สาธารณรัฐเฮลเลนิก

สาธารณรัฐเฮลเลนิก

วันที่นำเข้าข้อมูล 25 ก.พ. 2554

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 30 พ.ย. 2565

| 29,686 view


สาธารณรัฐเฮลเลนิก
Hellenic Republic

 

ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้ง
 
กรีซตั้งอยู่ทางยุโรปตอนใต้ โดยอยู่ทางตอนใต้ของแหลมบอลข่าน และทางตะวันออกของทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ทิศเหนือจรดแอลเบเนีย ยูโกสลาเวีย และบัลแกเรีย ทิศตะวันออกจรดตุรกี และทะเลอีเจียน ทิศใต้จรดทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ทิศตะวันตกจรดทะเลไอโอเนียน
พื้นที่ 
132,000 ตารางกิโลเมตร โดยมีหมู่เกาะ 3,000 เกาะ
ภูมิอากาศ 
สภาพอากาศโดยทั่วไปมีอุณหภูมิสบายๆ โดยมีอากาศร้อนและแห้งในฤดูร้อน และอากาศหนาวเล็กน้อยในฤดูหนาว
ประชากร 
11.3 ล้านคน (2555)
ภาษา 
ภาษากรีกเป็นภาษาราชการ และอื่นๆ (อังกฤษ ฝรั่งเศส)
ศาสนา 
คริสต์นิกายกรีกออร์โธดอกซ์ (ร้อยละ 98) อิสลาม (ร้อยละ 1.3) และอื่นๆ (ร้อยละ 0.7)
เมืองหลวง กรุงเอเธนส์ (Athens)
สกุลเงิน ยูโร (Euro)
วันชาติ 25 มีนาคม

หมายเหตุ: สาธารณรัฐเฮลเลนิก เป็นชื่ออย่างเป็นทางการของประเทศกรีซที่ใช้ในองค์การสหประชาชาติที่ใช้มาตั้งกรีซได้รับเอกราชจากจักรวรรดิออตโตมันในปี 2372 โดยมีที่มาจากชื่อเทพธิดาของกรีซ "นางเฮเลน" ทั้งนี้ ในภาษากรีกปัจจุบัน ชาวกรีกเรียกประเทศของตนเองว่า Ellas (มาจากคำว่า Hellas)

การเมืองการปกครอง
ประชาธิปไตยแบบสาธารณรัฐ โดยมีประธานาธิบดีเป็นประมุขของประเทศ และมีนากรัฐมนตรีเป็นหัวหน้ารัฐบาล ทั้งนี้ ประธานาธิบดีมาจากการแต่งตั้งโดยสภาผู้แทนราษฎร มีวาระดำรงตำแหน่ง 5 ปี ปัจจุบันนายคาร์โลลอส ปาปูลีอาส (Karolos Papoulias) เป็นประธานาธิบดีเป็นสมัยที่ 2 (ครั้งเเรกเมื่อ 12 มีนาคม 2548 และครั้งล่าสุดเมื่อ มีนาคม 2553) ส่วนนายกรัฐมนตรีมาจากการแต่งตั้งของประธานาธิบดีโดยการเสนอชื่อของสภาผู้แทนราษฎร นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบัน คือ นายแอนโทนิส ซามาราส (Antonis Samaras) ซึ่งเป็นหัวหน้าพรรค New Democracy – ND (รับตำแหน่งเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2555) และรัฐมนตรีต่างประเทศคนปัจจุบัน คือ นายอีแวนเกลอส เวนีเซลอส (Evangelos Venizelos) (รับตำแหน่งเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2556) ทั้งนี้ สภาผู้แทนรษฎรเป็นระบบสภาเดียว มีสมาชิก 300 คน โดยมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทุก 4 ปี การเลือกตั้งทั่วไปครั้งล่าสุดมีขึ้นเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2555

เศรษฐกิจการค้า (ปี 2555)
ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (GDP)
 
