การจัดหน่วยหนังสือเดินทางเคลื่อนที่จังหวัดอ่างทอง ระหว่างวันที่ ๒๙ กุมภาพันธ์ - ๑ มีนาคม ๒๕๖๓

การจัดหน่วยหนังสือเดินทางเคลื่อนที่จังหวัดอ่างทอง ระหว่างวันที่ ๒๙ กุมภาพันธ์ - ๑ มีนาคม ๒๕๖๓

วันที่นำเข้าข้อมูล 28 ก.พ. 2563

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 28 พ.ย. 2565

| 2,188 view

      กรมการกงสุลจะจัดหน่วยหนังสือเดินทางเคลื่อนที่เพื่อให้บริการรับคำร้องขอทำหนังสือเดินทางประเภทบุคคลทั่วไป (ไม่รวมหนังสือเดินทางทูต ราชการ และหนังสือเดินทางของพระภิกษุ) ระหว่างวันที่ ๒๙ กุมภาพันธ์ - ๑ มีนาคม ๒๕๖๓ ณ จังหวัดอ่างทอง

กำหนดการจัดหน่วยหนังสือเดินทางเคลื่อนที่

จังหวัดอ่างทอง  ระหว่างวันที่ ๒๙ กุมภาพันธ์ – ๑ มีนาคม ๒๕๖๓ (จำนวน ๒ วัน) เวลา ๐๘.๐๐ - ๑๖.๓๐ น. 

                          ณ งานของดีเมืองอ่างทองและงานกาชาด ประจำปี ๒๕๖๓ บริเวณหน้าศาลากลางจังหวัดอ่างทอง

เอกสารประกอบการยื่นคำร้องขอทำหนังสือเดินทาง

          กรณีผู้บรรลุนิติภาวะแล้ว   บัตรประจำตัวประชาชน (ฉบับจริง) ที่มีเลขประจำตัวประชาชน ๑๓ หลักที่ยังไม่หมดอายุและไม่ถูกยกเลิก

          กรณีผู้เยาว์ (อายุต่ำกว่า ๒o ปีบริบูรณ์)

                   ๑.  บัตรประจำตัวประชาชน (ฉบับจริง) / กรณีอายุยังไม่ถึง ๑๕ ใช้สูติบัตร (ฉบับจริง) ที่มีเลขประจำตัวประชาชนผู้เยาว์ ๑๓ หลัก หรือผู้เยาว์อายุ ๗ ปีขึ้นไป ที่มีบัตรประจำตัวประชาชนแล้ว ให้ใช้บัตรประจำตัวประชาชน (ฉบับจริง)

                   ๒.  ทะเบียนบ้านหรือสำเนาทะเบียนบ้านที่มีชื่อผู้ยื่นคำร้องถูกต้อง (ไม่อยู่ระหว่างการย้ายหรืออยู่ในทะเบียนบ้านกลางหรือขัดข้องด้วยเหตุอื่น)

            ๓.  บัตรประจำตัวประชาชนของบิดาและมารดา (ฉบับจริง) ที่ยังไม่หมดอายุ

                   ๔.  บิดาและมารดาต้องมาลงนามให้ความยินยอมแก่ผู้เยาว์ทั้งสองคน

                         ๔.๑ กรณีบิดาและมารดามิได้จดทะเบียนสมรสและผู้เยาว์อยู่ในความอุปการะของมารดาแต่ผู้เดียวให้มารดาเป็นผู้ลงนามพร้อมแสดงหนังสือรับรองการปกครองบุตรที่ออกโดยอำเภอหรือสำนักทะเบียนท้องถิ่น (ฉบับจริง)

                         ๔.๒ กรณีบิดาและมารดาจดทะเบียนหย่า ให้ผู้ใช้อำนาจปกครองผู้เยาว์แต่ผู้เดียวที่ระบุในบันทึกการหย่าเป็นผู้ลงนามให้ความยินยอมพร้อมกับบันทึกการหย่า (ฉบับจริง)

                         ๔.๓ กรณีบิดาหรือมารดาคนใดคนหนึ่งไม่สามารถมาลงนามให้ความยินยอมได้ ให้ผู้นั้นทำหนังสือยินยอมจากอำเภอหรือสำนักทะเบียนท้องถิ่น (ฉบับจริง) และนำมาแสดง

                   ๕.  ใบเปลี่ยนชื่อหรือสกุลของผู้เยาว์ บิดาและมารดา ฉบับจริง (หากมี)

ค่าธรรมเนียมการทำหนังสือเดินทาง

         •   ค่าธรรมเนียมหนังสือเดินทาง  ๑,ooo. - บาท

          •   ค่าส่งไปรษณีย์ (EMS)               ๔o. - บาท

คำแนะนำ    ๑. ผู้รับบริการจะได้รับหนังสือเดินทางทางไปรษณีย์ภายใน ๒ สัปดาห์ โดยกรมการกงสุลจะจัดส่งตามที่อยู่ที่ผู้รับบริการระบุไว้ ทั้งนี้ ขอให้ผู้รับบริการกรอกที่อยู่ไปรษณีย์ให้ถูกต้องชัดเจน เพื่อป้องกันการสูญหายและความล่าช้าในการจัดส่ง กรณีไม่ได้รับเล่มหนังสือเดินทางตามกำหนดโปรดติดต่อฝ่ายไปรษณีย์กองหนังสือเดินทาง โทร.๐ ๒๒๐๓ ๕๐๐๐ ต่อ ๓๒๔๕๑ , ๓๒๔๕๒

                   ๒. ผู้มีหนังสือเดินทางอายุใช้งานเหลือ ๖ เดือน หรือ น้อยกว่า ควรขอทำหนังสือเดินทางเล่มใหม่ โดยนำหนังสือเดินทางเล่มเดิมมายกเลิกด้วย