ฮังการี

ฮังการี

วันที่นำเข้าข้อมูล 28 ก.พ. 2554

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 30 พ.ย. 2565

| 14,594 view


ฮังการี
Hungary

ข้อมูลทั่วไป


ที่ตั้ง บริเวณที่ราบคาร์เปเทียนในยุโรปกลาง ไม่มีทางออกทะเล
ทิศเหนือ ติดกับสโลววะเกีย และยูเครน
ทิศใต้ ติดกับโครเอเชีย เซอร์เบีย และมอนเตเนโกร
ทิศตะวันออก ติดกับโรมาเนีย
ทิศตะวันตก ติดกับออสเตรีย และสโลวีเนีย
พื้นที่ 93,030 ตารางกิโลเมตร (ร้อยละ 18 ของไทย)
เมืองหลวง กรุงบูดาเปสต์
ประชากร 9.98 ล้านคน (ปี 2554) ประกอบด้วย
ชาวฮังกาเรียน (92.3%) โรมา (1.9%) และอื่นๆ (5.8%)
ภูมิอากาศ มีฤดูหนาวที่ชื้น ฤดูร้อนที่อบอุ่น
อุณหภูมิโดยเฉลี่ยในฤดูหนาว 0 ถึง -15 องศาเซลเซียส ฤดูร้อน 27-35 องศาเซลเซียส
ภาษาราชการ ฮังกาเรียน 98% อื่นๆ 2%
ศาสนา โรมันคาทอลิก 67% คาลวินิสต์ 20% ลูเธอแรนส์ 5% และกรีกคาทอลิก 2.6% (ปี 2554)

 

การเมืองการปกครอง


ประธานาธิบดีคนปัจจุบัน คือ นายยาโนส อาเดร์ (János Áder) ดำรงตำแหน่งเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2555

นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบัน คือ นายวิกตอร์ ออร์บาน (Viktor Orbán) ดำรงตำแหน่งในเดือนพฤษภาคม 2553

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ คือ นายยานอช์ มาร์ตอนยิ (János Martonyi)

ระบอบการปกครอง ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา ซึ่งเป็นระบบสภาเดียว โดยมีประธานาธิบดีซึ่งมาจากการเลือกตั้ง ทำหน้าที่เป็นประมุขของประเทศอยู่ในตำแหน่งวาระละ 5 ปี ดำรงตำแหน่งได้เพียง 2 วาระ
เขตการปกครอง แบ่งเป็น 19 เทศมณฑล

วันชาติ 20 สิงหาคมของทุกปี

วันสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับไทย 24 ตุลาคม 2516

 

เศรษฐกิจการค้า


หน่วยเงินตรา โฟรินท์ (Forint)
ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ 125.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (2556)
รายได้ประชาชาติต่อหัว 12,621.74 ดอลลาร์สหรัฐ (2556)
การขยายตัวทางเศรษฐกิจ ร้อยละ 1.7 (2554)
สินค้านำเข้าสำคัญ เครื่องจักรและอุปกรณ์ น้ำมันเชื้อเพลิง ไฟฟ้า ผลิตภัณฑ์อาหารและวัตถุดิบ
สินค้าส่งออกสำคัญ เครื่องจักรและอุปกรณ์ ผลิตภัณฑ์อาหาร วัตถุดิบ น้ำมันเชื้อเพลิง ไฟฟ้า

 

ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับฮังการี


1. ความสัมพันธ์ทวิภาคีระหว่างไทยกับฮังการี
1.1 การทูต
ไทยกับฮังการีมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันมาเป็นเวลายาวนานกว่า 100 ปี เมื่อวันที่ 26 - 30 มิถุนายน 2440พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสฮังการี ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ การเสด็จประพาสยุโรปครั้งแรก อย่างไรก็ตาม ไทยและฮังการีสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกัน

เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2516 โดยฮังการีจัดตั้งสถานเอกอัครราชทูตประจำประเทศไทย เมื่อปี 2521 เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐฮังการีประจำประเทศไทยคนปัจจุบัน คือ นายเดแนช โทมอย (Denes Tomaj) (เข้ารับหน้าที่เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2553) นอกจากนี้ ฮังการีได้เปิดสถานกงสุลกิตติมศักดิ์ประจำเมืองพัทยา มีเขตอาณาครอบคลุมจังหวัดฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด ส่วนไทยจัดตั้งสถานเอกอัครราชทูต
ณ กรุงบูดาเปสต์ เมื่อปี 2532 ปัจจุบันรัฐบาลไทยได้แต่งตั้งให้นายกฤต ไกรจิตติ เป็นเอกอัครราชทูต ณ กรุงบูดาเปสต์

ฮังการีเป็นพันธมิตรที่ดีของไทยใน EU ไทยและฮังการีมีการแลกเปลี่ยนการเยือนในระดับสูงระหว่าง กันเป็นระยะ โดยฮังการีเห็นว่า ไทยเป็นประเทศที่มีบทบาทสำคัญในมิติด้านความมั่นคงและการสร้างความเป็นปึกแผ่นของอาเซียน กรณีวิกฤตอุทกภัยที่เกิดขึ้นในประเทศไทยในช่วงที่ผ่านมา รัฐบาลฮังการีได้บริจาค อุปกรณ์ทางการแพทย์สำหรับช่วยเหลือผู้ประสบภัยให้กับรัฐบาลไทยผ่านทางศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย

 

1.2 เศรษฐกิจ
1.2.1 การค้า
ฮังการีเป็นคู่ค้าอันดับ 13 ของไทยในกลุ่มประเทศสมาชิก EU ในปี 2556 มีมูลค่าการค้ารวม 551.74 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยไทยส่งออก 438.61 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และนำเข้า 113.13 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ไทยได้เปรียบดุลการค้า 325.48 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สินค้าส่งออกที่สำคัญของไทย ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์และส่วนประกอบ ก๊อก วาล์วและส่วนประกอบ เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบ หม้อแปลงไฟฟ้า รถยนต์ วงจรพิมพ์ สินค้าที่ไทยนำเข้าจากฮังการี ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน เครื่องจักรไฟฟ้า เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์เวชกรรมและเภสัชกรรม เครื่องคอมพิวเตอร์
1.2.2 การลงทุน
สำหรับการลงทุน ในปี 2554 มีการลงทุนจากฮังการีที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน
ในไทยจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน BOI 1 โครงการโดยมีมูลค่าการลงทุน 75 ล้านบาท (บริษัท Amada Cable and Wire Harness ซึ่งทำธุรกิจผลิตสายไฟฟ้า) แต่ยังไม่ปรากฏข้อมูลการลงทุนของไทยในฮังการี ทั้งนี้ บริษัท SCG Trading ได้เคยทดลองนำเข้าสินค้าจำพวกเศษโลหะจากฮังการี จำนวน 100 ตัน ในช่วงปี 2553 อย่างไรก็ดี ได้ยกเลิกเนื่องจากราคาเศษโลหะจากฺฮังการีราคาเพิ่มสูงขึ้นมาก นอกจากนี้ SCG Trading ได้แสดงความสนใจที่จะลงทุนในด้านการจัดการของเสียอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นสาขาที่ฮังการีมีศักยภาพ รวมทั้งเห็นว่า ไทยน่าจะพิจารณาส่งออกมันสำปะหลังซึ่งน่าจะมีความสามารถในการแข่งขันในตลาดฮังการี
1.2.3 การท่องเที่ยว
ปัจจุบัน ตลาดนักท่องเที่ยวฮังการีมีอัตราการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ในปี ม.ค.-ส.ค.2556 มีนักท่องเที่ยวฮังการีมาไทย 14,798 คน และมีชาวไทยไปฮังการีประมาณ 7,000 คน อนึ่ง ไทยและฮังการีได้ลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือไตรภาคีไทย-ฮังการี-เวียดนาม เมื่อเดือนมิถุนายน 2547 และได้ดำเนินโครงการพัฒนาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในเวียดนาม โดยเป็นการให้ความร่วมมือในลักษณะไตรภาคีระหว่างไทย-ฮังการี-เวียดนาม

