณที่ราบแถบชายฝั่งทะเลมีภูมิอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียน ส่วนภายในประเทศมีภูมิอากาศหลากหลาย อาทิ อบอุ่นชื้นบริเวณที่ราบต่ำภายในประเทศ ลมแรง ฝนตก บริเวณที่ราบสูงแถบเทือกเขา

ภาษา แอลเบเนียน และมีการใช้ภาษากรีกอย่างกว้างขวางในทางตอนใต้ของประเทศ

ศาสนา มุสลิม (สุหนี่) ร้อยละ 70 แอลเบเนียนออโธด๊อกซ์ร้อยละ 20 คริสต์นิกายโรมันคาทอลิกร้อยละ 10

หน่วยเงินตรา Lek (เล็ก) 1 Lek เท่ากับ 0.28 บาท

ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ 12.84 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ปี 2554)

รายได้ประชาชาติต่อหัว 3,992 ดอลลาร์สหรัฐ (ปี2554)

การขยายตัวทางเศรษฐกิจ ร้อยละ 2.5 (ปี 2554)

ระบอบการปกครอง 
ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา โดยเป็นระบบสภาเดียว คือ สภา-ประชาชน (People’s Assembly) มีสมาชิก 140 คน โดย 100 คน มาจากการเลือกตั้งโดยตรง อีก 40 คนมาจากระบบปาร์ตี้-ลิสต์ ประธานาธิบดีเป็นประมุขของประเทศมาจากการเลือกตั้งโดยสภาประชาชน มีวาระการดำรงตำแหน่ง 5 ปี ปัจจุบัน คือ นายบูยาร์ นีชานี (Bujar Nishani) นายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้ารัฐบาล โดยประธานาธิบดีเป็นผู้เสนอชื่อ เพื่อขอความเห็นชอบจากสภาประชาชน ดำรงตำแหน่ง 4 ปี ปัจจุบัน คือ นายสาลิ เบริชา (Sali Berisha)


ประธานาธิบดี นายบูยาร์ นีชานี (Bujar Nishanii) (2550-ปัจจุบัน)
นายกรัฐมนตรี นายสาลิ เบริชา (Sali Berisha) (2548-ปัจจุบัน)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ นายเอ็ดมอนด์ พานาริติ (Edmond Panariti) (ก.ค.55)

 

การเมืองการปกครอง


ระบบการปกครอง
แอลเบเนียมีการปกครองแบบสาธารณรัฐ (Republic) และมีประธานาธิบดีเป็นประมุข ซึ่งได้รับการเลือกตั้งจากสภา มีวาระดำรงตำแหน่ง 5 ปีแอลเบเนียมีระบบสภาเดี่ยว ประกอบด้วย สมาชิกจำนวน 155 คน โดย 115 ที่นั่งจะได้รับเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน และ 40 ที่นั่งจะมีการจัดสรรกันตามสัดส่วนคะแนนเสียงที่แต่ละพรรคได้รับการเลือกตั้งเข้ามา สมาชิกจะอยู่ในตำแหน่งคราวละ 4 ปีแอลเบเนียแบ่งการปกครองส่วนท้องถิ่นออกเป็น 26 เขต (districts) ในแต่ละเขตบริหารโดยสภาประชาชนของท้องถิ่น โดยสมาชิกสภาจะมีวาระการดำรงตำแหน่ง 3 ปี รัฐธรรมนูญสังคมนิยมของแอลเบเนียปี 1976 ได้ถูกยกเลิกเมื่อเดือนเมษายน 2534 และใช้ basis law แทน เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2537 ร่างรัฐธรรมนูญได้ถูกคัดค้านในการลงประชามติ ปัจจุบันแอลเบเนียยังไม่มีรัฐธรรมนูญถาวร

