รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเดินทางเข้าร่วมการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมเพื่อความร่วมมือทวิภาคีไทย-อินเดีย ครั้งที่ ๘ ณ กรุงนิวเดลี สาธารณรัฐอินเดีย

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเดินทางเข้าร่วมการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมเพื่อความร่วมมือทวิภาคีไทย-อินเดีย ครั้งที่ ๘ ณ กรุงนิวเดลี สาธารณรัฐอินเดีย

วันที่นำเข้าข้อมูล 12 ต.ค. 2562

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 28 พ.ย. 2565

| 2,859 view

เมื่อวันที่ ๑๐ ตุลาคม ๒๕๖๒ นายดอน ปรมัตถ์วินัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมเพื่อความร่วมมือทวิภาคีไทย-อินเดีย ครั้งที่  (The 8th Meeting of the India-Thailand Joint Commission for Bilateral Relations - JC) ร่วมกับนายสุพรหมณยัม ชัยศังกระ (H.E. Mr. Subrahmanyam Jaishankar) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสาธารณรัฐอินเดีย  เรือนรับรอง Hyderabad House กรุงนิวเดลี สาธารณรัฐอินเดีย 

 

โดยก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่  ตุลาคม ๒๕๖๒ นางบุษยา มาทแล็ง ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ได้เป็นประธานการประชุม JC ในระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส ร่วมกับนางวิชัย ฐากุร ซิงห์ (Vijay Thakur Singh) ปลัดกระทรวงการต่างประเทศสาธารณรัฐอินเดีย (ฝ่ายกิจการภูมิภาคตะวันออกโดยทั้งสองฝ่ายได้หารือและผลักดันความร่วมมือสาขาต่าง  ที่คั่งค้าง แสวงหาความร่วมมือใหม่  รวมถึงเพื่อเตรียมการสำหรับการเยือนไทยอย่างเป็นทางการของนายกรัฐมนตรีสาธารณรัฐอินเดียต่อไป 

 

การประชุม JC ดำเนินไปด้วยบรรยากาศที่เป็นมิตร ทั้งสองฝ่ายตระหนักถึงความสอดคล้องของนโยบาย “มองตะวันตก” (Look West Policy) ของไทยและ “มุ่งตะวันออก” (Act East Policy) ของอินเดีย โดยเฉพาะในปัจจุบันที่ไทยเป็นประธานอาเซียนและประเทศผู้ประสานงานความสัมพันธ์อาเซียน-อินเดีย วาระปี ๒๕๖๑-๒๕๖๔ ซึ่งสองฝ่ายเห็นควรส่งเสริมความร่วมมือในทุกมิติโดยขยายผลไปสู่ความร่วมมือระดับอนุภูมิภาคและภูมิภาค เพื่อให้เกิดความเชื่อมโยงระหว่างสองภูมิภาคและมหาสมุทรแปซิฟิกและมหาสมุทรอินเดียเข้าด้วยกันอย่างเป็นรูปธรรม 

 

สำหรับความสัมพันธ์ในกรอบทวิภาคี ทั้งสองฝ่ายยินดีและผลักดันให้มีการเยือนระดับสูงระหว่างกันอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งยินดีต่อความร่วมมือด้านการทหารและความมั่นคงที่ใกล้ชิด ในด้านเศรษฐกิจ ทั้งสองฝ่ายยินดีกับมูลค่าการค้าและการลงทุนที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และเห็นพ้องจะรักษาการขยายตัวทางการค้าให้อยู่ที่ประมาณร้อยละ ๒๐ ต่อปี เพื่อเพิ่มมูลค่าการค้าซึ่งปัจจุบันมีประมาณ๑๒,๕๐๐ ล้านดอลลาร์สหรัฐ ให้ทวีขึ้นเป็น  หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐได้ภายในระยะเวลา  ปี (.๒๕๖๗ขณะเดียวกันก็ให้ความสำคัญกับการเจรจาจัดทำความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (Regional Comprehensive Economic Partnership- RCEP) ให้แล้วเสร็จโดยเร็ว 

 

ในมิติความเชื่อมโยง ทั้งสองฝ่ายเห็นประโยชน์ของความเชื่อมโยงอย่างไร้รอยต่อทั้งทางบก ทะเล อากาศ และจะแสวงหาลู่ทางผลักดันความร่วมมือทางทะเลระหว่างมากขึ้น ในมิติสังคมและวัฒนธรรม ทั้งสองฝ่ายเห็นควรนำความเชื่อมโยงด้านอารยธรรมและวัฒนธรรมที่มีร่วมกันตั้งแต่อดีตมาขยายผลให้เกิดความร่วมมือที่เป็นรูปธรรม โดยเฉพาะความร่วมมือระหว่างไทยกับภาคตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดียที่มีความเชื่อมโยงกันด้านชาติพันธุ์ นอกจากนี้ ยังได้หารือถึงการส่งเสริมความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและอวกาศ กงสุล รวมถึงการผลักดันความตกลงที่ยังคั่งค้างด้วย

 

ในระดับภูมิภาคและพหุภาคี สองฝ่ายหารือทิศทางการผลักดันความร่วมมือภายใต้กรอบอาเซียน-อินเดีย สหประชาชาติ และกรอบอนุภูมิภาคต่างๆ ได้แก่ ยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิรวดี - เจ้าพระยา –แม่โขง (Ayeyawady – Chao Phyaya – Mekong Economic Cooperation Strategy -ACMECS) กรอบความร่วมมือแม่น้ำโขง - คงคา (Mekong-Ganga Cooperation- MGC) กรอบความร่วมมือความริเริ่มแห่งอ่าวเบงกอลสำหรับความร่วมมือหลากหลายสาขาวิชาการและเศรษฐกิจ (Bay of Bengal Initiative for Multi-Sectoral Technical and Economic Cooperation- BIMSTEC) สมาคมแห่งมหาสมุทรอินเดีย (Indian Ocean Rim Association -IORA) และ กรอบความร่วมมือเอเชีย (Asia Cooperation Dialogue- ACD) พร้อมทั้งใช้โอกาสนี้แลกเปลี่ยนทัศนะเกี่ยวกับประเด็นในภูมิภาคและโลก อาทิ อินโด-แปซิฟิก ความร่วมมือทางทะเล การพัฒนาที่ยั่งยืน

 

ภายหลังการประชุม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของทั้งสองประเทศได้ร่วมกันลงนามในเอกสารผลลัพธ์การประชุม(Agreed Minutes) รวมทั้งร่วมเป็นสักขีพยานในพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจระหว่างสถาบันการต่างประเทศเทวะวงศ์วโรปการกระทรวงการต่างประเทศ กับ Foreign Service Institute (FSI) กระทรวงการต่างประเทศสาธารณรัฐอินเดีย เพื่อส่งเสริมความร่วมมือซึ่งกันและกันในการพัฒนาขีดความสามารถของบุคลากรด้านการต่างประเทศ

รูปภาพประกอบ

รูปภาพประกอบ