2. ความตกลงที่สำคัญกับไทย
2.1 ความตกลงทางการค้า (ลงนามเมื่อวันที่ 15 กันยายน 2521) ปัจจุบันทั้งสองฝ่าย ได้มีหนังสือแจ้งยกเลิกความตกลงฉบับนี้แล้ว เนื่องจากฮังการีได้เข้าเป็นสมาชิก EU และได้มีการลงนาม ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจไทย-ฮังการี แทน
2.2 พิธีสารว่าด้วยความร่วมมือระหว่างสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยกับหอการค้าฮังการี (มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 15 ตุลาคม 2524)
2.3 บันทึกความเข้าใจว่าด้วยการจัดตั้งคณะกรรมการร่วมทางการค้าไทย-ฮังการี (ลงนามเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2528) ปัจจุบัน ได้ยกเลิกตามความตกลงทางการค้าไปแล้ว
2.4 อนุสัญญาเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนและการป้องกันการเลี่ยงรัษฎากรในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเก็บจากเงินได้ (มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 16 ตุลาคม 2532)
2.5 ความตกลงว่าด้วยการยกเว้นการตรวจลงตราหนังสือเดินทางทูตและราชการ (ลงนามเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2534)
2.6 ความตกลงว่าด้วยการส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุน (ลงนามเมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2534)
2.7 ความตกลงว่าด้วยการบริการเดินอากาศ (ลงนามเมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2536)
2.8 บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการขนส่งและการสื่อสาร (ลงนามเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2539)
2.9 หนังสือแสดงเจตจำนงสถาปนาความร่วมมือระหว่างกรุงเทพมหานครกับรัฐบาลท้องถิ่น กรุงบูดาเปสต์ (Letter of Intent of Cooperation between Bangkok Metropolitan Administration and Local Government of Budapest) (ลงนามเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2540)
2.10 Memorandum of Understanding between Hungarian Export-Import Bank Ltd. and Export-Import Bank of Thailand (ลงนามเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2541)
2.11 ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางวิทยาศาสตร์และวิชาการ (ลงนามครั้งแรกวันที่ 30 มีนาคม 2527 และให้สัตยาบัน วันที่ 17 พฤษภาคม 2528 ทั้งนี้ ในปี 2535 ฮังการีแจ้งความประสงค์ขอแก้ไขหรือยกร่างความตกลงใหม่ ซึ่งฝ่ายไทยได้ตกลงที่จะแก้ไขความตกลงฯ ให้สอดคล้องกับความเป็นจริง และได้ลงนามในฉบับแก้ไข เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2542)
2.12 ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางการเกษตร (ลงนามเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2543)
2.13 ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือระหว่างกระทรวงการต่างประเทศไทย-ฮังการี (ลงนามเมื่อวันที่ 19 เมษายน 2544)
2.14 ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจ (ลงนามเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2547)
2.15 บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือไตรภาคี (ลงนามเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2547)

3. การเยือนที่สำคัญ

ฝ่ายไทย

             พระราชวงศ์

             สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎ- วันที่ ๒๘-๓๑ สิงหาคม ๒๕๓๒ เสด็จฯ เยือนฮังการี อย่างเป็นทางการ

- วันที่ ๑๑ กรกฎาคม ๒๕๕๓ เสด็จฯ เยือนฮังการี เป็นการส่วนพระองค์

- วันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๕๔  ทรงทำการบินไปยังกรุงบูดาเปสต์

- วันที่ ๗ ตุลาคม ๒๕๕๔  ทรงทำการบินไปยังกรุงบูดาเปสต์

- วันที่ ๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕  ทรงทำการบินไปยังกรุงบูดาเปสต์