สถานการณ์การเมืองในแอลเบเนีย
ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 แอลเบเนียได้ถูกอิตาลีและเยอรมนีได้เข้ายึดครอง ต่อมาหลังจากการปราชัยของฝ่ายอักษะ แอลเบเนียได้ตกอยู่ภายใต้การปกครองของสหภาพโซเวียต และปกครองภายใต้ระบอบคอมมิวนิสต์ตั้งแต่ปี 2490 ในระยะแรกของการปกครองโดยระบอบคอมมิวนิสต์ แอลเบเนียมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับยูโกสลาเวีย ต่อมาในปี 2492 ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศทั้งสองเสื่อมทรามลงเนื่องจากแอลเบเนียไม่เห็นด้วยกับอุดมการณ์คอมมิวนิสต์ในแบบของยูโกสลาเวีย และหันมาให้ความสนิทสนมกับสหภาพโซเวียตแทน หลังจากมรณกรรมของสตาลิน ความสัมพันธ์ระหว่างแอลเบเนียและสหภาพโซเวียตได้เสื่อมทรามลงตามลำดับ เนื่องจากแอลเบเนียไม่เห็นด้วยกับนโยบายของนายครุสชอฟและนายเบรสเนฟ และเป็นเหตุให้แอลเบเนียหันมาให้การสนับสนุนจีนในกรณีความขัดแย้งระหว่างจีนและสหภาพโซเวียต แอลเบเนียตัดความสัมพันธ์กับสหภาพโซเวียตในปี 2505 ต่อมาเมื่อจีนหันไปปรับปรุงความสัมพันธ์กับสหรัฐฯ ในปี 2516 ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างจีนและแอลเบเนียเสื่อมทรามลง แอลเบเนียยังได้แสดงความสนับสนุนเวียดนามกรณีพิพาทกับจีน จนกระทั่งจีนประกาศตัดความร่วมมือทางเศรษฐกิจและทหารกับแอลเบเนียโดยสิ้นเชิง ในปี 2520 แอลเบเนียประกาศนโยบายปิดประเทศและเน้นนโยบายพึ่งพาตนเอง

หลังการล่มสลายของระบอบคอมมิวนิสต์ในยุโรปตะวันออกในปี 2532 แอลเบเนียได้เปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบประชาธิปไตยแบบมีรัฐสภาและจัดการเลือกตั้งแบบเสรีประชาธิปไตยครั้งแรกขึ้นเมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2534

แอลเบเนียจัดการเลือกตั้งประธานาธิบดีครั้งล่าสุดเมื่อปี 2545 ผลการเลือกตั้งปรากฎว่า
นาย Alfred Moisiu อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมได้รับชัยชนะอย่างถล่มทลาย นาย Moisiu มีนโยบายมุ่งตะวันตกมากกว่าประธานาธิบดีคนก่อนๆ แอลเบเนียจัดการเลือกตั้งทั่วไปครั้งล่าสุดเมื่อเดือนมิถุนายน 2548 ซึ่งคณะกรรมธิการการเลือกตั้งได้รับอุทธรณ์ถึงผลการเลือกตั้งและการทุจริตในการเลือกตั้งกว่า 300 เรื่อง คณะกรรมาธิการเลือกตั้งจึงได้มีคำสั่งให้จัดการเลือกตั้งใหม่ใน 3 เขตการเลือกตั้ง ผลปรากฎว่าพรรค Democratic Party of Albania (DPA) ได้รับชัยชนะในทั้ง 3 เขต แกนนำรัฐบาล ได้แก่ พรรค DPA ได้ร่วมกับพรรคการเมืองเล็กๆ อีก 10 พรรคจัดตั้งรัฐบาลผสมขึ้น โดยเข้ารับหน้าที่เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2548 นาย Sali Berisha นายกรัฐมนตรีได้ประกาศเจตนารมย์อันดับแรกของรัฐบาลในการปราบปรามการฉ้อราษฎ์บังหลวง ปราบปรามอาชญากรรม มุ่งลดภาษี ดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากต่างชาติ ปรับปรุงสภาวะแวดล้อมทางธุรกิจ ปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานโดยเฉพาะอย่างยิ่งการจ่ายไฟฟ้า อย่างไรก็ดี การปฏิรูปโครงสร้างพื้นฐานและปราบปรามการทุจริตในวงราชการยังคงเป็นปัญหาที่ท้าทายของแอลเบเนีย รวมถึงกระบวนการยุติธรรมที่อ่อนแอ และไม่โปร่งใส การบริหารราชการยังคงถูกครอบงำจากผู้มีอิทธิพลทางการเมือง ปัญหาอาชญากรรมจัดตั้งยังไม่ได้รับการแก้ไขให้ดีขึ้น ซึ่งทั้งหมดมีผลต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างชาติ ทำให้การเมืองภายในแอลเบเนียยังคงขาดเสถียรภาพ และแอลเบเนียยังคงได้รับการวิจารณ์ว่าเป็นศูนย์กลางการค้ามนุษย์ และยาเสพติดในภูมิภาคยุโรปตะวันออกเฉียงใต้