249 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ 
ร้อยละ -6.0
รายได้เฉลี่ยต่อหัว 
22,055 USD (2555)
ทรัพยากรธรรมชาติ แร่ธาตุ ปิโตรเลียม หินอ่อน
อุตสาหกรรมหลัก ท่องเที่ยว อาหารแปรรูป สิ่งทอ การขนส่งทางเรือ
มูลค่าการส่งออก 28.31 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
มูลค่าการนำเข้า  53.53 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
ตลาดนำเข้าสำคัญ เยอรมนี อิตาลี รัสเซีย จีน เนเธอร์แลนด์
สินค้านำเข้าสำคัญ น้ำมันปิโตรเลียม เภสัชภัณฑ์ เครื่องจักร อุปกรณ์ไฟฟ้า เรือและยานน้ำอื่นๆ รถยนต์
ตลาดส่งออกสำคัญ เยอรมนี อิตาลี ไซปรัส บัลแกเรีย ตุรกี  
สินค้าส่งออกสำคัญ น้ำมันปิโตรเลียม เภสัชภัณฑ์ อะลูมิเนียม พลาสติกและผลิตภัณฑ์พลาสติก เครื่องใช้ไฟฟ้า
วิกฤตทางเศรษฐกิจ  ปัจจุบันกรีซกำลังประสบกับวิกฤตทางเศรษฐกิจซึ่งเริ่มตั้งแต่ปี 2551 และเป็นประเทศแรกในเขตยูโร (Eurozone) ที่ต้องขอรับความช่วยเหลือทางการเงินจากกลุ่มเจ้าหนี้ 3 ฝ่าย (IMF สหภาพยุโรป และธนาคารกลางยุโรป) มาตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2553 โดยได้รับเงินช่วยเหลือไปแล้วจำนวน 80,000 ล้านยูโร ระหว่างพฤษภาคม 2553-มิถุนายน 2556 และล่าสุด Troika ได้อนุมัติเงินช่วยเหลือให้แก่กรีซอีกจำนวน 160,000 ล้านยูโร ระหว่างมิถุนายน 2556-ธนวาคม 2557 และประเมินว่า กรีซมีสัญญาณการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจดีกว่าตัวเลขประมาณการ อย่างไรก็ดี กรีซยังคงมีหนี้สาธารณะจำนวนกว่า 428,550,510 ล้านยูโร  (ประมาณร้อยละ 170 ของ GDP) และยังคงประสบปัญหาอัตราการว่างงานร้อยละ 27.3 โดยอัตราการว่างานในกลุ่มเยาวชนสูงถึงร้อยละ 60.6 และกรีซยังคงต้องเร่งรัดการปฏิรูปกิจการของภาครัฐรวมทั้ง เพิ่มความสามารถในการเรียกเก็บภาษาโดยเฉพาะภาษีย้อนหลัง ให้เป็นไปตามเงื่อนไขการยืมเงินช่วยเหลือของ Troika

ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับกรีซ
1. ความสัมพันธ์ทั่วไป
    1.1 การทูต

    ไทยและกรีซได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกันเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2501 ความสัมพันธ์ดำเนินไปอย่างราบรื่น โดยได้มีการร่วมฉลองครบรอบ 50 ปี แห่งการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกัน เมื่อปี 2551
    ไทยได้เปิดสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเอเธนส์ เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2528 เอกอัครราชทูต ณ กรุงเอเธนส์ คนปัจจุบัน คือ นายจุมพล มนัสช่วง (เข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2556) ส่วนกรีซได้เปิดสถานเอกอัครราชทูตประจำไทยเมื่อเดือนมีนาคม 2532 เอกอัครราชทูตกรีซประจำไทยคนปัจจุบัน คือ นาย Nikolaos Vamvunakis (เข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2552) และได้เปิดสถานกงสุลกรีซประจำเชียงใหม่ โดยมีเขตอาณา 10 จังหวัด คือ เชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน พะเยา น่าน ลำปาง ลำพูน แพร่ สุโขทัย และพิษณุโลก โดยมีนาย จอร์จ เอ. ซิโอริส (George A. Sioris) เป็นกงสุลกิตติมศักดิ์กรีซประจำเชียงใหม่ (เข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2550)
    1.2 การเมือง
    ไทยกับไซปรัสมีความสัมพันธ์ทางการเมืองค่อนข้างน้อย ไม่มีการแลกเปลี่ยนการเยือนมากนัก อย่างไรก็ดี  ไทยกับกรีซ มีความร่วมมือในกรอบพหุภาคี อาทิ ในมิติความสัมพันธ์อาเซียน-EU และกรอบการประชุมเอเชีย-ยุโรป (Asia-Europe Meeting (ASEM)) 
    1.3 เศรษฐกิจ
    การค้า
    ในปี มูลค่าการค้ารวม 320 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ไทยส่งออก225 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นำเข้า 65 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 
    สินค้าส่งออกที่สำคัญของไทย ได้แก่ เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ เครื่องปรับอากาศ อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป รถยนต์และส่วนประกอบ รถจักรยานยนต์และอะไหล่ ผลิตภัณฑ์ยาง เม็ดพลาสติก ผลไม้กระป๋องและแปรรูป ตู้เย็นและตู้แช่แข็ง ผลิตภัณฑ์อะลูมิเนียม
    สินค้านำเข้าจากกรีซ ได้แก่ ผัก ผลไม้ และของปรุงแต่งที่ทำจากผักและผลไม้ สินแร่โลหะอื่นๆ ด้ายและเส้นใย แร่และผลิตภัณฑ์จากแร่เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ เครื่องใช้เบ้ดเตล็ด เคมีภัณฑ์ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ ปูนซีเมนต์ เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ
    1.4 การท่องเที่ยว 
    ในปี 2555 มีนักท่องเที่ยวกรีซเดินทางมาไทย 14,228 คน
    1.5 ความสัมพันธ์ด้านสังคมและวัฒนธรรม
    มีคนไทยอาศัยอยู่ในกรีซประมาณ 400 คน ส่วนมากเป็นหญิงไทยที่สมรสกับชาวกรีก