- วันที่ ๑๑ มิถุนายน ๒๕๕๕  ทรงทำการบินไปยังกรุงบูดาเปสต์

             สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

- วันที่ ๑๘-๒๒ มีนาคม ๒๕๓๗  เสด็จฯ เยือนฮังการี อย่างเป็นทางการ

              รัฐบาล

              นายกรัฐมนตรี / รัฐมนตรี

- วันที่ ๑๖-๒๑ พฤษภาคม ๒๕๓๑ พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรี เยือนฮังการี           อย่างเป็นทางการ โดยเป็นส่วนหนึ่งของการเยือนสหภาพโซเวียตและฟินแลนด์

- วันที่ ๖-๘ มิถุนายน ๒๕๕๔ นายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ             เยือนฮังการี เพื่อเข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศเอเชีย-ยุโรป ครั้งที่ ๑๐ และเยือนฮังการีอย่างเป็นทางการ ตามคำเชิญของนายยานอช์ มาร์ตอนยิ (János Martonyi) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในวันที่ ๘ มิถุนายน ๒๕๕๔

- วันที่ ๓-๔ มิถุนายน ๒๕๕๖  นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เยือนฮังการีอย่างเป็นทางการ ตามคำเชิญของนายยานอช์ มาร์ตอนยิ รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงการต่างประเทศ

       ๓.๒   ฝ่ายฮังการี

             ประธานาธิบดี / นายกรัฐมนตรี / รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ

- วันที่ ๑๕-๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๖ นายอาร์ปาด กองซ์ (Árpád Göncz) ประธานาธิบดีฮังการีและภริยาเยือนไทยอย่างเป็นทางการในฐานะพระราชอาคันตุกะของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ

- วันที่ ๑๒-๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๒ นายอาร์ปาด กองซ์ ประธานาธิบดีฮังการีและภริยา           แวะผ่านประเทศไทยระหว่างเดินทางเยือนออสเตรเลียและนิวซีแลนด์อย่างเป็นทางการ โดยนายกองซ์ และภริยาได้เข้าเฝ้าฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๒

- วันที่ ๒๓-๒๔ มีนาคม ๒๕๕๐ นายเปแตร์ เมดเยชิ (Péter Medgyessy) อดีตนายกรัฐมนตรีฮังการีเยือนไทย (เป็นส่วนหนึ่งของการเยือนประเทศในแถบเอเชีย ได้แก่ จีนและเวียดนาม) ในฐานะเอกอัครราชทูตผู้แทนพิเศษของรัฐบาลฮังการี เพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์และความร่วมมือในด้านต่างๆ ระหว่างไทยกับฮังการี โดยได้เข้าเยี่ยมคารวะพลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี

- วันที่ ๒๓ กันยายน และ ๒ ตุลาคม ๒๕๕๒  นายลาสโล โชลยม (Laszlo Solyom) ประธานาธิบดีฮังการี เดินทางแวะผ่านประเทศไทย ทั้งนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้                         นายอรรถนิติ ดิษฐอำนาจ องคมนตรี ไปรับและส่ง โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานเป็นผู้แทนรัฐบาลไทย ไปร่วมรับและส่งด้วย

- วันที่ ๓๐ เมษายน – ๑ พฤษภาคม ๒๕๕๕ นายยานอช์ มาร์ตอนยิ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเดินทางเยือนไทย ในฐานะแขกของกระทรวงการต่างประเทศ



เอกอัครราชทูตไทยประจำฮังการี คือ นายกฤต ไกรจิตติ เว็บลิงค์ >>> สถานเอกอัครราชทูต

เอกอัครราชทูตฮังการีประจำไทย คือ นายเดแนช โทมอย (Denes Tomaj) เว็บลิงค์ >>> สถานเอกอัครราชทูต

ปรับปรุงเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2555



กองยุโรป 3 กรมยุโรป โทร. 0 2643 5142 Fax. 0 2643 5141 E-mail : [email protected]

 

รูปภาพประกอบ

รูปภาพประกอบ