นโยบายต่างประเทศ
แอลเบเนียได้เริ่มปรับเปลี่ยนนโยบายจากเดิมที่เป็นประเทศซึ่งมีผู้นำเผด็จการภายใต้ระบอบคอมมิวนิสต์แบบสตาลิน และมีความผูกพันกับจีน มาเป็นนโยบายต่างประเทศที่มุ่งสู่ตะวันตกมากขึ้น ตั้งแต่ปี 2535 เป็นต้นมา โดยเฉพาะได้พยายามกระชับความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับสหภาพยุโรปซึ่งมีความผูกพันทางภูมิศาสตร์ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และเศรษฐกิจ รวมทั้งเป็นพันธมิตรทางทหารกับสหรัฐฯ เพื่อโอกาสในการเข้าเป็นสมาชิกนาโต ต่อไป

ความสัมพันธ์กับสหภาพยุโรป
แอลเบเนียได้แสดงความสนใจเข้าเป็นสมาชิกของสหภาพยุโรป โดยในปี 2546ได้เริ่มเจรจาเพื่อเข้าร่วมเป็นภาคีในความตกลง Stabilisation and Association Agreement (SAA) ซึ่งเป็นกรอบความตกลงระหว่างสหภาพยุโรปและ 5 ประเทศในกลุ่มบอลข่าน เพื่อเตรียมการเข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป ซึ่งตลอดการเจรจา สหภาพยุโรปแสดงความกังวลต่อความมั่นคงทางการเมือง ทำให้การเจรจาล่าช้ากว่ากำหนด โดยแอลเบเนียได้ลงนามร่วมกันสหภาพยุโรปเป็นภาคีในความตกลง SAA เมื่อเดือนมิถุนายน 2549 อย่างไรก็ตาม แอลเบเนียจำต้องรอให้สมาชิกสหภาพยุโรปทั้ง 25 ประเทศให้สัตยาบัญในความตกลงดังกล่าว และมีการปฏิบัติตามความตกลงระยะเวลาหนึ่ง ก่อนจะสมัครเข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปได้ แอลเบเนียเป็นประเทศที่สามในกลุ่มประเทศบอลข่านถัดจากโครเอเชียและมาซิโดเนีย ที่ได้ลงนามในความตกลง SAA กับสหภาพยุโรป

ความสัมพันธ์กับสหรัฐฯ
ความสัมพันธ์ระหว่างแอลเบเนียกับสหรัฐอเมริกาดำเนินภายใต้โครงการความช่วยเหลือ US Aid และภายใต้กรอบนาโต โดยเป็นสมาชิก Euro-Alantic Partnership Council และโครงการ Partnership for Peace ของนาโต นอกจากนี้แอลเบเนียยังเป็นพันธมิตรของสหรัฐฯ (Coalition of Willing) ในสงครามกับอิรัก ซึ่งสหรัฐฯ ได้ตอบแทนแอลเบเนียด้วยการให้การสนับสนุนการเข้าเป็นสมาชิกนาโต โดยเมื่อเดือนพฤษภาคม 2549 แอลเบเนีย โครเอเชีย และมาซิโดเนีย ได้ร่วมลงนามใน US-Adriatic Partnership Charter เพื่อผลักดันให้ประเทศเหล่านี้ได้เป็นสมาชิกนาโต โดยเร็ว คาดว่าแอลเบเนียคงจะได้รับเชิญเข้าเป็นสมาชิกในการประชุมสุดยอดนาโตครั้งหน้าในปี 2551

ความสัมพันธ์กับอิตาลีและกรีซ
อิตาลีและกรีซเป็นประเทศคู่ค้าที่สำคัญของแอลเบเนีย และเป็นประเทศที่มีความสำคํญระดับทวิภาคีกับแอลเบเนียมากที่สุด อิตาลีและกรีซมีชาวแอลเบเนียอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งส่วนใหญ่เป็นแรงงานผิดกฎหมาย หรือมีส่วนเกี่ยวข้องกับองค์การอาชญากรรมอันเป็นปัญหาเรื้อรัง ในส่วนของความสัมพันธ์กับกรีซ ปัญหาชาวกรีกกลุ่มน้อยในแอลเบเนีย และปัญหากลุ่มชนชาว Chams ซึ่งเป็นชนกลุ่มน้อยชาวแอลเบเนียในกรีซ ที่ถูกผลักดันให้ออกจากกรีซหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยแอลเบเนียพยายามผลักดันให้กรีซจ่ายค่าเสียหายให้ ก็ยังเป็นประเด็นที่มีความสำคัญอยู่ในขณะนี้