2. ความตกลงและความร่วมมือระหว่างไทย-กรีซ
    2.1 ความตกลงว่าด้วยบริการเดินอากาศ (ลงนามเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2515)
    2.2 ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือด้านวัฒนธรรม (ลงนามเมื่อวันที่ 21 กันยายน 2547)
    2.3 บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือในสาขาการท่องเที่ยว (ลงนามเมื่อวันที่ 5 กันยายน 2549)

3. การเยือนที่สำคัญ
    3.1 การเยือนของฝ่ายไทย
    พระราชวงศ์
    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ
    - วันที่ 18 กันยายน 2507 เสด็จฯ เยือนกรีซ เพื่อทรงร่วมในพระราชพิธีอภิเษกสมรสระหว่างสมเด็จพระราชาธิบดีคอนสแตนตินแห่งกรีซกับเจ้าหญิงอานน์-มารีแห่งเดนมาร์ก              
    สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร 
    - วันที่ 20 - 30 พฤษภาคม 2536 เสด็จฯ เยือนกรีซ
    สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี
    - วันที่ 17 - 21 สิงหาคม 2556 เสด็จเยือนกรีซ
    สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์
    - วันที่ 30 มีนาคม - 14 เมษายน 2536 เสด็จเยือนกรีซ
    - วันที่ 13 - 15 ตุลาคม 2536 เสด็จเยือนกรีซ
    พระองค์เจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา
    - วันที่ 6 - 9 มิถุนายน 2555 เสด็จเยือนกรีซ
    - วันที่ 9 - 15 กรกฎาคม 2556 เสด็จเยือนกรีซ
   
    นายกรัฐมนตรี / รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ

    - วันที่ 29 กันยายน - 1 ตุลาคม 2530 พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรี เยือนกรีซ
    - วันที่ 1 - 3 พฤศจิกายน 2541  ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์ บริพัตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เดินทางเยือนกรีซ
    - วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2543  ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์ บริพัตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เยือนกรีซเพื่อเข้าร่วมการประชุม ซึ่งจัดโดย ASIA FORUM 2000 ณ เมืองเทสซาโลนิกิ
    - วันที่ 12 - 14 สิงหาคม 2547 นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ รองนายกรัฐมนตรี เยือนกรีซเพื่อร่วมพิธีเปิดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก 2547 ที่กรุงเอเธนส์
    - วันที่ 3 - 5 กรกฎาคม 2548 นายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย รองนายกรัฐมนตรี เยือนกรีซ
    - วันที่ 4 - 5 กันยายน 2549 นายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย รองนายกรัฐมนตรี เยือนกรีซ 

  3.2 ฝ่ายกรีซ           
         นายกรัฐมนตรี / รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
         - วันที่ 5 -– 7 เมษายน 2529 นาย Andreas Papandreou นายกรัฐมนตรีกรีซ เดินทางเยือนไทยอย่างไม่เป็นทางการ
         - วันที่ 5 - 7 เมษายน 2539 นาย Andreas Papandreou นายกรัฐมนตรีกรีซ เยือนไทย
         - วันที่ 8 - 11 กุมภาพันธ์ 2540 นาย Theodoros Pangalos รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศกรีซ เยือนไทย
         - วันที่ 3 และ 8 มีนาคม 2545 นาย Constantinos Simitis นายกรัฐมนตรีกรีซแวะเยือนไทย (transit) ระหว่างการไปเยือนญี่ปุ่น

……………………………………………

หน่วยงานของไทยในกรีซ
สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเอเธนส์ สาธารณรัฐเฮลเลนิก (กรีซ)
Royal Thai Embassy,  Athens
ที่ตั้ง: 25 Marathonodromou Paleo Psychiko,  Athens - 15452, Greece
Tel. (30 21) 0671-0155, 0674-9065
Fax (3021) 0674-9508
E-mail: [email protected]



+++++++++++++++++++++++++++++++++++


8 ม.ค. 2557

กองยุโรป 2 กรมยุโรป โทร. 0 2643 5000 ต่อ 13180 Fax. 0 2643 5132 E-mail : [email protected]

 

รูปภาพประกอบ

รูปภาพประกอบ