 

เศรษฐกิจการค้า


เศรษฐกิจ

แอลเบเนียเป็นประเทศเล็ก และยากจนที่สุดประเทศหนึ่งในยุโรป มีประชากรประมาณ 3 ล้านกว่าคน โดยประชากรเชื้อสายแอลเบเนียส่วนมากกระจัดกระจายอยู่ทั่วภูมิภาคบอลข่าน รวมทั้งในสหรัฐฯ ออสเตรเลีย และญี่ปุ่น และส่งรายได้กลับประเทศ แอลเบเนียเริ่มดำเนินการปฏิรูปเปลี่ยนแปลงระบบเศรษฐกิจของตนจากระบบเศรษฐกิจแบบการวางแผนจากส่วนกลางภายใต้ระบอบคอมมิวนิสต์เมื่อกลางปี ๒๕๓๕ โดยการที่รัฐบาลพยายามควบคุมการเงินและการคลังของประเทศ ให้วิสาหกิจและอุตสาหกรรมขนาดย่อมพึ่งตนเองด้านการเงิน ให้เอกชนเป็นเจ้าของทรัพย์สินและกิจการ และสนับสนุนการลงทุนจากต่างประเทศโดยใช้ประโยชน์จากการที่แอลเบเนียยังมีค่าแรงที่ต่ำ (ประมาณ 100 ยูโร/เดือน) แต่เดิมนั้น แอลเบเนียเป็นประเทศที่ผลิตน้ำมันดิบ แต่ด้วยเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ล้าสมัย ทำให้ผลผลิตมีคุณภาพต่ำและประสบปัญหาการขาดแคลนตลาดในการส่งออก แอลเบเนียมีเมืองท่า Durres ริมฝั่งทะเลอาเดรียติกที่สามารถใช้เป็นฐานในการส่งสินค้าต่อไปยังภูมิภาคยุโรปตะวันออกเฉียงใต้ได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ แอลเบเนียยังมีความมั่งคั่งทางทรัพยากรธรรมชาติอยู่มาก ที่สำคัญ ได้แก่ โครเมียม (อันดับ 3 ของโลก) ทองแดง ป่าไม้ และน้ำมัน 


แอลเบเนียเริ่มดำเนินการปฏิรูปเปลี่ยนแปลงระบบเศรษฐกิจของตนจากระบบเศรษฐกิจแบบการวางแผนจากส่วนกลางภายใต้ระบอบคอมมิวนิสต์เมื่อกลางปี 2535 โดยรัฐบาลได้นำแผนการปฏิรูปทางเศรษฐกิจแบบมหภาคมาใช้ ซึ่งรวมถึงการพยายามที่จะควบคุมด้านการเงินและการคลังของประเทศ การให้วิสาหกิจและอุตสาหกรรมขนาดย่อมพึ่งตนเองด้านการเงิน การให้เอกชนเป็นเจ้าของทรัพย์สินและกิจการ และการสนับสนุนการลงทุนจากต่างประเทศ นอกจากนี้ ได้ดำเนินนโยบายเปิดประเทศและขอรับความช่วยเหลือจากต่างประเทศ
 

ในเดือนมิถุนายน 2545 แอลเบเนียได้เข้าเป็นภาคีความตกลงกับ IMF ในโครงการ The Poverty Reduction and Growth Facility (PRGF) เป็นระยะเวลา 3 ปี ซึ่งแอลเบเนียได้รับอนุมัติวงเงินความช่วยเหลือคิดเป็นเงิน 36 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งนับตั้งแต่เริ่มดำเนินโครงการ แอลเบเนียได้แสดงความตั้งใจที่จะดำเนินโครงการอย่างเต็มที่ จึงสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ IMF ที่จะขยายเวลาการดำเนินโครงการต่อไปอีก

แอลเบเนียนับเป็นประเทศที่ยากจนที่สุดในยุโรป ตามข้อมูลของ The Institute of Statistics ในปี 2547 ชาวแอลเบเนียนร้อยละ 25มีรายได้ต่ำกว่า 2 ดอลลาร์สหรัฐต่อวัน และ ร้อยละ 5 ของประชากรมีความเป็นอยู่อย่างยากจนสุดขีด (มีรายได้ต่ำกว่า 1 ดอลลาร์สหรัฐต่อวัน) แต่เดิมนั้น แอลเบเนียเป็นประเทศที่ผลิตน้ำมันดิบ แต่ด้วยเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ล้าสมัย ทำให้ผลผลิตมีคุณภาพต่ำและประสบปัญหาการขาดแคลนตลาดในการ ส่งออก วัตถุดิบที่สำคัญเช่นโครเมียม ทองแดง และนิเกิ้ล โดยเฉพาะตลาดในยุโรปตะวันตก นอกจากนี้ ปริมาณการผลิตกระแสไฟฟ้าพลังน้ำซึ่งเป็นแหล่งรายได้ที่สำคัญของประเทศและมีจำนวนประมาณร้อยละ 12-15 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (GNP) ก็ลดต่ำลงเนื่องจากภาวะความแห้งแล้งในช่วงปี 2532-2535 ที่ผ่านมา และกระบวนการผลิตขาดประสิทธิภาพ ประกอบกับความต้องการของตลาด ในต่างประเทศลดต่ำลง ในด้านการเกษตรก็อยู่ในสถานะที่เลวร้ายเช่นกัน เนื่องจากสภาวะความแห้งแล้งดังกล่าว แอลเบเนียผลิตข้าวสาลีได้ประมาณ 500,000 ตันต่อปี และข้าวโพดในปริมาณที่ใกล้เคียงกัน แต่ก็ยัง ไม่พอเพียงต่อการบริโภคภายในประเทศ อุปกรณ์และเครื่องมือทางการเกษตรก็ขาดแคลนและล้าสมัย ดังนั้นผลผลิตทางการเกษตรจึงมาจากแรงงาน (โดยเฉพาะสตรี) เป็นส่วนใหญ่ แต่แรงงานขาดสิ่งจูงใจ ในการทำงาน ค่าจ้างแรงงานก็ต่ำมาก อย่างไรก็ดี ในปัจจุบันแอลเบเนียเริ่มดำเนินการปฏิรูปเปลี่ยนแปลงระบบเศรษฐกิจของตน อย่างจริงจัง โดยเมื่อกลางปี 2535 รัฐบาลได้นำแผนการปฏิรูปทางเศรษฐกิจแบบมหภาคมาใช้ ซึ่งรวมถึง การพยายามที่จะควบคุมด้านการเงินและการคลังของประเทศ การให้วิสาหกิจและอุตสาหกรรมขนาดย่อมพึ่ง ตนเองด้านการเงิน การให้เอกชนเป็นเจ้าของทรัพย์สินและกิจการ และการสนับสนุนการลงทุนจากต่าง ประเทศ นอกจากนี้ ก็ดำเนินนโยบายเปิดประเทศและขอรับความช่วยเหลือจากต่างประเทศ เศรษฐกิจได้ ฟื้นตัวในปี 2536 สำหรับชาวแอลเบเนียส่วนใหญ่ การปฎิรูปเศรษฐกิจครั้งนี้จำเป็นต้องใช้เงินเป็นจำนวน มาก ทำให้แอลเบเนียต้องการความช่วยเหลือด้านอาหารเป็นมูลค่า ถึง 1.0พันล้านเหรียญ สหรัฐฯ ในปี 2534 และ 2535 เพื่อป้องกันการขาดแคลนอาหารครั้งใหญ่ การฟื้นตัวครั้งนี้ ส่วนหนึ่งก็มาจากรายได้ ของประชาชนจำนวนร้อยละ 5 ที่ทำงานอยู่ต่างประเทศ ส่วนมากในประเทศกรีซและอิตาลี กล่าวกันว่า แอลเบเนียจำเป็นจะต้องใช้เงินทุนถึง 2.5 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในการเยียวยาและบูรณะเศรษฐกิจของตน ซึ่งในเรื่องนี้ หลายประเทศได้ให้ความช่วยเหลือบริจาคเงินแก่แอลแบแนีย เยอรมันตะวันตกได้เสนอให้ความ ช่วยเหลือในด้านอุปกรณ์ และเครื่องมือต่าง ๆ มูลค่าประมาณ 15 ล้านมาร์คเยอรมัน เพื่อเป็นสื่อสัญญาณ ที่ดีต่อความสัมพันธ์ระหว่างกันในอนาคต ส่วนอิตาลีก็แสดงความประสงค์จะให้ความช่วยเหลือกับแอลเบเนีย

เศรษฐกิจของแอลเบเนียพึ่งพาภาคเกษตรกรรมเป็นหลัก ในปี 2549 รายได้จากภาคเกษตรกรรมมีสัดส่วนคิดเป็นร้อยละ 23 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ แรงงานร้อยละ 57 อยู่ในภาคเกษตรกรรม ซึ่งส่วนใหญ่เป็นกิจการเล็กๆ แต่เดิมนั้น แอลเบเนียเป็นประเทศที่ผลิตน้ำมันดิบ แต่ด้วยเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ล้าสมัย ทำให้ผลผลิตมีคุณภาพต่ำและประสบปัญหาการขาดแคลนตลาดในการส่งออก ส่วนภาคอุตสาหกรรมคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 19 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ ได้ปรับลดลงจากร้อยละ 45 ในปี 2523 ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่า ภาคอุตสาหกรรมได้ลดความสำคัญลงภายหลังการล่มสลายของระบบคอมมิวนิสต์ สำหรับด้านการส่งออก สิ่งทอและรองเท้าเป็นสินค้าหลักที่มีสัดส่วนคิดเป็นร้อยละ 55 ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมด บริษัทในยุโรปตะวันตก อาทิ อิตาลี ได้ทำสัญญากับบริษัทผลิตรองเท้าและสิ่งทอของแอลเบเนีย ให้แอลเบเนียเป็นฐานประกอบสินค้ากึ่งสำเร็จที่นำเข้าจากยุโรปตะวันตก เพื่อลดต้นทุนการผลิตสินค้า ส่วนภาคบริการยังคงคิดเป็นสัดส่วนที่น้อยเมื่อเทียบกับประเทศอดีตคอมมิวนิสต์ในยุโรปตะวันออก

ภาคเกษตรกรรมมีสัดส่วนคิดเป็นร้อยละ 20 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ แรงงานร้อยละ 47.8 อยู่ในภาคเกษตรกรรม ซึ่งส่วนใหญ่เป็นกิจการเล็กๆ  แต่เดิมนั้น แอลเบเนียเป็นประเทศที่ผลิตน้ำมันดิบ แต่ด้วยเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ล้าสมัย ทำให้ผลผลิตมีคุณภาพต่ำและประสบปัญหาการขาดแคลนตลาดในการส่งออก ส่วนภาคอุตสาหกรรมคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 19 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ โดยได้ปรับลดลงจากร้อยละ 45 ในปี 2523 ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่า ภาคอุตสาหกรรมได้ลดความสำคัญลงภายหลังการล่มสลายของระบอบคอมมิวนิสต์ สำหรับด้านการส่งออก สิ่งทอและรองเท้าเป็นสินค้าหลักที่มีสัดส่วนคิดเป็นร้อยละ ๕๕ ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมด บริษัทในยุโรปตะวันตก อาทิ อิตาลี ได้ทำสัญญากับบริษัทผลิตรองเท้าและสิ่งทอของแอลเบเนีย ให้แอลเบเนียเป็นฐานประกอบสินค้ากึ่งสำเร็จที่นำเข้าจากยุโรปตะวันตก เพื่อลดต้นทุนการผลิตสินค้า ส่วนภาคบริการยังคงคิดเป็นสัดส่วนที่น้อยเมื่อเทียบกับประเทศอดีตคอมมิวนิสต์ในยุโรปตะวันออก  

 

แม้ว่าแอลเบเนียจะเป็นหนึ่งในประเทศยากจนที่สุดในยุโรป โดยเมื่อปี 2553 มี GDP 11  พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ อยู่ในอันดับ 39 จากยุโรปทั้งหมด 46 ประเทศ (รวมรัสเซีย) แต่เศรษฐกิจก็มีศักยภาพที่จะเจริญเติบโต โดยนักธุรกิจยุโรปได้ย้ายฐานการผลิตไปยังแอลเบเนียมากขึ้นเพื่อลดต้นทุนการผลิต ทั้งนี้ ตามรายงานของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) คาดว่า เศรษฐกิจของแอลเบเนียจะเติบโตในช่วงปี 2555 ร้อยละ 0.5 และ ร้อยละ 1.7 ในปี 2556 อย่างไรก็ตาม นักลงทุนรายใหญ่ๆ ยังไม่ค่อยให้ความสนใจกับแอลเบเนียเพราะปัญหาต่างๆ โดยเฉพาะการขาดแคลนพลังงานสำรอง และการกระทำผิดกฎหมายและอาชญากรรมที่มีอยู่อย่างแพร่หลาย    

 

ความสัมพันธ์ทั่วไปกับประเทศไทย

การทูต

ประเทศไทยได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับแอลเบเนียเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2525 และได้มอบหมายให้สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเบลเกรดมีเขตอาณาครอบคลุมแอลเบเนีย เอกอัครราชทูตคนแรกของไทยได้ยื่นพระราชสาสน์ตราตั้งต่อประมุขประเทศแอลเบเนียเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2527 ปัจจุบันสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโรมเป็นผู้ดูแลแอลเบเนียสืบแทนสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเบลเกรด ซึ่งได้ปิดตัวลงเมื่อยูโกสลาเวียเกิดสงครามกลางเมืองเพื่อแยกตัวของสาธารณรัฐต่างๆ สำหรับแอลเบเนียนั้น ได้แต่งตั้งเอกอัครราชทูตแอลเบเนียประจำกรุงกัวลาลัมเปอร์ เป็นเอกอัครราชทูตประจำประเทศไทยอีกตำแหน่งหนึ่งด้วย โดยความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทยและแอลเบเนียจะครบรอบ 30 ปีในปีนี้ (2555) และในเดือนมีนาคม 2555 มีการแต่งตั้งนาย Samir Mane กงสุลกิตติมศักดิ์ไทยประจำสาธารณรัฐแอลเบเนีย

ในระดับประชาชนทั่วไป ชาวแอลเบเนียได้เดินทางไปทำงานและประกอบธุรกิจอยู่ในประเทศต่างๆ เกือบทั่วทุกมุมโลก ชาวแอลเบเนียส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในประเทศออสเตรเลีย ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และอิตาลี สำหรับประเทศไทยนั้น ชาวแอลเบเนียส่วนใหญ่เดินทางมาไทยเพื่อใช้เป็นทางผ่านเดินทางต่อไปยังประเทศออสเตรเลีย

การค้าโดยทั่วไป

ในปี 2554 ไทยและแอลเบเนียมีมูลค่าการค้ารวม 5.24 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยไทยส่งออก 5.09 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และนำเข้า 0.15 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปี 2553 ร้อยละ 34.3 สำหรับในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2552 (มกราคม–พฤศจิกายน) การค้ามีมูลค่ารวม 7.26 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยไทยเป็นฝ่ายได้ดุลการค้า 4.94 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปี 2553 ร้อยละ 39 โดยสินค้าส่งออกสำคัญของไทย คือ น้ำตาลทราย กระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ อาหารกระป๋องและแปรรูป ผลิตภัณฑ์ยาง ผลิตภัณฑ์พลาสติก ตู้เย็น ตู้แช่และส่วนประกอบ ข้าว ขณะที่สินค้านำเข้าสำคัญของไทย คือ เสื้อผ้าสำเร็จรูป เครื่องบิน เครื่องร่อน อุปกรณ์การบินและส่วนประกอบ รองเท้า เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ เคมีภัณฑ์เครื่องใช้เบ็ดเตล็ด ผลิตภัณฑ์สิ่งทออื่นๆ

รัฐบาลแอลเบเนียเชิญชวนให้ต่างประเทศเข้าไปลงทุนในสาขาต่างๆ ได้แก่ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน สินค้าเกษตรแปรรูป และอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว เช่น การสร้างโรงแรมหรือร้าน อาหาร สำหรับโอกาสทางการค้า ไทยมีโอกาสในการส่งออกข้าว ซึ่งปัจจุบันแอลเบเนียนำเข้าข้าวร้อยละ 80 ของความต้องการภายในประเทศ คิดเป็นประมาณ 18,000 ตัน ต่อปี ตลาดหลัก คือ อิตาลี และบัลแกเรีย นอกจากนี้ยังเป็นตลาดสำหรับอาหารฮาลาล ซึ่งหากมองตลาดในภาพกว้างจะได้ตลาดผู้บริโภคประมาณ 5 ล้านคน โดยคำนวนจากชาวแอลเบเนียที่เป็นมุสลิมร้อยละ 70 รวมทั้งชาวมุสลิมที่อาศัยอยู่ในโคโซโวและมาซิโดเนีย

การลงทุน

ในด้านการลงทุน ปัจจุบันยังไม่มีการลงทุนจากแอลเบเนียที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนในไทย ฝ่ายแอลเบเนียได้ชักชวนให้นักธุรกิจไทยเดินทางเข้าไปลงทุนและทำธุรกิจในด้านต่างๆ ในแอลเบเนีย โดยเสนอรูปแบบการร่วมลงทุนกับชาวแอลเบเนีย โดยที่ผ่านมามีนักธุรกิจจีน มาเลเซีย และเกาหลี เดินทางเข้าไปประกอบธุรกิจอย่างประสบผลสำเร็จในระดับหนึ่ง

ด้านการท่องเที่ยว

ในด้านการท่องเที่ยว การปฏิสัมพันธ์ระหว่างไทยและแอลเบเนียยังอยู่ในขั้นต่ำ เมื่อปี 2554 มีนักท่องเที่ยวแอลเบเนียเดินทางมาไทย 438 คน ตามสถิติของสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง แอลเบเนียเป็นประเทศที่มีสภาพอากาศที่ดีเกือบตลอดทั้งปี มีที่ตั้งติดกับทะเลอาเดรียติกทางทิศตะวันตก และมีชายฝั่งทอดยาวลงไปทางตอนใต้ถึง 362 กิโลเมตร ทำให้แต่ละปีมีนักท่องเที่ยวต่างประเทศไปเยือนแอลเบเนียกว่า 3ล้านคน และจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ  ถือว่าเป็นสถิติที่น่าพอใจสำหรับประเทศอย่างแอลเบเนีย ซึ่งมีขนาดพื้นที่ร้อยละ 5.6 ของไทย และประชากรเพียง 3 ล้านคน โดยนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่เป็นชาวแอลเบเนียที่อาศัยอยู่ในกรีซ มอนเตเนโกร โคโซโว แต่ก็มีนักท่องเที่ยวจากยุโรปตะวันตกเพิ่มขึ้น เช่น จากสาธารณรัฐเชก โปแลนด์ สวิสเซอร์แลนด์ เป็นต้น

ฝ่ายไทยมีความเชี่ยวชาญในธุรกิจการท่องเที่ยว รัฐบาลแอลเบเนียจึงประสงค์ให้ไทยเข้าไปลงทุนในธุรกิจด้านการท่องเที่ยวในแอลเบเนีย โดยนักท่องเที่ยวแอลเบเนียจะต้องทำการตรวจลงตราเข้าประเทศไทย  

ความตกลงที่สำคัญๆ กับไทย

 - บันทึกความเข้าใจว่าด้วยการหารือระหว่างกระทรวงการต่างประเทศของไทยและแอลเบเนีย

 - ซึ่งได้มีการลงนามบันทึกความเข้าใจฯ ในวันที่ 9 มีนาคม 2555 ในโอกาสเยือนอย่างเป็นทางการของนายเอ็ดมอนด์ ฮาซฮินาสโต (Edmond Haxhinasto) รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ

 - ร่างความตกลงว่าด้วยการยกเว้นการตรวจลงตราผู้ถือหนังสือเดินทางทูต และหนังสือเดินทางราชการ ซึ่งหน่วยราชการที่เกี่ยวข้องของไทยได้ให้ความเห็นชอบแล้ว อยู่ในระหว่างรอการเสนอเรื่องต่อ ครม. เพื่อพิจารณา

 - นอกจากนี้ ไทยและแอลเบเนียยังมีข้อตกลงที่รอการพิจารณาอีก 2 ฉบับ คือ ร่างความตกลงว่าด้วยการยกเว้นการเก็บภาษีซ้อน และร่างความตกลงว่าด้วยการส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุน และร่าง

การเยือนที่สำคัญ

          - วันที่ 8-9 มีนาคม 2555 นายเอดมอนด์ ฮาคินาสโต (Edmond Haxhinasto) รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของแอลเบเนีย เยือนไทยอย่างเป็นทางการในฐานะแขกของกระทรวงการต่างประเทศ โดยได้เข้าหารือกับ พลเอก ยุทธศักดิ์ ศศิประภา รองนายกรัฐมนตรี

          - วันที่ 26-28 มีนาคม 2555 ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ นายจุลพงศ์ โนนศรีชัย เยือนสาธารณรัฐแอลเบเนียอย่างเป็นทางการเพื่อเป็นประธานเปิดสถานกงสุลและมอบสัญญาบัตรตราตั้งให้นาย Samir Mane กงสุลกิตติมศักดิ์ พร้อมหารือทวิภาคีกับนาย Selim Belortaja รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศของสาธารณรัฐแอลเบเนีย

 



*สถานะล่าสุด 22 พฤศจิกายน 2555 

กองยุโรป 3 กรมยุโรป โทร. 0 2203 5000 ต่อ 13141 หรือ 0 2643 5142 Fax. 0 2643 5141 E-mail : [email protected]

 

 

รูปภาพประกอบ

รูปภาพประกอบ

เอกสารประกอบ

world-country-3-document.pdf